‘แกว่งแขน’ ตัวช่วยลดพุง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


‘แกว่งแขน’ ตัวช่วยลดพุง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย thaihealth


“แกว่งแขน” ช่วยเผาผลาญ 216 กิโลแคลอรี/ชม.ได้กล้ามเนื้อขา-มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ


นักวิชาการใช้เครื่องวัดกิจกรรมทางกาย FeelFit (R) พิสูจน์ “แกว่งแขนลดพุง” ช่วยสุขภาพดีจริง เกิดการเผาผลาญ 216 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง ช่วยให้มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ระดับปานกลาง 150 นาทีต่อสัปดาห์ ชี้ กล้ามเนื้อขา สะโพก น่อง เกิดการใช้พลังงานสูงมาก


หลังจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวเครื่องวัดระดับกิจกรรมทางกาย “FeelFit (R)” ที่มีความแม่นยำสูงในการวัดระดับการมีกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่ง ทั้งการเผาผลาญพลังงาน ระยะเวลาที่ใช้ และจำนวนก้าว ล่าสุด ได้มีการนำเครื่อง FeelFit (R) มาใช้ในการทดสอบการแกว่งแขน ว่า สามารถช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้จริงตามการรณรงค์หรือไม่


นายภาคภูมิ ไข่มุก อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในฐานะคณะวิจัยการใช้‘แกว่งแขน’ ตัวช่วยลดพุง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย thaihealthเครื่อง FeelFit (R) ทดสอบการแกว่งแขนลดพุงลดโรค กล่าวว่า จากการที่ สสส. มีการออกแคมเปญ “แกว่งแขน ลดพุงลดโรค” ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าการแกว่งแขนช่วยให้ลดพุงได้จริงหรือไม่ เกิดการเผาผลาญจริงหรือไม่ ช่วยให้สุขภาพดีได้จริงหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาการวัดการมีกิจกรรมทางกายยังขาดเครื่องมือในการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ แต่หลังจากมีการพัฒนาเครื่อง FeelFit (R) จนสามารถวัดการมีกิจกรรมทางกายได้อย่างแม่นยำ จึงได้นำเครื่องดังกล่าวมาใช้ทดสอบในการแกว่งแขน Arm Swing Activity Tracker เพื่อตรวจหาจำนวนแคลอรีที่ใช้จริงในการแกว่งแขน จังหวะความเร็ว จำนวนครั้งที่เหมาะสมของการแกว่งแขน และตรวจหาความสัมพันธ์ระหว่างการแกว่งแขนกับการถ่ายน้ำหนักที่ฝ่าเท้าอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้ จากการนำเครื่อง FeelFit (R) ติดไว้กับข้อมือของผู้เข้าร่วมการทดสอบ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ อายุต่ำกว่า 25 ปี อายุ 25 – 45 ปี อายุ 45 – 65 ปี และมากกว่า 65 ปีขึ้นไป จำนวน 100 กว่าคน และให้ทำท่าแกว่งแขนที่ถูกต้องตามที่ สสส. แนะนำ พบว่า ช่วยให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญขึ้นจริง


 


นายภาคภูมิ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่อง FeelFit (R) ของแต่ละคน พบว่า ค่าเฉลี่ยของการเกิดการเผาผลาญอยู่ที่ประมาณ 216 กิโลแคลอรีต่อ 1 ชั่วโมง และระดับกิจกรรมทางกายอยู่ที่ระดับปานกลาง (Moderate) คือ 3.6 METs โดยหากทำการแกว่งแขนทุกวันจะช่วยให้มีระดับกิจกรรมทางกายตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ ระดับปานกลาง 150 นาทีต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ ยังพบว่าการแกว่งแขนผลลัพธ์ไม่ได้เกิดขึ้นที่แขนอย่างที่แต่ละคนเข้าใจ แต่การใช้พลังงานเกิดขึ้นในส่วนของช่วงล่างของร่างกายลงไป คือ ตั้งแต่เอวลงไป ได้แก่ กล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อหน้าแข้ง กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อขาด้านหลัง กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อของปลายขา ‘แกว่งแขน’ ตัวช่วยลดพุง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย thaihealthเนื่องจากการแกว่งแขนต้องอาศัยการทรงตัว จึงทำให้มีการใช้ล้ามเนื้อช่วงล่างของร่างกายอย่างมาก


ซึ่งจากการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ หรือการตรวจอีเอ็มจี (Electromyography: EMG) จะพบว่ามีการใช้ไฟฟ้าในกล้ามเนื้อเหล่านี้สูงมาก แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดการใช้กล้ามเนื้อในส่วนใดมากที่สุด เพราะแต่ละคนมีการใช้กล้ามเนื้อที่ต่างกัน เพราะมีเทคนิคการทรงตัวที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนล่างของร่างกายสูงมาก โดยช่วงที่เกิดการใช้กล้ามเนื้อมากสุด คือ ช่วงที่แกว่งมือไปสุดและแกว่งกลับมาสุด เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องเบรกและทรงตัวไม่ให้ล้ม ดังนั้น เราสามารถทำการแกว่งแขนเพื่อให้มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอได้ เช่น ช่วงดูละครหลังข่าว ระหว่างพักโฆษณาก็สามารถลุกขึ้นมาแกว่งแขนแทนที่จะทำอย่างอื่นได้ ก็จะช่วยให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายที่เพิ่มมากขึ้นได้


“นอกจากนี้ การเล่นกอล์ฟซึ่งเป็นกีฬาที่คนมองว่าไม่ได้ช่วยให้สุขภาพดี รวมถึงแคดดีที่ออกรอบพร้อมกับนักกอล์ฟก็ไม่น่าจะแตกต่างกันนั้น แต่จากการนำเครื่อง FeelFit (R) มาติดกับแคดดีขณะออกรอบพร้อมกับนักกอล์ฟระดับฝีมือปานกลางถึงดี ผลสรุปพบว่า การออกรอบจำนวน 18 หลุม (Holes) แคดดีเกิดการเผาผลาญ 473 กิโลแคลอรี มีจำนวนก้าว 15,946 ก้าว ระยะทาง 10,157 เมตร เกิดกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง รวม 59 นาที ดังนั้น การออกรอบประมาณ 4 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยให้แคดดีมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งขนาดแคดดียังเกิดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การตีกอล์ฟก็น่าจะส่งผลดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน” นายภาคภูมิ กล่าว

Shares:
QR Code :
QR Code