โฟเลตกับหญิงตั้งครรภ์ ลดเสี่ยงลูกพิการแต่กำเนิด

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า


โฟเลตกับหญิงตั้งครรภ์ ลดเสี่ยงลูกพิการแต่กำเนิด thaihealth


แฟ้มภาพ


"ขอให้ลูกที่เกิดมาร่างกายสมบูรณ์ครบ 32 นะ"คำอวยพรนี้เป็นที่คุ้นเคยอย่างดีเมื่อเราพบเห็นหญิงสักคนหนึ่งกำลังตั้งครรภ์ เพราะไม่ว่าใครก็คงไม่อยากเกิดมาแล้วร่างกายพิกลพิการ รวมถึงผู้เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองก็คงไม่ต้องการให้บุตรหลานของตนมีสภาพนั้นเช่นกัน ทว่าบางครั้งสิ่งที่เรียกว่า "โชคร้าย" ก็มาเยือน เนื่องจากทารกหลายรายเมื่อลืมตาดูโลกก็มาแบบ ไม่ครบ 32 ดังกล่าว


เรียกว่า "พิการแต่กำเนิด" ภาวะพิการแต่กำเนิด แม้ในทางการแพทย์ระบุว่าส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ ประเภทบรรพบุรุษสักรุ่นหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อแม่โดยตรงเสมอไป เช่น รุ่นปู่หรือรุ่นทวดมีอาการของโรคบางอย่างแล้วถ่ายทอดทางพันธุกรรมข้ามมาสู่รุ่นหลานรุ่นเหลน แต่อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มารดามีพฤติกรรมไม่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์ เช่น สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มมึนเมา รวมถึง "ไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ" ทั้งก่อนและขณะตั้งครรภ์ซึ่งหนึ่งในสารอาหารสำคัญนั้นคือ "โฟเลต" หรือชื่อทางการคือ "กรดโฟลิก" (Folic Acid)


ที่งานประชุมวิชาการ "การป้องกันความพิการแต่กำเนิดด้วยโฟเลต" ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ม.ค. 2559 ศ.(เกียรติคุณ) พญ.พรสวรรค์ วสันต์ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลโฟเลตกับหญิงตั้งครรภ์ ลดเสี่ยงลูกพิการแต่กำเนิด thaihealthกล่าวว่า จากการสำรวจในหลายพื้นที่ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า ร้อยละ 40 ของหญิงตั้งครรภ์มีอาการตัวซีด ซึ่งส่งผลต่อระดับสติปัญญา (ไอคิว-IQ) ของทารกในครรภ์


ทั้งนี้ "วัยผู้ใหญ่ 1 คน" ต้องการโฟเลตเฉลี่ย "400 ไมโครกรัม" ต่อวัน "นี่ปัญหาแรกเลยคือเชาวน์ปัญญาต่ำ สมาธิสั้น ติดเชื้อง่าย อันนี้สำคัญที่โภชนาการ ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่แพงเลย"


พญ.พรสวรรค์ กล่าวและย้ำว่า หากมารดามีโฟเลต ต่ำกว่ามาตรฐาน สารดีเอ็นเอก็จะไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ของทารกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ เด็กที่เกิดมาก็จะเสี่ยงต่อความพิการ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาพิการ ความผิดปกติของระบบสมองและประสาท และภาวะหัวใจพิการ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยาเม็ดโฟเลตที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ราคาเฉลี่ยเพียงเม็ดละ 1 บาทเท่านั้น


ถือว่า "ถูกมาก" เมื่อเทียบกับผลดีที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม..แม้โฟเลตจะมีความสำคัญและราคาไม่แพง แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิดด้วยการเสริมโฟเลต จะต้องรับประทานอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนตั้งครรภ์ นั่นหมายความว่าต้องวางแผนก่อนมีบุตร


"ที่สำคัญเลยคือเรื่องเวลา คือต้องรับประทานก่อนจะมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์ อันนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก อันนี้มันต้องวางแผน" ศ.นพ.วรศักดิ์ ระบุแม้ในทางวิชาการจะกล่าวเช่นนั้น แต่ในทางปฏิบัติ การ จะให้ประชาชนสนใจการวางแผนเมื่อจะมีบุตรไม่ใช่ เรื่องง่าย เพราะ "เรื่องเพศไม่เข้าใครออกใคร" ยิ่งคน เป็นสามีภรรยาด้วยแล้วก็มักจะ "ปล่อยเลยตามเลย" มีและเลี้ยงลูกกันไปตามมีตามเกิด ดังนั้นจึงต้องใช้แนวทางอื่น นั่นคือการกำหนดเป็นกฎหมาย ให้อาหารหรือ เครื่องปรุงบางอย่าง ต้องเติมสารโฟเลตให้เพียงพอสำหรับร่างกายมนุษย์ในแต่ละวันคล้ายกับการกำหนดให้ "เกลือ-น้ำปลา-ซอสปรุงรส" ต้องเติม "ไอโอดีน" สาระสำคัญที่มีผลต่อ "ไอคิว"


นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เบื้องต้นแต่ละคนสามารถหาอาหารที่มี โฟเลตมารับประทานได้ เพราะสารชนิดนี้ก็มีในอาหารทั่วๆ ไป รวมถึงมียาเม็ดโฟเลตที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมและเอกชนอื่นๆ แต่ในระยะยาว คงต้องทำการศึกษากันต่อไปว่า จะนำสารโฟเลตไปเติมในวัตถุดิบทำอาหารอะไรได้บ้าง


"อนาคตต่อไป ทางกระทรวงสาธารณสุขก็จะมีมาตรการทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับ ให้นำโฟเลตไปผสมในอาหารโฟเลตกับหญิงตั้งครรภ์ ลดเสี่ยงลูกพิการแต่กำเนิด thaihealthอะไรได้บ้าง โดยไม่ทำให้คุณค่าและรสชาติอาหารเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับโฟเลตอย่างพอเพียงต่อการมีลูก มีภาวะโภชนาการที่ดี และมีสุขภาพดีตลอดไป" อธิบดีกรมอนามัย กล่าวทิ้งท้ายบทความ "รู้จักกับโฟเลต" เขียนโดย นพ.จักรกฤษณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา และ รศ.นพ.ธันยชัยสุระ จากโครงการธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เล่าถึงประวัติของสารอาหารชนิดนี้ ซึ่งถูกค้นพบโดย พญ.ลูซี วิลล์ เมื่อปี 2474 โดยพบว่าหญิงสาวที่ทำงานในโรงงานทอผ้า ณ เมืองบอมเบย์ (มุมไบ) ประเทศอินเดีย จำนวนมากป่วยเป็นโรคโลหิตจางเพราะขาดโฟเลต อันเป็นสารอาหารที่ละลายน้ำได้ อยู่ในกลุ่มของวิตามินบี (Vitamin B)


จุดร่วมของผู้ป่วยทั้งหมด..คือ "ยากจน" ไม่ค่อย ได้รับประทานอาหารประเภทโปรตีน ผักและผลไม้ บทความนี้กล่าวต่อไปว่า สำหรับหญิงตั้งครรภ์แล้ว โฟเลตถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะทำหน้าที่สร้างสารรหัสพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ-DNA) สำหรับการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ทั้งของมารดาและทารก ดังนั้นการที่มารดาได้รับโฟเลตในปริมาณเพียงพอตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ จะลดภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกได้มาก


ในยุคปัจจุบันที่ "คนไทยเกิดน้อยลง" เรื่องของ "คุณภาพประชากร" จึงเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ "แม่ทุกคน" ได้รับสารอาหารเพียงพอ เพื่อให้กำเนิด "ลูกที่สมบูรณ์"

Shares:
QR Code :
QR Code