เลี้ยงลูกให้ถูกทาง
ที่มา: หนังสือ คุณใช้หน้าจอเป็นพี่เลี้ยงลูก
โดย: สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.)
แฟ้มภาพ
คุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้หน้าจอโทรทัศน์หรือแท็บเล็ตเป็นพี่เลี้ยงลูกหรือเปล่า หลายบ้านมักเปิดทีวีให้มีเสียงเป็นเพื่อนเวลาอยู่ในบ้าน บ่อยครั้งก็นั่งดูละครหรือรายการโทรทัศน์กันเผลอๆ ลูกบางคนก็ได้ดูได้ฟังเสียงทีวีมาตั้งแต่แบเบาะ หรือพ่อแม่อาจอุ้มลูกมาป้อนข้าวป้อนน้ำตรงหน้าจอกันเลยทีเดียว รวมถึงหน้าจอสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่เด็กๆ จะรู้วิธีกดปุ่มโทรทัศน์หรือรู้วิธีทัชสกรีนตั้งแต่ยังเล็กนัก แต่อย่าหลงลืมว่าสื่อและเทคโนโลยีเป็นดาบสองคมเสมอ และอย่าคิดว่าเด็กเล็กๆ นั้นไร้เดียงสากับคำพูดหรือเสียงต่างๆ ที่เขาได้ยินผ่านจอ
สื่อรายการแบบใหนที่เด็กไม่ควรดู
1.ละครดราม่า รัก ริษยา โศกเศร้า เคล้าน้ำตา มั่วเซ็กส์ คุกคามทางเพศ
ลองคิดดูสิว่า แค่ลำพังเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันภายในบ้านก็อาจสร้างความปวดหัวให้คุณได้แล้ว คุณกับลูกยังต้องมานั่งดูเหตุการณ์จำลองที่สร้างขึ้นมาเพื่อเสนอสงครามอารมณ์ที่เว่อร์สุดขีดอีกหรือ
2.ภาพยนตร์ชุดเป็นตอนๆ หรือซีรีส์และภาพยนตร์ตื่นเต้นระทึก ต่อสู้รุนแรง
โดยมากมักเป็นภาพยนตร์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับตำรวจ สงคราม นักสืบหรือพิศวาสฆาตกรรม ที่หนีไม่พ้นฉากการไล่ล่าฆ่าฟัน ภาพระเบิด หรือภาพสยดสยองซึ่งกระทบต่อเด็กตั้งแต่วัยหัดคลาน เพราะสีหน้าของตัวละครที่บูดบึ้งหรือมีกิริยาข่มขู่ตะคอกจะทำให้เด็กเริ่มใจเสีย หวาดกลัว และร้องไห้ และเมื่อเขาได้ดูบ่อยๆ ก็จะฝังอยู่ในหัวสมอง ทำให้เด็กฝังใจกับจินตนาการอันน่ากลัว
3 . ภาพยนตร์ที่มีการถ่ายภาพระยะใกล้
ใบหน้าตัวแสดงในทีวีมีผลกระทบต่อเด็กเช่นเดียวกัน เพราะเด็กเล็กจะชอบดูใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ถ้าได้เห็นใบหน้าถมึงทึง ตาเหลือกค้าง หรือหน้าผีเละๆ ที่แสดงออกถึงอารมณ์ไม่ปกติ ภาพเหล่านี้จะทำให้เด็กกลายเป็นคนขี้กลัวโดยไม่มีเหตุผลหรืออาจเกิดความชินชาต่อความเจ็บปวด ความหายนะของผู้อื่น และขาดการเรียนรู้เรื่องความเห็นอกเห็นใจหรือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระหว่างเพื่อนมนุษย์
4 .รายการที่มีเสียงประกอบดังรุนแรง
บางรายการภาพอาจไม่เป็นพิษ แต่อาจมีเสียงที่เป็นพิษ เช่น เสียงกริ่งหรือกระดิ่งนานๆ เสียงร้องโหยหวนของปีศาจ เสียงไซเรนรถ หรือหวีดร้อง เป็นต้น เสียงเหล่านี้อาจทำให้เด็กตื่นกลัวและเกิดอารมณ์วุ่นวายสับสนได้สื่อหรือรายการแบบไหนที่เด็กไม่ควรดู