เลี้ยงเด็กหนึ่งคน ใช้คนทั้งหมู่บ้าน

เรื่องโดย ภินันท์ชญา สมคำ Team Content www.thaihealth.or.th

ข้อมูลจาก เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวในระดับตำบล “เลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้าน”

ภาพโดย ฐิติชญา สัมปุรณะพันธุ์ Team Content www.thaihealth.or.th และแฟ้มภาพ

                      “สุภาษิตแอฟริกาที่ใช้กันมากว่า 100 ปี “เลี้ยงเด็กหนึ่งคน-ใช้คนทั้งหมู่บ้าน” หลายประเทศนำไปจัดทำนโยบายดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโต รวมถึงสหรัฐอเมริกา เนื่องจากตระหนักว่า เด็กไม่สามารถเติบโตได้จากแค่ครอบครัว แต่ยังมีสภาพสิ่งแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ ความปลอดภัยรอบบ้านเป็นสำคัญ ”  

                      น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในเวทีเสวนา “ผู้ใหญ่จะทำอะไรให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ” เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 ที่ รร. ทีเค พาเลซ เป็นการเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กฯ นำร่อง 210 ตำบล 20 จังหวัด ขานรับวันเด็กแห่งชาติ อีกด้วย

                      ดังนั้น แนวคิดเลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้าน จะเข้ามาตอบโจทย์ถึงการเลี้ยงดูให้เด็กหนึ่งคนเติบโตได้ดี ไม่ควรเป็นการเลี้ยงดูแค่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เนื่องจากเด็กไม่สามารถเป็นทุกอย่างได้เองโดยลำพัง ผู้ใหญ่จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เด็กเป็นได้อย่างที่หวัง

                      ครั้งนี้ สสส. ร่วมกับ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่าย จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวในระดับตำบล ที่ผ่านมา สสส. ได้ชวนชุมชนต่าง ๆ ที่ต้องการจะแก้ปัญหาและสนใจแนวคิดเลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้านไปใช้  ว่าจะเกิดผลอย่างไรบ้าง รอบแรกนั้นโควิดมาพอดี ทำให้ชุมชนจึงต้องดำเนินการเอง

                      ช่วงนั้นพบว่า เจอเด็กที่เป็นสีแดงอยู่ในสภาพถูกปล่อยปะละเลย ก็ต้องเข้าช่วยเหลือทันที เด็กอีกหนึ่งคนถูกล่ามโซ่เนื่องจากพ่อ-แม่ ต้องไปทำไร่ไถนา หรือเอาเด็กไปด้วยแต่ผูกไว้ คนในชุมชนต้องช่วยเหลือด้วยการระดมทุน  หลวงพ่อที่วัดนำอาหารแห้งมาช่วย อบต. เจียดงบประมาณที่เหลือเข้าไปช่วยซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยให้อบอุ่นปลอดภัยยิ่งขึ้น

                      ปกติตามระบบมีการดำเนินงานหลายขั้นตอน ตั้งแต่เขียนคำร้องรอเจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายพิจารณา  ทำให้เกิดการล่าช้า อีกทั้งมีเด็กที่เป็นสีแดงเยอะ หลังชุมชนใช้แนวคิด จาก สสส. ทุกอย่างรวดเร็วขึ้น เพราะเรื่องของเด็กเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ จากการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลความเป็นอยู่ เก็บข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์และให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน นี้เป็นเรื่องที่ถ้าเราทำได้ ครอบครัวที่เปราะบางก็อุ่นใจ มีหลายบ้านที่พูดทั้งน้ำตาว่า เขาไม่คิดว่าเขามีฐานะยากจนสุดไม่กล้าแม้แต่จะไปวัด แต่ได้รับความช่วยเหลือรับความสนใจจากเพื่อนบ้านคนในชุมชน

                      มีหลายบ้านเกิดความรุนแรงในครอบครัว ทางหน่วยงานระดับจังหวัดได้ดำเนินการตามกฎหมาย บางทีก็เป็นพ่อ คุณปู่ คุณตา ส่วนตัวเด็กหรือแม่ที่ถูกทำร้าย ตกอยู่ในสภาพอกสั่นขวัญแขวน สภาพจิตใจย่ำแย่  ก็มีเพื่อนบ้านหาข้าวหาน้ำ ประคับประคองจิตใจ อยู่เป็นเพื่อน

                      จากการที่เราจึงเข้าไปกระตุ้นให้ตัวกลไกชุมชนตามบริบทของเขา พบว่าสามารถช่วยกันได้ ซึ่งอันนี้สะท้อนถึงพื้นฐานสังคมไทย ความเอื้ออาทรซึ่งแนวคิดใหม่นี้จะทำให้ชุมชนแข็งแรง ที่นานาประเทศใช้กัน ทำให้เห็นผลลัพธ์และมั่นใจ กระทั่งเป็นมาตราหนึ่งในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อีกด้วย

                      ในงาน ยังได้รับรู้เรื่องราวที่สุดประทับใจจาก คุณไก่ กรรมการแกนนำภาคีเครือข่าย จ.ตรัง  ตัวแทนภาคธุรกิจ เจ้าของร้านรองเท้า  มีน้องเพลงลูกสาวอยากทำกิจกรรมอาสาเพื่อสังคมตามคุณแม่ จึงแนะนำให้ลูกสาวเล่านิทานให้เด็กที่ป่วยในโรงพยาบาลตรัง พบว่านิทานมีพลังหลายอย่างที่ซ่อนอยู่ พอทำไปนาน ๆ มีคนบริจาคของเล่นบ้างตุ๊กตาบ้างให้เด็ก ๆ และพัฒนาเป็นเรื่องเป็นราวได้มากมาย

                      โดยคุณไก่กล่าวถึงว่า สสส.ว่า “ให้เราไปเรียนแล้ว  จึงรู้สึกอยากนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันต่อ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานอาสาในช่วงที่ผ่านมาในฐานะนักออกแบบการเรียนรู้ด้วยหัวใจ จนลูกสาวบอกว่าแม่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเองรู้สึกว่า สสส. ทำให้แผลที่เคยมี แม้มันยังคงมีอยู่ แต่มันไม่เจ็บแล้ว จึงได้ไปต่อกับคำว่า โอกาส “ ทำเอาคนฟังปรบมือให้กำลังใจกันอย่างท่วมท้น”

                      จากนั้น น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. กล่าวเสริมว่า ที่คุณไก่กล่าวไป คือ สิ่งที่เป็นหัวใจแห่งการขับเคลื่อนของเรื่องเลย ทุกคนมีโอกาสที่จะพลาดพลั้ง จึงไม่แปลกที่แนวคิดเลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้าน จึงเหมาะกับสังคมไทยอย่างมาก เพราะทุกคนมาจากพื้นที่ที่รู้อยู่แล้วว่าเด็กในพื้นที่มาจากครัวเรือนแบบไหน พร้อมกล่าวเสริมว่า

                      สถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ว่า  ภาพใหญ่ของประเทศ กว่าร้อยละ 70 อยู่ในครัวเรือนยากจน บางชุมชนไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าถึง บางบ้านยากจนด้อยโอกาส การศึกษาน้อย ทรัพยากรกรเลี้ยงชีพไม่พอ ยากที่จะให้มาตราการที่เตรียมไว้เกิดประโยชน์กับเด็กจริง ๆ ถ้าไม่ใช้พลังของชุมชนที่มีอยู่

                      พี่อาสาสมัครหญิงคนหนึ่จากเมืองตรัง จบแค่ป. 4 ขึ้นมาเล่าชีวิตว่า… เธอไม่คิดเลยบ้านยากจนอย่างเขา ลูกมีปัญหาหนีออกจากบ้านเพราะความรุนแรงของพ่อ แต่มีเพื่อนบ้านคอยดูแลช่วยดูแล เจียวไข่ให้กิน ใช้เวลาเป็นเดือน ๆ เมื่อเธอยอมรับความช่วยเหลือสภาพจิตใจจึงดีขึ้น ช่วยได้เรียนกศนมีงานทำ ส่งเงินให้แม่ได้  เธอได้รับโอกาสร่วมกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพ กับ สสส.ทำให้เปลี่ยนตัวเองเป็นแม่ที่ลูกอยากเข้าหา มีความมั่นใจ มีความสุขที่เป็นจิตอาสาที่ช่วยดูแลลูกหลานในชุมชน เข้าปีที่ 4 แล้ว

                      “…เราอยากหนุนและเปิดโอกาสให้ชุมชน  อาสาสมัคร บุคคลากรของอบต. เช่น นักพัฒนาชุมชนเจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคม หรือฝ่ายการศึกษา  ครูที่โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชนรวมตัวกันเป็นทีมช่วยกันดูแล เด็กในชุมชน…” เธอกล่าว

                      สสส.พร้อมเดินหน้าสนับสนุนส่งเสริมภาคีเครือข่ายชุมชน ร่วมกันดูแลร่วมสร้างพัฒนาการ และสภาพแวดล้อมที่ดีให้เด็ก ๆ ตาม แนวคิดเลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้าน ทางตรงและโดยอ้อม

                      เรื่องราวทันกระแสสุขภาพ เรื่อง เลี้ยงเด็กหนึ่งคน ใช้คนทั้งหมู่บ้าน ยังมิอาจเล่าให้จบได้ในตอนเดียว เรื่องราวแห่งความประทับใจจากอาสาสมัครแกนนำภาคีเครือข่าย สสส.ขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวในระดับตำบล ของ สสส. ร่วมกับชุมชนทั่วประเทศ ยังมีอีกมายมายที่ยังไม่ได้นำมากล่าวถึง

                      อย่างเมื่อเดือนที่แล้วไปหมู่บ้าน ที่ไม่มีโครงการไหนไปลงเลย ชายแดน ไทย-ลาว หรือชายแดนไทย-กัมพูชา วัยแรงงานที่เป็นพ่อแม่ไปทำงานไกลบ้าน มีแต่ปู่ย่าตายาย ทำไร่ไถนา ในพื้นที่เต็มไปด้วยปัญหายาเสพติดน้ำกระท่อม ยาบ้า แต่ว่ามีพี่อาสาสมัครหญิงคนนึง พูดด้วยพลังแบบคุณไก่เลย เขาได้รับโอกาสให้ทำ ให้นำได้เริ่มทีมชุมชน ความจริงแล้วเขาไม่คิดเลยว่าชาวบ้านจบประถม 4 บ้านยากจนอย่างเขา ลูกมีปัญหาหนีออกจากบ้าน จะมีโอกาสได้ทำงานที่มีคุณค่าขนาดนี้

                      การที่เขาได้ร่วมกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพ เปลี่ยนตัวเอง เป็นแม่ที่ลูกอยากเข้าหาได้ช่วยเหลือเพื่อนบ้าน บ้านที่มีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีการเยี่ยมบ้านแบบชุมชน เมื่อเพื่อนบ้านเปิดใจถึงปัญหา ยอมรับความช่วยเหลือ เจียวไข่ให้กิน คอยดูแลใช้เวลาเป็นเดือนในการฟื้นฟูสภาพจิตใจจนปัจจุบันดีขึ้นแล้ว

                      บ้านหลังนี้ลูกหนีออกจากบ้านเพราะความรุนแรงของพ่อ ในที่สุดก็ได้เรียนกศน. ด้วยความช่วยเหลือของกลไกในชุมชน เชื่อมต่อหน่วยงานกับพื้นที่ ทั้งของฝั่งการศึกษาและฝั่งพม. มันทำให้น้องได้เรียนกศน. พร้อมกับทำงาน ส่งเงินให้แม่ได้ด้วย

                      ตอนนี้แกได้เล่าด้วยความภาคภูมิใจ ว่าโอกาสได้ทำและได้นำ ทำให้มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เพราะฉะนั้นไม่เกี่ยวว่าต้องเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแล้วจึงจะมาเป็นจิตอาสา พลังที่ช่วยดูแลลูกหลาน ทุกคนทำได้ ตัวอย่างจากชายแดนไกล ๆ หรือตัวเมืองตรัง ทำให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ เพียงแค่ว่ามีการให้โอกาสการมองเห็นศักยภาพ สสส.พร้อมหนุนเสริมและให้เขานำ ในการช่วยเหลือดูแลเด็กในชุมชน

                      ได้เข้าปีที่ 4 เราอยากหนุนเสริมและเปิดโอกาสให้ภายในชุมชน  อาสาสมัคร บุคคลากรของอบต. เช่น นักพัฒนาชุมชนเจ้าหน้าที่ฝ่ายสวัสดิการสังคม หรือฝ่ายการศึกษา คุณครูที่โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมตัวกันเป็นทีม

                      มีของกินติดไม้ติดมือไปเยี่ยมเยือนเด็ก ๆ ตามบ้านใช้วิธีการที่จะดูแลเด็กทุกคนในหมู่บ้าน โดยมีกลยุทธ์ สังเกตความเป็นอยู่ การดูแลของผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมของเด็ก ๆ ประเมินความเสี่ยง แบบง่าย ๆ ด้วยสัญชาติญาณของเราเอง ว่าเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ขาดแคลนอะไรบ้าง สิ่งที่เราช่วยเหลือ หรือสนับสนุนมีอะไรได้บ้าง

                      น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. กล่าวต่อว่า สรุปผล 4 ปีที่ผ่านมา เรามาถูกทางแล้ว เราในฐานะหน่วยงานส่วนกลาง เราเป็นฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายเปิดโอกาส เป็นลมใต้ปีก ชุมชนทำได้ เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ทำ ให้อำนาจในการตัดสินใจ เปิดโอกาสให้เขาได้คิดค้นหาวิธีแก้ปัญหา

                      เราทุกคนซึ่งอยู่ในหน่วยงานส่วนกลางไม่มีทางที่จะมีกำลังคนเพียงพอที่จะไปฝังตัวอยู่ในหมู่บ้าน ชุมชน แต่ถ้าเราทำงานด้วยวิธีคิดใหม่ เปิดโอกาส ยอมรับนับถือว่าชาวบ้านรวมกลุ่มกันได้และดูแลกันได้ ไม่ว่าเขาจะมีฐานะอะไร เราเดินไปด้วยกัน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชนเดินไปด้วยกันอย่างเท่าเทียมและเคารพนับถือ คิดว่าสังคมไทยจะเข้มแข็งด้วยฐานรากนี้ เป็นความตั้งใจของ สสส.ที่เห็นได้ชัดว่าเราร่วมมือกันได้

                      ร่วมกันสร้างความทรงจำ พัฒนาการ และสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับเด็ก ๆ และชุมชนได้ โดยเริ่มที่ตัวเราว่า #อยากจะทำอะไรให้เด็ก เพราะความเป็นอยู่สภาพแวดล้อม เพื่อน โรงเรียน สื่อ สังคม ชุมชน มีผลต่อการพัฒนาเด็กโดยทางตรงและโดยอ้อม

                      อย่างไรก็ตาม เด็กกว่า 70% อยู่ในครัวเรือนยากจน และการศึกษาของผู้ปกครองมีน้อย เด็ก ๆ เกินครึ่งไม่ได้อยู่กับพ่อแม่อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย อีกทั้งพ่อแม่ออกไปทำงานไกลบ้าน คอยส่งเงินมาให้ ในบางกรณีให้แต่ไม่พอใช้เกิดปัญหาความเครียดของผู้ใหญ่ รวมถึงการปล่อยปะละเลย

                      จะเติบโตมาได้อย่างปลอดภัย มีสุขภาพกายและใจที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ที่สามารถสนับสนุน ส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครอง จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากคนหลายกลุ่มที่อยู่รอบตัวเด็ก รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดความไม่ปลอดภัยขึ้นกับเด็ก ยกเว้นครอบครัวนั้นมีความพร้อมมาก ๆ แม้ว่า สสส. ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี แต่อยากชวนให้ถอยกลับมามองในภาพใหญ่ของประเทศที่ตอนนี้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยมีประเด็นที่ต้องคำนึงถึง คือ มีเด็กเกิดน้อยลงมาก และเด็กที่เกิดอยู่ในกลุ่มครอบครัวที่มีภาวะเปราะบางสูง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาวะของเด็ก

                      ระบบนิเวศที่รายล้อมรอบตัวเด็กจะต้องได้รับการดูแล เพื่อที่จะได้สามารถดูแลเด็กได้ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นมิติของครอบครัว หน่วยงานสาธารณสุข หรือที่ทำงานของผู้ปกครอง ซึ่งต้องมาดูกันว่าเอื้อให้พ่อแม่มีเวลาคุณภาพหรือมีสวัสดิการเสริมเข้ามาที่ทำให้ดูแลครอบครัวได้ดีขึ้นหรือเปล่า การออกแบบนโยบายเด็กจึงต้องครอบคลุมไปถึงนโยบายเกี่ยวกับพ่อแม่วัยแรงงานด้วย เพราะ ‘เลี้ยงเด็ก 1 คน ต้องใช้คนทั้งหมู่บ้าน’ จึงต้องนำภาพเล็กนี้ไปทบทวนในภาพใหญ่อีกครั้ง

                      น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ สสส. จัดกิจกรรมวันเด็กที่แตกต่าง มากกว่าการมอบของขวัญให้เด็ก เป็นการพลิกมุมกลับชวนสังคมมองผ่านคำขวัญวันเด็ก ที่มุ่งหวังอยากให้เด็กเป็นคนมองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย ซึ่งเด็กไม่สามารถเป็นได้เองโดยลำพัง หากไม่มีผู้ใหญ่อุ้มชูเลี้ยงดูและสนับสนุน ผู้ใหญ่จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เด็กเป็นได้อย่างที่หวัง ดังสุภาษิตแอฟริกาที่ใช้กันมากว่า 100 ปี “เลี้ยงเด็กหนึ่งคน-ใช้คนทั้งหมู่บ้าน” หลายประเทศนำมาจัดทำนโยบายดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโต ไม่เว้นแม้แต่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากตระหนักว่า เด็กไม่สามารถเติบโตได้จากแค่ครอบครัว ยังมีสภาพสิ่งแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ ความปลอดภัยรอบบ้าน จากการขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวในระดับตำบล ของ สสส. ร่วมกับชุมชนทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน

                      มีชุมชนท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการรวม 210 ตำบลใน 20 จังหวัด เกิดจิตอาสาที่ทำงานด้านเด็ก มีทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) นักพัฒนาชุมชน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ช่วยกันดูแลเด็กในพื้นที่ของตน เนื่องจาก สถานการณ์ของเด็กทั่วประเทศมากกว่า 70% อยู่ในครอบครัวรายได้น้อย จึงต้องการการหนุนเสริมทั้งในแง่ของสวัสดิการต่างๆ ตลอดจนความช่วยเหลือในการเลี้ยงดู-การให้คำปรึกษาแนะนำ-การเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและทักษะต่าง ๆ

                      “จากการลงพื้นที่สำรวจ พบว่าในชุมชนมีเด็กจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่กับเครือญาติโดยขาดแม่หรือพ่อเนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่ต้องไปหางานทำไกลบ้านหรือสาเหตุอื่นๆ มีการดูแลที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต หรือมีภาวะเสี่ยงเช่นสมาชิกครอบครัวเป็นผู้ใช้ยา หรือมีปัญหาจิตเวช หรือมีการใช้ความรุนแรงในบ้าน เมื่อทีมชุมชนสำรวจพบจะมีการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อให้เด็กมีความปลอดภัย ครอบครัวสามารถปรับตัวและเกิดทักษะที่ถูกต้องในการเลี้ยงเด็ก บางกรณีเป็นเรื่องของตัวบ้านที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่มีห้องน้ำที่มีสุขอนามัย เมื่อทีมชุมชนทราบเรื่องก็จะแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาช่วยเหลือ เป็นต้น

                      เป็นตัวอย่างของการช่วยกันของชุมชนดูแลเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ สำหรับกิจกรรมวันเด็กปีนี้ ขอเชิญชวนผู้ใหญ่ร่วมถ่ายคลิปวิดิโอบอกเล่าว่าตนเองอยากส่งเสริมการเติบโตของเด็กอย่างไร ตามคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2567 และโพสต์ลงสื่อโซเชียลพร้อมใส่แฮชแท่ก #ฉันจะทำทุกวันให้เป็นวันเด็ก โดย สสส. จะนำมาเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ในวงกว้าง เป็นการนำมุมมองของผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่คนหนึ่งมาถ่ายทอดสู่กัน คล้ายโรงเรียนพ่อแม่ขนาดใหญ่ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์กัน เช่น ประเด็นมองโลกกว้าง เคารพความแตกต่าง ผู้ปกครองอาจจะพาบุตรหลานไปทำกิจกรรมจิตอาสา ทำให้เด็กได้รับมุมมองใหม่ ๆ หรือ การชวนบุตรหลานทำกิจกรรมยามว่างโดยให้เค้าเป็นคนคิดริเริ่มด้วยตนเอง ผู้ใหญ่ชื่นชมในความสร้างสรรค์ โดยไม่ปิดกั้นความคิด หรือบังคับควบคุม ก็จะเป็นการทำให้คำขวัญวันเด็กเกิดขึ้นได้จริง” น.ส.ณัฐยา กล่าว

                      น.ส.อรพินท์ ศักดิ์เอี่ยม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเด็ก กรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า แม้ครอบครัวเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด เอื้อต่อการพัฒนาและทำให้เด็กปลอดภัย แต่ชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการโอบอุ้มและสนับสนุน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ ให้ความสำคัญกับบทบาทของครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่น ในการส่งเสริม พัฒนา และปกป้องคุ้มครองเด็ก โดยเฉพาะครอบครัวยากจน เปราะบาง

                      ที่ผ่านมา กรมกิจการเด็กฯ เข้าไปสำรวจติดตามการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ทั้งมอบเงินอุดหนุนและให้เด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา กว่า 300,000 คน ส่งเสริมสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 51,360 แห่ง พัฒนาหลักสูตรและอบรมครู/ผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้และทักษะการดูแลเด็กปฐมวัย รวมถึงการเลี้ยงดูโดยไม่ใช้ความรุนแรงและขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับตำบล/เทศบาล โดยใช้ TP-MAP ค้นหาครอบครัวเปราะบาง นอกจากนี้ กรมฯ ได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว 5 มิติ ครอบคลุมที่อยู่อาศัย รายได้ สุขภาพ การศึกษา การเข้าถึงบริการ พร้อมตั้งเป้าหมาย ในปี 2568 ทุก อปท. จะมีศูนย์คุ้มครองเด็กเกิดขึ้น

Shares:
QR Code :
QR Code