แรงใจหลังบ้าน ประตูความสุขของ “นนทภูมิ”

        "ที่ผ่านมาสังคมไทยถกเถียงถึงการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในหลายมิติ ทั้งทางภาคการศึกษา เศรษฐกิจ ทรัพยากรแต่ด้านหนึ่งที่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือ ด้านสวัสดิการและการบริการสังคมจุดนี้จึงควรจะต้องสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีขึ้น ก้าวต่อจากนี้จึงอยากให้ภาคการทำงานเพื่อสังคมเข้ามาร่วมคิดและปฏิรูปการทำงานร่วมกันเพื่อผลสัมฤทธิ์ในการทำงานที่ยั่งยืนต่อไป"


          /data/content/25426/cms/e_gkmqrtuvz567.jpg


       นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สสส.กล่าวในการประชุมผู้บริหารระดับสูงระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เมื่อเร็วๆ นี้ คำกล่าวนั้นสอดรับเชื่อมโยงผลมาจากการสนับสนุนให้มีโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม(Leadership for Social Change) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง พม.ร่วมกับ สสส.นับแต่ช่วงปลายปี 2553  เพราะเป็นที่ประจักษ์ว่า นับแต่ดำเนินโครงการ ปรากฏผลดีงามอย่างน่าชื่นใจ ตัวอย่าง "บ้านนนทภูมิ" หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ดในวันนี้ ไม่เพียงแต่เด็กๆ เท่านั้นที่มีรอยยิ้มและพัฒนาการที่ดีขึ้น ผู้ใหญ่คนทำงานในบ้านนนทภูมิ ก็มีความสุขมาก จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เกิดผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (นปปส.) ที่ดีมีคุณธรรมแล้วจำนวน2 รุ่น โดยมีโครงการบ้านนนทภูมิของ นปปส. รุ่นที่ 1 ดำเนินการลุล่วงสำเร็จแล้วด้วยดี


          วาสนา เก้านพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิเด็กมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก  เล่าถึงการเข้าไปทำงานในบ้านนนทภูมิว่า เริ่มต้นจากการพูดคุยถึงปัญหาในการทำงานกับผู้ปกครองและคนทำงานในบ้าน จนได้แนวทางในการทำงานร่วมกัน 4 ข้อ 1. การพัฒนาบุคลากร 2. การพัฒนาระบบอาสาสมัคร 3. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในบ้านนนทภูมิให้เป็นองค์รวมและสามารถใช้งานได้จริง และ 4. การพัฒนาปรับปรุงสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ในบ้าน เพื่อให้เด็กๆได้รับความปลอดภัยมากขึ้น


          "เวลาเราพูดว่า "พัฒนาบุคลากร" เรามักจะคุ้นเคยกับการส่งคนไปอบรม หรือมีคนมาบรรยายหน้าห้อง แต่สำหรับการพัฒนาบุคลากรบ้านนนทภูมิที่มี 130 คน ด้วยความที่บุคลากรมีความสามารถในการทำงานอยู่แล้ว เราจึงไม่ได้เน้น/data/content/25426/cms/e_afhjlqux2789.jpgไปที่การพัฒนาทักษะ หากแต่เน้นไปที่เรื่องของจิตวิทยาและการให้กำลังใจแก่คนทำงาน กลไกช่วยเพิ่มเติมความชุ่มชื่นให้กับฟองน้ำที่แห้งเหี่ยว เมื่อคนทำงานเริ่มมีความสุขความพึงพอใจมากขึ้น แต่ละคนก็จะเปิดรับการพูดคุยถึงปัญหาในการทำงานที่เคยมี เกิดการทำความเข้าใจระหว่างกันมีการกล่าวขอโทษซึ่งกันและกัน จุดนี้ทำให้พวกเขารักและเกื้อกูลกันมากขึ้น จึงมีความพร้อมที่จะช่วยกันทำงานต่อไปท้ายที่สุดเด็กๆ ก็มีความสุขมาก" ผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิเด็กกล่าว


          ด้าน น้ำค้าง คันธรักษ์ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์เด็กพิการทุพพลภาพปากเกร็ด (บ้านนนทภูมิ)ตัวแทนผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง (นปปส. รุ่นที่ 1) ให้ข้อมูลว่าบ้านนนทภูมิเป็นทั้งบ้านและที่ทำงาน การทำงานของเจ้าหน้าที่ เป็นงานซ้ำๆ ที่ต้องทำตลอดเวลา ทำให้คนทำงานไม่มีชีวิตชีวา สิ่งที่เกิดขึ้นคือทำให้คนทำงานทุกคนรู้สึกเหมือนเหนื่อยล้า แต่การได้เข้าโครงการ ทำให้แต่ละคนได้ปรับความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน มีความผ่อนคลายสบายใจและรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่


          "ปัญหาในการทำงานเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือเรากล้านำปัญหานั้นมาร่วมพูดคุยกัน ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรกับปัญหานั้นๆ อาสาสมัครที่เข้ามา ก็เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระและช่วยเติมเต็มในสิ่งที่ขาดไป เช่นแม่ในบ้านเรียนจบไม่สูง สอนการบ้านลูกๆ ไม่ได้ พี่อาสาสมัครก็เข้ามาช่วยสอนการบ้าน กระบวนการตรงนี้ช่วยให้พัฒนาการของลูกๆ ดีขึ้นชัดเจน มีทักษะในการเข้าสังคมดีขึ้น"น้ำค้างเล่า


          สำคัญคือ "แรงใจ" คนหลังบ้านหรือแม่บ้าน ทำให้ค้นพบ "บ้าน" ที่แท้ในใจของตัวเอง เฉกเช่น "บ้านนนทภูมิ"ต้นแบบบ้านแห่งความสุข ช่วยเติมเต็มชีวิตทั้งคนที่ "อยู่"และผู้ "ผ่านไปมา


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ


         ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code