เรียนรู้วัฒนธรรมไทย มุสลิมกินเพื่อสุขภาพ

เข้าสู่ครั้งที่ 6 แล้วสำหรับมหกรรมอาหารและวัฒนธรรมมุสลิมไทย จัดโดยมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย หรือสสม. ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


เรียนรู้วัฒนธรรมไทย มุสลิมกินเพื่อสุขภาพ thaihealthเรียนรู้วัฒนธรรมไทย มุสลิมกินเพื่อสุขภาพ thaihealth


งานมหกรรมอาหารและวัฒนธรรมมุสลิมไทย เป็นแผนงานสสม.กำหนดจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี เป็นงานรวมพลคนรักสุขภาพ ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 ม.ค. ที่มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ภายใต้แนวความคิดส่งเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย ชูสโลแกน "เลิกบุหรี่บ้านละคน"


นายดาวุด ทับอุไร ประธานคณะกรรมการจัดงานมหกรรมอาหารและวัฒนธรรมมุสลิมไทย ครั้งที่ 6 เปิดเผยความเป็นมาของงานว่า จากการดำเนินงานร่วมกับสสม. นอกจากเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ปัญหาความยากจนของพี่น้องมุสลิม (ที่มีมากกว่าคนไทยแล้ว) ยังพบปัญหาเรื่องสุขภาวะ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของสังคมมุสลิม เพราะเป็นกลุ่มที่สูบบุหรี่หนักกว่าคนไทยทั่วไปประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การเผยแพร่นวัตกรรมการควบคุมการบริโภคบุหรี่และผลิตภัณฑ์ ยาสูบอื่นๆ จะทำให้สามารถควบคุมการบริโภคบุหรี่และผลิตภัณฑ์ ยาสูบอื่นๆ รวมถึงกระบวนการช่วยเลิกบุหรี่ ได้อย่างเป็นรูปธรรม


เรียนรู้วัฒนธรรมไทย มุสลิมกินเพื่อสุขภาพ thaihealthงานมหกรรมอาหารและวัฒนธรรมมุสลิมไทยรวบรวมกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพ และคุณภาพชีวิตในวิถีอิสลามไว้มากมาย ประกอบด้วย การแสดงสินค้า อาหารท้องถิ่น และการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากภูมิภาคต่างๆ เช่น การแสดงวงอนาชีดชื่อดัง เป็นต้น การจัดนิทรรศการของแผนงานฯเพื่อประชาสัมพันธ์ การจัดนิทรรศการจากองค์กรมุสลิม และองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศ การสัมมนาวิชาการด้านสุขภาวะ


ไฮไลต์ของงานเริ่มที่เหล่าเยาวชนจากโรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิต) อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ร่วมแสดง "กลองรำมะนา" มาจากเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของมลายู แสดงถึงการเชื่อมโยงประเพณีและวัฒนธรรมของมุสลิมได้เป็นอย่างดี


อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกความสนใจจากผู้เข้าชมงาน ได้ไม่น้อย คือการนำอาหารมุสลิมไทยที่น่าสนใจมาให้ชิมกัน ได้แก่ "ละแซ" ซึ่งเป็นอาหารทางภาคใต้ มีลักษณะคล้ายขนมจีนน้ำยา ซึ่งน้ำยาทำมาจากปลาทูแท้ผสมกับแกงกะทิ "ปิ้งจือ" เป็นการผสมกันระหว่างถั่ว และแป้ง เหมาะแก่การกินคู่กับน้ำชา "กรอกจิ้มคั่ว" อาหารคาวที่ ใช้กินเป็นของว่างในเดือนรอมฎอนและจัดเป็นอาหารเช้า "ขนมหรุ่ม"ชาววัง เป็นขนมที่ใช้ไข่แดงและไข่ขาว โรยเป็นฝอยใยแมงมุม พร้อมโรยด้วยผักชีและพริกชี้ฟ้าแดงด้านใน เหมาะแก่การกิน เป็นอาหารยามบ่าย "นมเปรี้ยว" ลักษณะคล้ายโยเกิร์ตในถ้วยให้ คุณประโยชน์อย่างมาก


นอกจากนี้ ยังมีการรวบรวมนวัตกรรมการเลิกบุหรี่โดยใช้หลักการศาสนา การออกบูธองค์กรเกี่ยวกับนวัตกรรมการเลิกบุหรี่ การมอบโล่เกียรติคุณแก่บุคลากรดีเด่นด้านต่างๆ


ศ.ดร.อิสรา ศานติศาสน์ ผู้จัดการแผนงานสร้างสุขมุสลิมไทย และประธานสสม. กล่าวว่า มีผลวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงค่าเฉลี่ยของครอบครัวมุสลิม 1 ครอบครัว จะมีคนสูบบุหรี่ 1 คน ซึ่งในบรรดาครอบครัวนั้นๆ จะมีภรรยา ลูก ที่ได้รับผลกระทบจากภัยของบุหรี่ และการสูบบุหรี่ 1 คน จะต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการรักษา ประมาณ 6-7 แสนบาท นั่นเท่ากับว่า เรียนรู้วัฒนธรรมไทย มุสลิมกินเพื่อสุขภาพ thaihealthเมื่อใดที่คุณคิดจะซื้อบุหรี่ 1 ซองในราคา 50 บาท ซึ่งเท่ากับคุณต้องเก็บเงินอีก 50 บาท เพื่อนำเงินมารักษาตัวเองด้วย ภัยร้ายของบุหรี่ ยังทำให้พี่น้องมุสลิมต้องมีอายุสั้นลง 10 ปี หากเรายับยั้งภัยร้ายของบุหรี่ในครอบครัวได้ จะส่งผลระยะสั้นให้คนในครอบครัวปลอดภัย มีสุขภาวะที่ดี ปลูกฝังค่านิยมของการไม่สูบบุหรี่ให้กับลูก


"อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นคือ การรณรงค์มัสยิดปลอดบุหรี่ โดยขณะนี้มีมัสยิดปลอดบุหรี่ทั่วประเทศไทย กว่า 500 มัสยิดที่ ลงสัตยาบันเป็นมัสยิดปลอดบุหรี่ และมี 15 จังหวัดที่ประกาศแล้วว่ามัสยิดต้องปลอดบุหรี่ ในอนาคตจะเร่งพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์ ขึ้นอีก 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ขณะนี้ดำเนินการแล้วกว่า 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น" ศ.ดร.อิสรากล่าว


ทั้งนี้ จากข้อมูลการประเมินสถานการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ การเลิกสูบได้สำเร็จ และการสัมผัสควันบุหรี่มือสองที่บ้านในพื้นที่ 4 จังหวัด และ 4 อำเภอชายแดนใต้ โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ ศ.ดร.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ และ รศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมกับหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. ได้วิจัยเชิงสำรวจไว้อย่างน่าสนใจ


การวิจัยครั้งนี้ทำเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบของประชาชนทั่วไป ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเก็บข้อมูลจากครัวเรือนจำนวน 4,500 ครัวเรือนและกลุ่มตัวอย่าง รายบุคคล 4,515 คน ระหว่างเดือนเม.ย.-พ.ค.2558 สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิสองขั้นคือสุ่มหมู่บ้าน 100 หมู่บ้าน จาก 2,226 หมู่บ้าน และสุ่มครัวเรือนด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ เพื่อให้ได้ตัวอย่างขั้นสุดท้ายระดับบุคคล


ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีที่พักเป็นบ้านเดี่ยว ชั้นเดียว โปร่ง ไม่อับทึบ รายได้เฉลี่ย 15,231 บาท/เดือน มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3-4 คน มีกลุ่มเปราะบางทางสุขภาพที่อาศัยในครัวเรือนที่เป็นเด็ก (ร้อยละ 50.7) และคนชรา (ร้อยละ 32.5) มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ไม่สูบยาสูบเลย 3,913 คน (ร้อยละ 56.1) และมีสมาชิกในครัวเรือนที่สูบ 3,061 คน (ร้อยละ 43.9) จำแนกเป็นยาสูบมวนเอง 2,207 คน (ร้อยละ 52.7) และยาสูบโรงงาน/ยาสูบซอง 1,980 คน (ร้อยละ 47.3)


เรียนรู้วัฒนธรรมไทย มุสลิมกินเพื่อสุขภาพ thaihealthจากตัวอย่างรายบุคคลระบุว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้ยาสูบเลยร้อยละ 60.5 เป็นผู้ที่ยังใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบอยู่ ณ ปัจจุบันและไม่เคยเลิกสูบใน 6 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 27.6 จำแนกเป็นคิดที่จะเลิกสูบในอีก 6 เดือนข้างหน้าร้อยละ 4.7 คิดที่จะเลิกสูบในอีก 30 วันข้างหน้าร้อยละ 1.0


สำหรับคนที่เลิกได้ ส่วนใหญ่ใช้วิธีการเลิกด้วยตนเองแบบหักดิบร้อยละ 81.0 มีเหตุผลสำคัญที่ทำให้เลิกสูบได้สำเร็จ คือสุขภาพไม่ดีร้อยละ 59.4


สถานการณ์การสัมผัสควันบุหรี่มือสองที่บ้าน ผู้ที่ไม่สูบยาสูบที่มีประสบการณ์อยู่ใกล้/ได้รับควันยาสูบ/ได้กลิ่นยาสูบจากผู้ที่สูบในบ้าน พบร้อยละ 74.0 ความถี่ของการอยู่ใกล้/ได้รับควันยาสูบ/ได้กลิ่นยาสูบจากผู้ที่สูบในบ้าน คือทุกวันคิดเป็นร้อยละ 43.7


สำหรับงานมหกรรมอาหารฯ ในปีนี้มีความโดดเด่นในเรื่องของการเจาะกลุ่มไปยังพี่น้องมุสลิม ที่ตั้งเป้าจะต้องเลิกบุหรี่บ้านละคน อีกทั้งกิจกรรมในงานยังมีการแสดงออกถึงประเพณีวัฒนธรรมของชาวมุสลิม ที่สื่อออกมาในรูปแบบอาหาร การแสดงหรือการแต่งกาย ซึ่งแม้แต่ผู้ร่วมงานที่ไม่ใช่คนมุสลิม ก็สามารถเข้ามาร่วมงานได้


ศ.ดร.อิสรา กล่าวด้วยว่า อาหารของชาวมุสลิม ไม่ได้มีแต่ข้าวหมก ซุปหางวัว แต่ยังมีอาหารหลากหลายที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงอยากให้ พี่น้องชาวไทยและต่างชาติ ทราบถึงความเป็นมุสลิม ได้เห็นภาพของคนมุสลิมมากขึ้น เพราะมุสลิมทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1 ใน 4 และอยู่ทั่วทุกมุมโลก จึงอยากจะให้มาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน


"เพราะพี่น้องคนไทยที่อยู่ในชาติเดียวกันนั้น ถ้าได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ก็จะมีความเข้าอกเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้"


 


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ

Shares:
QR Code :
QR Code