โรงเรียนสร้างสุข ประยุกต์ไอทีช่วยผู้สูงอายุ

โรงเรียนสร้างสุข ประยุกต์ไอทีช่วยผู้สูงอายุ thaihealth


คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการการเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการ "นวัตกรรม โรงเรียนสร้างสุข(ภาพ) ภายใต้ชื่อว่า ศูนย์สร้างสุข ตำบลหนองหอย โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ"


ผศ.ดร.ศิริรัตน์ ปานอุทัย หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ กล่าวว่า เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการพัฒนาทางการศึกษาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพคน ซึ่งการพัฒนาทางการศึกษาโดยการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกัน ทั่วถึงและเสมอภาคด้วยรูปแบบ กระบวนการที่หลากหลายและเหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้เรียนรู้ทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก เช่น ผู้พิการ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ เกษตรกร สตรีและเด็ก โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งหมายถึงคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะมิใช่กลุ่มเป้าหมาย หลักของการจัดการศึกษาในระบบ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าการจัดการศึกษาเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้เรียนในการพัฒนาซึ่ง การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาผู้สูงอายุเป็น กระบวนการในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุเพื่อให้มีทักษะในด้านต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถึงแม้ว่าในหลายภาคส่วนได้มีการจัดการศึกษาให้กับผู้สูงอายุโรงเรียนสร้างสุข ประยุกต์ไอทีช่วยผู้สูงอายุ thaihealth ในหลากหลายรูปแบบ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง


อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาให้กับผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาตลอดชีวิต เนื่องจากได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยกำหนดหลักการในการศึกษาให้ผู้สูงอายุสามารถศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้หลายทาง ที่สำคัญได้แก่ 1) การศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นการหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน จากบุคคลและจากสถานที่ต่างๆ ได้ตลอด เวลา นอกจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการยังได้กำหนดวิธีการให้บริการด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุในลักษณะต่างๆ ( ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม การสนับสนุนผู้สูงอายุ ในการศึกษา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต เมื่อ 2 กันยายน 2547) ได้แก่ 1) การจัดบริการ


ข้อมูลข่าวสารให้ครอบคลุมการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการทำฐานข้อมูล ทางการศึกษา การฝึกอบรม ผู้สูงอายุ และ 2) การจัดบริการการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งการศึกษาเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียน รู้ในสิ่งต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งรูปแบบการศึกษามีหลายประเภท เช่น การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกวัยซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวบุคคลและสังคม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของบุคคลในการแสวงหาข้อมูลที่จะช่วยให้บุคคลสามารถพัฒนาภาวะสุขภาพของตนเองและมีส่วนช่วยสังคมโดยรวม ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม ซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการภายในบุคคลและเกิดขึ้นกับบุคคลตลอดชั่วชีวิต ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อสังคมได้แก่ การส่งเสริมการจ้างงาน ลดค่าใช้จ่ายจากการไม่ถูกจ้างงาน ได้รับเงินจากภาษีเพิ่มขึ้น การลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากการที่บุคคลมีสุขภาพดีขึ้นและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน


ถึงแม้จะมีรูปแบบที่หลากหลายในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากผู้สูงอายุมีลักษณะที่แตกต่างจากวัยอื่นที่อาจต้องนำมาพิจารณาประกอบการจัดการศึกษา ได้แก่ 1) ความสามารถในการจำ การเรียนรู้ช้าลง จากการโรงเรียนสร้างสุข ประยุกต์ไอทีช่วยผู้สูงอายุ thaihealthเปลี่ยนแปลงของระบบการรับความรู้สึกทั้งการฟัง การมองเห็น และการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ได้แก่ ความสามารถในการส่งสัญญาณประสาทช้าลง ดังนั้นผู้สูงอายุต้องการเวลาในการเรียนมากกว่าปกติ 2) ผู้สูงอายุมีจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ที่แน่นอน ทำให้ผู้สูงอายุจะเรียนเฉพาะในสิ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้ทันที 3) ผู้สูงอายุพร้อมที่จะเรียน ถ้าเรียนตรงกับที่ต้องการ 4) ผู้สูงอายุต้องการมีส่วนร่วม


ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้เรียนที่เป็นผู้สูงอายุในทุกขั้นตอน ได้มีผู้เสนอว่าการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุควรคำนึงถึงหลักการ ดังนี้ 1) เนื่องจากผู้สูงอายุมีจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ที่แน่นอน ดังนั้น การจัดการศึกษาควรเน้นสิ่งที่ผู้สูงอายุเห็นว่าเกิดประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้ทันทีทันใด 2) การจัดการศึกษา สำหรับผู้สูงอายุควรคำนึงถึงข้อจำกัดด้านการเรียนรู้ซึ่งต้องให้เวลาในการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุมากกว่าปกติ 3) ผู้สูงอายุพร้อมที่จะเรียน ถ้าเรียนตรงกับความต้องการและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม 4) ผู้สูงอายุต้องการมีส่วนร่วมด้วยในกระบวนการเรียนรู้ ไม่เฉพาะเป็นแค่เพียงผู้ดูหรือผู้ฟังเท่านั้น 5) สิ่งที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์เท่านั้นที่ผู้สูงอายุต้องการเรียนรู้ ตำบลหนองหอยเป็นตำบลที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนเมืองที่มีสัด ส่วนผู้สูงอายุสูงกว่าระดับประเทศคือร้อยละ 13.35 และมีผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มจำนวนขึ้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง อันนำมาสู่ภาวะพึ่งพิง ส่วนบริการที่จัดให้กับผู้สูงอายุมีทั้งบริการด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและบริการด้านสังคมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุ จึงได้เสนอโครงการ "นวัตกรรมโรงเรียนสร้างสุข(ภาพ) โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ" และได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินโครงการจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจากเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อว่า ศูนย์สร้างสุข ตำบลหนองหอย โดยมีคำขวัญว่า "สูงวัยใส่ใจเรียนรู้ขับเคลื่อนสู่พลังสังคม" การจัดกิจกรรมทั้งการบรรยายความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต การป้องกันโรค และจัดการกับโรคเรื้อรัง ความรู้ด้านกฎหมายที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เช่น กฎหมายมรดก การบรรยายธรรมะ กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมจัดสัปดาห์ละ 1 ครั้งคือ วันศุกร์ เวลา 9.00-12.00 น. ณ วัดเสาหิน ตำบลหนองหอย


ในแต่ละครั้งของกิจกรรมมีจำนวนผู้สูงอายุเข้าร่วมประมาณ 100 คน ระยะเวลาการจัด โครงการระยะที่ 1 คือ 3 เดือนโรงเรียนสร้างสุข ประยุกต์ไอทีช่วยผู้สูงอายุ thaihealth ตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2557 โดยวิทยากรจากคณาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรจากสำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ วิทยากรจากกองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 5 และสำนักปฏิบัติธรรมญาณวิโมกข์ โดยเทศบาลตำบลหนองหอยรับผิดชอบในการจัดรถรับส่งผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมนันทนาการโดยบุคลากรของเทศบาล และสนับสนุนงบประมาณในการจัดอาหารว่าง และอาหารกลางวัน นอกจากนั้นวัดเสาหินยังให้ความอนุเคราะห์ด้านสถานที่ในการจัดกิจกรรมด้วย รวมทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีบุญเรือง ตำบลหนองหอย ที่ร่วมในการเป็นวิทยากรบรรยายด้านสุขภาพด้วย


อนึ่ง สำหรับการจัดโครงการระยะที่ 2 นั้นวางแผนจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงประมาณปลายปี 2558 ต่อไป นอกจากนั้นยังได้มีการจัดทำหนังสืออิเลกทรอนิกส์ (electronic book) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางคอมพิวเตอร์ โดยเป็นเนื้อหาเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง มีทั้งภาพและวีดิทัศน์ประกอบด้วย ซึ่งผู้สูงอายุจะได้มีโอกาสในการฝึกทักษะด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้นก่อนเพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินโครงการ พบว่า ผู้สูงอายุมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเป็นอย่างมากทั้งด้านเนื้อหา วิทยากร และรูปแบบการเรียนรู้ โดยมีความคิดเห็นว่าได้รับทั้งความรู้ที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงโดยเฉพาะการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากนั้นผู้สูงอายุยังได้มีโอกาสมาพบปะ


สังสรรค์ร่วมกันเป็นประจำ ส่งผลให้สุขภาพจิตดี ไม่เหงาหรือว้าเหว่ รับรู้ถึงชุมชนและสังคมให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น ต้องการให้มีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดไป ส่วนการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางคอมพิวเตอร์พบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจมากเนื่องจากสามารถทบทวนเนื้อหาได้ด้วยตนเอง และได้มีโอกาสเพิ่มพูนทักษะด้านคอมพิวเตอร์ด้วย.


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง โดย นภาพร ขัติยะ


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code