ใส่บาตรต้องนึกถึง ‘สุขภาพพระ’

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ใส่บาตรต้องนึกถึง ‘สุขภาพพระ’ thaihealth


ผลวิจัยปี 58 พบสถิติพระป่วย ใน รพ.สงฆ์ โรคไขมันในเลือดสูง อันดับ 1 รองลงมาความดัน เบาหวาน ไตวาย ข้อเข่าเสื่อม เหตุปัจจัยจากอาหาร เตือนจะใส่บาตรให้คำนึงถึงสุขภาพพระด้วย แนะให้เพิ่มผัก ปลา นม ลดกะทิ หวาน มัน เค็มด้านพศ.ยังไม่ถอดใจหลังร่วมมือสธ.ตั้งแต่ปี 47 แก้ปัญหาสุขภาพพระแต่ยังไร้ผล ทำหลักสูตรดูแลสุขภาพพระ ให้ความรู้ทุกการอบรม


ที่โรงพยาบาลสงฆ์ เมื่อวันที่ 14 ก.ค. พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวแถลงข่าว "เข้าพรรษานี้…ตักบาตรถาม (สุขภาพ) พระ" ว่า สถิติข้อมูลพระสงฆ์ที่เข้ารับการรักษาใน รพ.สงฆ์ ในปีงบประมาณ 2558 พบ 5 อาการป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.โรคไขมันในเลือดสูง 2.โรคความดันโลหิต สูง 3.โรคเบาหวาน 4.โรคไตวาย และ 5.โรคข้อเข่าเสื่อม โดยสาเหตุเกิดจากอาหารเป็นหลัก ขณะเดียวกันตนยังได้ทำวิจัยในโครงการพัฒนาดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ สามเณร โดยได้ดำเนินการสำรวจสุขภาพของพระ-เณร ในเขตกรุงเทพมหานคร ใน 50 เขต 445 วัด ซึ่ง ตั้งแต่เดือนเมษายน -พฤษภาคม 2559 สำรวจได้ 200 วัด 1,479 รูป พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า จำนวนดังกล่าวมีปัญหาไขมันสูงถึง 60% น้ำตาลสูงมากกว่า 50% ที่สำคัญแนวโน้ม ของพระภิกษุที่ป่วยด้วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และไต มีอัตราสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นจึงอยากให้สังคมตระหนักเรื่องอาหารที่จะถวายพระสงฆ์ว่า ควรคำนึงถึงสุขภาพ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย


รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช ผู้จัดการโครงการขับเคลื่อนสงฆ์ไทยไกลโรค เพื่อการดูแลโภชนาการพระสงฆ์ในระดับประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลในรอบหลายปีที่ผ่านมา พบว่า ฆราวาสที่อยู่ในเมืองส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารชุดใส่บาตร ซึ่งอาหารยอดนิยมส่วนใหญ่ คือ แกงเขียวหวาน พะโล้ ผัดกะเพรา และของทอด ทำให้พระภิกษุ สามเณร เสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน ไขมันสูง ประกอบกับฆราวาสนิยมถวายน้ำปานะที่มีรสหวาน ทั้งชาขวด กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ดังนั้นจึงอยากแนะนำให้ฆราวาสเลือกอาหารสุขภาพถวายแด่พระภิกษุ สามเณร โดยเริ่มในช่วงเข้าพรรษานี้ 1.เสริมข้าวกล้อง ด้วยสัดส่วนข้าวขาวและข้าวกล้องอย่างละครึ่ง 2.เสริมเมนูผัก 3.เสริมปลา 4.เสริมนม ลดสัดส่วนการใช้กะทิในใส่บาตรต้องนึกถึง ‘สุขภาพพระ’ thaihealthอาหาร โดยใส่นมเพิ่มเข้าไปครึ่งหนึ่งแทน 5.ลดเค็ม และ 6.ลดความมัน


ด้าน นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า พศ.ได้ร่วมมือกับ สธ. ดูแลสุขภาพพระสงฆ์มาตั้งแต่ปี 2547 เป็นระยะเวลา 12 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ พระภิกษุยังมีแนวโน้มป่วยด้วยโรคจากอาหารสูงขึ้นทุกปี ขณะนี้มากกว่า 60% ของจำนวนพระสงฆ์ประมาณ  400,000 รูปทั่วประเทศ คือ มากกว่า 200,000 รูป ดังนั้น ในปี 2560 พศ.ได้จัดทำโครงการ วัดต้นแบบส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ซึ่งจะเสริมหลักสูตรดูแลสุขภาพพระภิกษุ สามเณร ให้ความรู้ในทุก การอบรมของคณะสงฆ์ ตั้งแต่การอบรมพระสังฆาธิการ มหาวิทยาลัยสงฆ์ วิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสมณสารูป เพื่อหันมาดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรค รวมทั้งจะลดจำนวนการเจ็บป่วยจากการฉันอาหาร ที่สำคัญจะร่วมมือกับสธ. และ สสส.ในการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับ การถวายอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดโรค และปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะพระภิกษุสูงอายุ

Shares:
QR Code :
QR Code