เรื่องของเส้นรอบเอวและน้ำหนัก

ดูแลให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

เรื่องของเส้นรอบเอวและน้ำหนัก

 

เส้นรอบพุง หรือ เส้นรอบเอว เป็นข้อมูลหนึ่งที่สามารถบอกถึงความเสี่ยงในการเกิด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปรกติ ตลอดจนโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน  ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการที่มีไขมันในช่องท้องมากเกินไป แน่นอนว่าโรคเหล่านี้ย่อมไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพแน่ๆ ดังนั้น เราควรเช็คเส้นรอบเอวของเราดูซิว่า มีความเสี่ยงในการเกิดโรคที่กล่าวมาในเบื้องต้นหรือเปล่า โดยเช็คตามวิธีข้างล่างกันเลย

 

วิธีการวัดเส้นรอบเอว

 

1) อยู่ในท่ายืน เท้า 2 ข้าง ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร

 

2) หาตำแหน่งขอบบนสุดของกระดูกเชิงกรานและตำแหน่งชายโครงซี่สุดท้าย

 

3) ใช้สายวัด วัดรอบเอวที่จุดกึ่งกลางระหว่างตำแหน่งกระดูกเชิงกรานและชายโครงซี่สุดท้าย

 

4) วัดในช่วงหายใจออก โดยให้สายวัดแนบกับลำตัว ไม่รัดแน่น

 

5) ให้ระดับของสายวัดรอบเอวอยู่ในแนวขนานกับพื้น

 

 ขนาดเส้นรอบเอวหรือเส้นรอบพุงในคนเอเชีย

 

เส้นรอบเอวในผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้ว (90 ซม.)

เส้นรอบวงเอวในผู้หญิงไม่ควรเกิน 32 นิ้ว (80 ซม.)

 

สำหรับผู้ชายไทยที่มีรอบเอวตั้งแต่ 36 นิ้ว หรือผู้หญิงไทยที่มีรอบเอวตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป ถือว่ามีความเสี่ยง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดพุงหรือลดไขมันในช่องท้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น

 

ในการที่จะลดพุงให้ได้ผลดีคือ ต้องควบคุมในเรื่องของอาหาร โดยการลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันในอาหาร รวมถึงการจำกัดปริมาณอาหาร และเปลี่ยนเป็นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แทน ก็จะทำให้ไขมันบริเวณพุงลดลง และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ก็จะช่วยให้ไขมันบริเวณพุงลดลงเช่นกัน

      

สำหรับคนที่พุงยังไม่เกินเกณฑ์ดังกล่าว ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ท่านห่างไกลจากภาวะอ้วนลงพุงได้

 

ในเรื่องของน้ำหนักตัว ถ้าอยากรู้ว่าเราอ้วนหรือผอมไปหรือเปล่า ก็ลองคำนวณตามสูตรข้างล่างนี้ เพื่อเปรียบเทียบหาน้ำหนักที่สัมพันธ์กับร่างกายของเรากันดู

 

สูตรการคำนวณหาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมอย่างง่าย

 

ชาย = ความสูง (เซนติเมตร) 100

หญิง= ความสูง (เซนติเมตร) – 100] – 10 % (ความสูง – 100)

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้แต่ละคนมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมแตกต่างกัน เช่น ขนาดโครงสร้างร่างกาย และการใช้พลังงานในกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ดังนั้น น้ำหนักที่เหมาะสมอาจเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของร่างกายแต่ละคนด้วยจ้า

 

 

 

 

 

 

ที่มา: ไทยเฮลท์ตี้ อี้ทติ้ง

 

 

 

Update: 3-06-53

อัพเดตเนื้อหาโดย: คมสัน ไชยองค์การ

Shares:
QR Code :
QR Code