โมเดลลดจำนวนแม่วัยใส

ที่มา :  คมชัดลึก


โมเดลลดจำนวนแม่วัยใส thaihealth


แฟ้มภาพ


เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้เพศศึกษาจากเพื่อน โซเชียลมีเดีย ละคร เด็กได้รับการกระตุ้น ขาดการยั้งคิด ทักษะชีวิตอ่อนแอ ปฏิเสธไม่เป็น ท้ายสุดนำมาสู่ ปัญหาใหญ่คือท้องก่อนวัยเรียน นอกจากนี้ในปี 2560 พบว่ามี จำนวนแม่วัยใส 84,578 คน คิด เป็นร้อยละ 12.9 ของจำนวนหญิง คลอดทั้งหมด (กรมอนามัย สำนัก อนามัยการเจริญพันธุ์, 2560)


ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัวคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสนอการแก้ปัญหานี้ อัตราแม่วัยใสเกือบเป็นศูนย์ได้ในหลายพื้นที่ ดังเช่น


1) ละทายโมเดล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นวงจรการทำงาน บูรณาการคุ้มครองเด็กขนาดเล็ก "6 ห่วง 3 ปราการ" 6 ห่วง ประกอบด้วย เครือข่ายชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วน ตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงพยาบาลประจำอำเภอ และเครือข่ายเด็กและเยาวชนที่เข้มเข็ง และปราการ 3 ด่าน ได้แก่ ระยะสร้างภูมิคุ้มกัน ผู้ปกครองสามารถสื่อสารให้คำปรึกษาอย่างสร้างสรรค์ตามหลักจิตวิทยา ลดช่องว่างระหว่างวัย ระยะแก้ไข เป็นระยะที่ต้องประสานทุกกลุ่มของเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหา ให้ความรู้ด้านการดูแลตัวเองเมื่อตั้งครรภ์ ด้านการหารายได้ แนวทางการ ใช้ชีวิตในอนาคต ระยะฟื้นฟู เป็นระยะการเยียวยาเด็ก หลังจากคลอดแล้ว นำเด็กและเยาวชนกลับเข้าสู่ระบบ ให้ความรู้ สร้างอาชีพ ป้องกันการท้องซ้ำ


2) กลุ่ม Small Smile เครือข่ายเคียงริมโขง จังหวัดเชียงราย มีวิทยากรที่สอนเพศศึกษาแนวใหม่ สามารถแบ่งปันและเรียนรู้เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและสะดวกใจ และวิธีการ สอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างความเข้าใจผ่าน กิจกรรมการอบรมในโรงเรียน กิจกรรมเดินสายพบปะพูดคุย โดยรุ่นพี่เยาวชนหนึ่งคนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้องเยาวชนในประเด็นทางเพศ


3) โรงเรียนเทศบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว กลุ่มวิชาชีพพยาบาล ครูในโรงเรียน สภาเด็กและเยาวชน สร้างแกนนำฝึกอบรม ประกบเด็กกลุ่มเสี่ยง พูดคุยปรึกษา และ ติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในโรงเรียน

Shares:
QR Code :
QR Code