โรคอาหารเป็นพิษ

ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


โรคอาหารเป็นพิษ thaihealth


ป้องกันไว้ ชีวิตปลอดภัย จากอันตรายโรคอาหารเป็นพิษ


โรคอาหารเป็นพิษ จะยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยต่อไปในอนาคต ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัย เพราะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการถ่ายอุจจาระ บางรายที่เป็นมากอาจจะหมดสติถึงตายได้ เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่นิยมรับประทานอาหารปรุงไม่สุก หรือพืชที่เก็บตามธรรมชาติ ได้แก่ เห็ด ซึ่งอาจเป็นเห็ดพิษ รวมทั้งเห็ดในธรรมชาติที่มีจำนวนมากและนิยมนำมาบริโภค  นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารกระป๋อง อาหารทะเล  และน้ำนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ 



โรคอาหารเป็นพิษ มักเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นภายหลังจากรับประทานอาหาร อาการของโรคจะเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงจนถึง  8  วัน หลังการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เบื่ออาหาร และอุจจาระร่วง


ข้อควรปฏิบัติป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ มีดังนี้


– ปรุงอาหารให้สุกอย่างทั่วถึง  


– ห้ามรับประทานอาหารดิบ หรือ ดิบ ๆ สุก ๆ โดยเฉพาะ อาหารประเภทเนื้อสัตว์


– ควรรับประทานอาหารเมื่อปรุงเสร็จทันที หรือสุกใหม่ ๆ


– เก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่างระมัดระวัง ในกรณีที่จะนำมารับทาน ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนรับประทานอีก สำหรับอาหารทารกต้องนำมารับประทานทันทีหลังปรุงสุก และไม่ควรเก็บไว้ 


– หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนระหว่างอาหารด้วยกัน เพื่อไม่ให้อาหารที่ปรุงสุกแล้ว ปนเปื้อนกับอาหารดิบ เช่น การใช้มีด เขียง ต้องแยกระหว่างอาหารดิบและอาหารสุก  เป็นต้น


– เลือกอาหารที่มีขบวนการผลิตที่ปลอดภัย


– ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสอาหาร และรับประทานอาหาร และภายหลังการใช้ห้องน้ำ อย่าใช้มือสัมผัสอาหารที่ปรุงสุกแล้วโดยตรง  


– รักษาสิ่งแวดล้อมในครัวให้สะอาด โดยเฉพาะโต๊ะที่ใช้ปรุงอาหาร


– น้ำดื่ม และ น้ำใช้ต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำสำหรับปรุงอาหารต้องสะอาด


– ควรเพิ่มความระมัดระวังในเตรียมอาหารสำหรับทารกหรือเด็ก


– กินอาหารร้อน สุก สะอาด ปราศจากสารพิษ


ล้างมือเป็นนิจ ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ชีวิตปลอดภัย


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code