แพทย์แผนไทยชี้กิน “ดอกขี้เหล็ก” เพิ่มวิตามินซี

แนะทานผักผลไม้สร้างภูมิคุ้มกันสู้หวัด2009

 

 แพทย์แผนไทยชี้กิน “ดอกขี้เหล็ก” เพิ่มวิตามินซี

          กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย แนะประชาชนกินดอกขี้เหล็กบ้านเสริมวิตามินซี สร้างภูมิต้านทานป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

 

          ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การดูแลสุขภาพตนเองถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการกินผักผลไม้ที่มีประโยชน์ ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น แต่ยังสามารถป้องกันโรคอื่นๆ ได้ด้วย

 

          ในจำนวนผักพื้นบ้านไทย มีบางชนิดที่มีคุณประโยชน์ เช่น ผักคาวตองมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัส influenza ได้ ซึ่งทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้นำมาวิจัยเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งได้มีการนำเสนอข่าวก่อนหน้านี้

 

          ขณะนี้ทางกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย อยู่ระหว่างการวิจัยสมุนไพรไทยที่มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อไข้หวัดเพื่อนำมาเป็นสารเคลือบหน้ากากป้องกันโรค ยังไม่สามารถเปิดเผยว่าเป็นสมุนไพรใดเพราะอยู่ระหว่างการวิจัยนพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าว

 

          ดร.อัญชลี จูฑะพุทธิ แทนผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า ผักผลไม้ที่ประชาชนสามารถเลือกรับประทานเพื่อสร้างภูมิต้านทางโรคนั้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า วิตามินซีสามารถป้องกันโรคไข้หวัดได้

 

          ดังนั้น เมื่อดูปริมาณวิตามินซีในผักผลไม้ไทย จะพบว่า มีหลายชนิดที่ให้วิตามินซีสูงมาก โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับส้มเขียวหวานซึ่งมีวิตามินซีที่ 42 มิลลิกรัมต่อเนื้อผลไม้ 100 กรัมที่กินได้นั้น ดอกขี้เหล็กซึ่งเป็นผักพื้นบ้านของไทย มีวิตามินซีมากที่สุด คือ 484 มิลลิกรัม รองลงมาเป็น ยอดมะยม 302 มิลลิกรัม

 

          ฝักมะรุม 262 มิลลิกรัม ผักหวาน 218 มิลลิกรัม พริกชี้ฟ้าเขียว 204 มิลลิกรัม ยอดสะเดา 194 มิลลิกรัม มะระขี้นก 190 มิลลิกรัม ฟักข้าว 178 มิลลิกรัม และคะน้า 147 มิลลิกรัม เป็นต้น ซึ่งประชาชนสามารถเลือกรับประทานได้

 

          นอกจากโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ทางกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ อยู่ระหว่างการผลิตยาหม่อมสมุนไพรสำหรับไล่ยุง โดยมีส่วนผสมของตระไคร้ ไพร และขมิ้นชัน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ที่กำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา

 

 

 

 

 

ที่มา: สำนักข่าวเนชั่น

 

 

update 08-06-52

อัพเดทเนื้อหาโดย : กันทิมา ลีจันทึก

Shares:
QR Code :
QR Code