โปงลางสืบอีสานสร้างเยาวชน

          สมาคมไทบ้าน หรือโรงเรียนชุมชนชาวนา อยู่ที่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นสถานที่สร้างสรรค์อีกที่หนึ่งสำหรับเด็กๆ ที่ชอบวงโปงลาง ให้เด็กๆ ได้มาเรียนรู้และฝึกซ้อมฝีมือในการเล่นดนตรี

/data/content/19433/cms/aceghlmy4568.jpg

          ที่แห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ไว้ซ้อมดนตรีอย่างเดียว และที่นี่ยังมีกระบวนการอย่างอื่นที่สอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ด.ญ.สุชัญญา สุริยขันธ์ หรือ น้องเบสท์ เล่าให้ฟังว่า เธอได้เข้ามาร่วมกิจกรรมในโรงเรียนชุมชนชาวนาแห่งนี้ตั้งแต่เด็กๆ พอเริ่มโตขึ้นมาหน่อยก็ได้เข้าร่วมอยู่ในวงโปงลาง ชื่อ “วงโปงลางสืบอีสาน”

          “การเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ตอนเด็กๆ ก็จะไปเล่นกับเพื่อนไม่ค่อยเข้าบ้าน แต่พอมาอยู่นี่ก็ต้องรู้จักแบ่งเวลา เล่นคือเล่น เรียนคือเรียน เมื่อก่อนก็คล้ายๆเป็นหัวหน้าแก๊งเอาเปรียบคนอื่น พอมาอยู่ที่นี่ก็ได้รู้ว่า การที่เราอยู่ส่วนรวมเราจะทำตามใจไม่ได้ ความคิดแต่ละคนก็แตกต่างกันกัน ไม่ใช่ว่าเราจะเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่”

          นราภรณ์ ดีมาก หรือ ลิ เป็นเจ้าหน้าดีอยู่ที่โรงเรียนชุมชนชาวนาแห่งนี้ บอกถึงกระบวนการทำงานกับเด็กและเยาวชนของโรงเรียนชุมชนชาวนาว่า จะเริ่มจากการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชน ในการทำงานพื้นที่นี้ดีจัง จะใช้โปงลางเป็นเครื่องมือ โดยเริ่มจากทำค่ายสำหรับคนที่อยากจะร่วมทำวงโปงลาง หลังจากนั้นก็มีการซ้อมวงโปงลางกันเรื่อยๆ

          “ทุกครั้งที่เราทำกิจกรรมก็จะเห็นพฤตกรรมของเด็ก ซึ่งเด็กที่เข้าร่วมจะมีอยู่สองหมู่บ้าน ทำให้บางครั้งเด็กก็ไม่ค่อยถูกกัน เลยทำให้กระบวนการซ้อมละเอียดขึ้น เช่นก่อนซ้อมมีการไหว้ครูก่อน มีการเล่นเกมส์ในการสร้างความสัมพันธ์ มีเรื่องของการอยู่ร่วมกันฝึกความสามัคคี กินอาหารด้วยกัน ช่วยกันทำความสะอาด ทำกับข้าวกินเอง”

/data/content/19433/cms/ahiklmotvz37.jpg/data/content/19433/cms/benptuwz1345.jpg

          ที่โรงเรียนชุมชนชาวนายังมีกิจกรรมอยู่อีกมากมาย แต่เพียงวงโปงลางก้สามารถทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็กๆ ที่เข้ามาร่วมกิจกรรม ไม่ได้มีเพียงเบสท์ที่รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น ยังมีเปรี้ยว ที่ใช้กิจกรรมการซ้อมโปวงลางดึงความเป็นผู้นำในตัวเอง จนสามารถเป็นผู้นำเพื่อนได้ และเบล ที่เป็นเด็กสมาธิสั้น ดนตรีก็ช่วยบำบัดในเขา มีสมาธิมากขึ้น สามารถจดจ่อยู่กับดนตรีได้

          โดย ลิ เล่าให้ฟังถึงเด็กทั้งสองว่า “เปรี้ยวเราก็เห็นความเป็นผู้นำ แต่ตัวเขายังไม่รู้ตัว เราก็ดึงทักษะด้านนี้ขึ้นมา เขาก็สามารถนำเพื่อน เรียกเพื่อนได้ ส่วนเบล จะเป็นเด็กที่สมาธิสั้น จะวุ่นวายกวนเพื่อน พอได้เริ่มตีฉิ่งเขาก็เริ่มจดจ่ออยู่กับดนตรี ทำให้เขามีสมาธิมากขึ้น”

          โรงเรียนชุมชนชาวนา ใช้วงโปงลาง มาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำมาพัฒนาเด็ก ที่นอกจากจะทำให้เด็กๆ ได้เล่นดนตรีเป็น ยังใช้ชีวิตเป็น รู้จักการอยู่ร่วมกัน ได้พัฒนาตัวตนของตนเอง และมีความรับผิดชอบมากขึ้น

 

 

          ที่มา : สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) 

 : สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

 

Shares:
QR Code :
QR Code