“โชค บูลกุล” ค้นให้พบ “ความสุข” บนบรรทัดฐานของตัวเอง

เริ่ม คิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ แล้วจะรุ่ง

 

“โชค บูลกุล” ค้นให้พบ “ความสุข” บนบรรทัดฐานของตัวเอง          แบรนด์ของ “ฟาร์มโชคชัย” เป็นชื่อคุ้นหู และเคยชินในสายตาของคนไทยมาเป็นเวลาพอสมควร แต่ในเจเนอเรชั่นที่สอง ซึ่ง โชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท กลุ่มฟาร์มโชคชัย รับช่วงต่อจากครอบครัว ตั้งแต่ปี 2535 เขาต้องฟันฝ่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ธุรกิจต้องแบกรับหนี้นับพันล้านบาท

 

          ในการจัดการปัญหา โชค เล่าว่า ภาวะหนี้สินที่มีมาก ทำให้ต้องตัดสินใจเผชิญกับความจริง ซึ่งพูดง่ายๆว่า แบกไม่ไหว กระทั่งตัดใจยอมตัดสินทรัพย์ หรือธุรกิจบางตัวขายออกไป เพื่อให้ได้เงินมาก้อนหนึ่ง ผ่อนชำระหนี้สิน

 

          เหตุผลง่ายๆที่ต้องทำเช่นนั้น …เขาไม่อยากให้เจ้าหนี้ต้องมีความกังวล นับว่าเป็นคนที่รู้จักในการจัดการบริหารหนี้ดี ตรงตามสูตร happy money เพื่อให้ปลดหนี้

 

          จุดนี่เอง ทำให้เกิดความแปรผัน บวกกับสิ่งที่หนุ่มไฟแรงอย่างโชคชอบสิ่งที่ท้าทาย และเป็นคนมองโลกแง่บวก เขาถึงมีพลังและแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นและทำสิ่งใหม่ๆ ให้ก้าวหน้าต่อไป

 

          การเริ่มต้นรับภาระ หน้าที่การทำงานจึงเริ่มต้นจากว่า “คิดแบบเด็ก แล้วทำแบบผู้ใหญ่” จึงเกิดขึ้น ให้อธิบายความคิดดังกล่าว โชคบรรยายว่า คนเราคิดแบบผู้ใหญ่มันคงเป็นโลกที่น่าเบื่อ มองเห็นแต่หนี้สินและภาระเพราะผู้ใหญ่ความที่มีประสบการณ์มากเกิน “ความคิดสร้างสรรค์” อาจตกหล่นไปมาก

 

          หรือถ้าคิดแบบผู้ใหญ่แล้วทำแบบเด็ก คือตีกรอบตัวเองแล้วลงมือทำงาน ไม่มีระเบียบ ไม่มีวินัย ไม่มีความเป็นมืออาชีพธุรกิจก็อยู่ไม่ได้ท้ายที่สุดเป็นการสร้างภาระหนี้สิน

 

          “ผมมองในมุมกลับกัน แทนที่จะคิดแบบผู้ใหญ่แล้วทำแบบเด็ก แต่คิดแบบเด็กแล้วทำแบบผู้ใหญ่ คือคิดแบบมีจินตนาการที่ไม่ต้องไปหลอกตัวเอง เด็กมีความได้เปรียบตรงที่เขาไม่เคยมีโอกาสที่จะมีประสบการณ์ ฉะนั้นวิธีการคิดของเขาจึงเต็มไปด้วยจินตนาการ แน่นอนว่าถ้าเราคิดแบบเด็กแล้วทำแบบเด็ก มันก็ไม่ใช่เป็นสูตรที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จ”

 

          “แต่ผมเชื่อว่าถ้าเราคิดแบบเด็กมีจินตนาการ เวลาลงมืทำอะรให้ทำแบบมืออาชีพ มีการบริหารงานความเสี่ยงที่ดี รู้จักทีมงาน รู้จักศักยภาพของเรา รู้จักตำแหน่งแห่งที่ของธุรกิจ จะสามารถหาทางได้เปรียบในมุมธุรกิจของเราได้ อันนี้ผมคิดว่ามันเป็นการทำแบบผู้ใหญ่เป็นมืออาชีพจริงๆ ที่จะช่วยให้มองโจทย์ทะลุมิติต่างๆ เข้าไปได้”

 

          โชค จึงให้ความสำคัญในการผสมผสานระหว่างเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ทำงานแบบผู้ใหญ่ และนั่นกลายเป็นความลงตัวที่สุดในการทำงานของเขา ซึ่งเป็น happy brain ในการใช้ความรู้มาประยุกต์เข้ากับการทำงาน

 

          โดยเป็นงานที่ทำแล้ว ไม่ใช่ตอบโจทย์ชีวิตว่า ต้องมั่งคั่ง ร่ำรวย เป็นหนทางอย่างเดียว โชคชี้ว่าถ้าเราหันมามองตัวเองว่า “อะไรคือสิ่งที่ทำให้เราทำแล้วมีความสุข” แม้ไม่รวยเหมือนคนอื่น แต่เป็นสุข เช้าอยากมาทำงาน เย็นรู้สึกว่าเมื่อไรจะได้ทำงานอีก หามุมตรงนี้ให้เจอ โชคบอกว่า นั่นล่ะคือการค้นหาคำว่า “คุณภาพของชีวิต” พบแล้ว

 

          เมื่อไรเราหาความสุขไม่เจอ แล้วคุณภาพชีวิตก็จะไม่เกิด นี่คือสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับสังคมสมัยใหม่ คนเราอย่าไปเอาบรรทัดฐานที่คนอื่นมากำหนดไว้ มากำหนดชีวิตตัวเอง

 

          “ผมได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตหลากหลายรูปแบบ สิ่งที่ผมรู้สึกว่ามันเป็นการเรียนรู้หงายๆ อย่างไม่จำเป็นต้องไปเปิดตำรา เชื่อว่าประสบการณ์ที่เรามีในเชิงการบริหารทรัพยาการมนุษย์ มีมากกว่าที่เขาเขียนด้วย ผมเริ่มต้นชีวิตการทำงานช่วงที่เป็นวิกฤติ คนระส่ำระส่าย รู้สึกมีศัทธาให้องค์กรน้อย เราจึงต้องทำให้เขามีกำลังใจ ถ้าเรามีวุฒิภาวะของความเป็นผู้นำจริงๆ เราจะสามารถสะท้อนให้เขามีความเชื่อว่า อนาคตสดใสยังรออยู่”

 

          เพราะนั่นจะสะท้อนตัวตนจริงของผู้คนว่า  ยิ่งช่วงวิกฤต ธุรกิจไม่สดใส คนในองค์กรทำงานจะมองเห็นความศรัทธาที่เขามีต่อเรา มีต่อหน่วยงาน ลดน้อยหรือมากขึ้น มันทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากตรงนี้

 

          โชค บูลกุล ถือว่า ผู้คน 1,400 กว่าชีวิตในฟาร์มโชคชัย เป็นครอบครัว ที่เขาต้องดูแล มีส่วนในการร่วมสร้าง happy family ให้พนักงาน เพื่อร่วมกันเป็น happy society สังคมดีก็เกิดขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

 

 

update  05-06-51

 

Shares:
QR Code :
QR Code