แนะประชาชนเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า
ที่มา: สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แฟ้มภาพ
“โรคพิษสุนัขบ้า”หรือโรคกลัวน้ำเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส.เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อสู่คนได้โดยการถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัด ข่วนเลีย น้ำล ายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผลซึ่งเชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในบริเวณแผลที่ถูกกัด
นายพิทยา ไพบูลย์ศิริ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.กล่าวว่า ช่วงฤดูร้อน มีหลายโรคที่ระบาดและต้องเฝ้าระวังคือ “โรคพิษสุนัขบ้า”หรือโรคกลัวน้ำเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส.เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อสู่คนได้โดยการถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัด ข่วนเลีย น้ำล ายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผลซึ่งเชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในบริเวณแผลที่ถูกกัด โดยมีสัตว์เลือดอุ่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่พบเชื้อจาก.สุนัข แมว วัว ควาย ลิง กระรอก จากข้อมูลกรมควบคุมโรค พบว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2561 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงวันที่.28.มีนาคม.มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว7 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ไปพบแพทย์
เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนในปี 2560 ที่ผ่านมา มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 11 ราย จากการสอบสวนโรค พบว่าเมื่อถูกสุนัขกัดส่วนใหญ่ล้างแผลเองที่บ้านร้อยละ 82 ไปรักษาที่สถานพยาบาล เพียงร้อยละ 18 โดยสุนัขที่กัดเกือบครึ่งหนึ่งเป็นสุนัขจรจัด และพบว่าไม่มีประวัติหรือไม่ทราบการได้รับวัคซีนถึงร้อยละ 89.7
อาการ.ของโรคพิษสุนัขบ้าผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าในระยะแรกเริ่มอาจไม่แสดงอาการใดๆ เนื่องจากเป็นระยะการฟักตัวของเชื้อที่มักใช้เวลาตั้งแต่ 2-12.สัปดาห์ขึ้นไปหรือบางรายอาจใช้เวลาอย่างเร็วเพียงแค่ 4 วัน ซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมาก เพราะหากเลยช่วงนี้ไปจนเข้าช่วงแสดงอาการแล้วมักไม่สามารถรักษาได้ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด
ทั้งนี้บริเวณที่ถูกกัดยังสามารถส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนและระยะฟักตัวของเชื้อโดยยิ่งบริเวณที่ติดเชื้ออยู่ใกล้สมองมากเท่าไหร่ เชื้อก็จะยิ่งเพิ่มจำนวนและฟักตัวได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น เช่น.การถูกกัดบริเวณใบหน้าจะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อเร็วกว่าการถูกกัดที่บริเวณขาทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นนอกจากนี้รอยกัดขนาดใหญ่ที่มีเลือดออกก็จะส่งผลต่อการแพร่กระจายของเชื้อมากกว่ารอยข่วนขนาดเล็ก
จึงมีข้อแนะนำประชาชนหากถูกสุนัขแมว กัดข่วนดังนี้
1) ให้รีบล้างแผลโดยใช้น้ำสบู่และน้ำสะอาดล้างบริเวณบาดแผลหลายๆครั้งอย่างเบามือ
2) ใส่ยาเช่น เบตาดีน โดยทาหลังจากการล้างแผลและซับให้แห้ง
3) รีบพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคและฉีดให้ครบตามนัดทุกครั้ง
4) กักสุนัขหรือแมวไว้ 10 วัน หากสัตว์ตายควรแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที
นพ.พิทยา ไพบูลย์ศิริ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ย้ำประชาชนควรระมัดระวัง ให้ความสำคัญต่อโรคพิษสุนัขบ้า การดูแลตัวเองสำคัญที่สุด หากเกิดบาดแผลจากสัตว์ กัด ข่วน เลีย ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อไม่ให้ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า