แนะการใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
แฟ้มภาพ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย แนะเรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย โดยเน้นการใช้ตามความจำเป็น และปลอดภัยต่อสุขภาพ
นายปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย กล่าวว่า ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนมากขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมากและอาจมีผู้ใช้งานบางคนมีการใช้งานโทรศัพท์มือถืออยู่ตลอดเวลา ทั้งจากการใช้งานเพื่อฟังเพลงขณะเดินทาง การใช้ติดต่อธุรกิจหรืองานสำคัญ การเล่นคอม หรือการพูดคุยกับเพื่อนสนิทหรือครอบครัวผ่านแอพพลิเคชั่น เช่น ไลน์ (lne) เฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะใช้งานเพื่ออะไรก็ตาม หากมีการใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างไม่ถูกวิธีและใช้ในสถานที่ที่ไม่ควรใช้ ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อตนเองหรือคนรอบข้างได้ในที่สุด ดังนั้น จึงขอเตือนผู้ใช้งานให้มีความระมัดระวังกันมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1.ขณะขึ้น-ลงรถโดยสาร หากผู้ใช้งานมีการใช้งานโทรศัพท์มือถือขณะขึ้น – ลงจากรถโดยสารย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหลายๆ ด้าน ทั้งจากการผลัดตกจากรถ เพราะมัวแต่สนใจโทรศัพท์มือถือหรือเกิดอุบัติเหตุจากรถที่สวนขึ้นมาจากค้นข้างขณะลงจากรถ เพราะเราไม่ได้มองด้านซ้าย – ขวาก่อนลง
2.ขณะเติมน้ำมันรถ เนื่องจากโทรศัพท์มือถืออาจเป็นตันเหตุที่ทำให้เกิดประกายไฟในระหว่างการจากรถก็เป็นได้เติมน้ำมันได้และนำไปสู่อันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิตได้
3.คุยต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ถึงแม้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ขัด 100% ว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหรือเนื้องอกในสมองจริงหรือไม่อย่างไรแต่อย่างน้อยๆ เราก็สามรถที่จะเลือกป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงๆ ระดีกว่า และการคุยต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ มีผลทำให้ทูเสื่อมได้ ยิ่งโดยเฉพาะท่านที่เปิดลำโพงเสียงดังๆ
4.ขณะขับรถ อัตราการเกิดอันตรายจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือสูงเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้เพราะเมื่อเรามีการใช้งานโทรศัพท์มือถือขณะที่ทำการขับขี่รถอยู่นั่น จะทำให้สมาธิในการขับ รวมถึงสายตาของเราหรือผู้ขับไม่ได้อยู่ที่บนถนนอีกต่อไป และส่งผลทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทันที่ทั้งต่อตัวเราเองและเพื่อนร่วมทาง
5.ขณะชาร์ตแบตเตอรี่ หากเราใช้งานโทรศัพท์มือถือไปด้วยจะเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้ารั่วจากการชาร์ตและหากสายชาร์ตไม่ได้คุณภาพด้วยแล้ว ยิ่งทำให้โอกาสเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวสูงตามไปด้วยเช่นกัน
6.ขณะเดินหรือข้ามถนน เราไม่ควรใช้งานโทรศัพท์มือถืออยู่ตลอดเวลา เพราะเสี่ยงต่ออันตรายจากการถูกรถชนในขณะข้ามถนน หรือเราอาจเดินไปชนเสา ตกท่อ ต่างๆ นานา ที่อยู่บนทางเท้าที่เราเดินอยู่
7.ในโรงพยาบาล ไม่ควรใช้งานนานหรือพร่ำเพรื่อจนเกินไป เพราะคลื่นสัญญาณบนโทรคัพท์อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายกับการทำงานของเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาลได้
8.ใกล้แหล่งไฟฟ้าแรงสูง เหตุผลหลักๆ ของการห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือใกล้แหล่งไฟฟ้าแรงสูงนั้นมาจากผู้ใช้งานเสี่ยงได้รับอันตรายจากการถไฟฟ้าช็อตจนเสียชีวิตได้ เพราะโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีนั้นเอง
9.บนเครื่องบิน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันอาจมีสายการบินหลายแห่งได้ออกมายืนยันแล้วว่า การใช้งานโทรศัพท์มือถือบนเครื่องสามารถทำได้ แต่อย่างไรแล้วเราก็ไม่ควรที่จะใช้งานนานจนเกินไป แต่ก็อาจยังมีอีกหลายสายการบินที่ยังมองว่าการใช้งานโทรศัพ์มือถือบนเครื่องบินนั้น เป็นการรบกวนสัญญาณอุปกรณ์ต่างๆบนเครื่องได้ และอาจนำไปสู่อันตรายในระหว่างการเดินทางด้วยเช่นกัน
10.ขณะฝนตก หรือฟ้าร้องฟ้าผ่า ห้ามโทรศัพท์เป็นอันขาด เนื่องจากบนโทรศัพท์มือถือมีวัสดุที่สามารถเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี อาจจะทำให้ฟ้าผ่าได้
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย กล่าวย้ำในท้ายที่สุดว่า การใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยๆ และใช้ครั้งละนานๆ หลายชั่วโมง โดยเฉพาะเวลากลางคืน ปิดไฟแล้วยังใช้งาน จะทำให้เกิดปัญหาด้านสายตา จากการเพ่งจ้อง และแสงจากโทรศัพท์ที่เข้มอาจทำให้ตามัวหรือถึงขั้นตาบอดได้