“เริ่มแรก อย่างมีพลัง”

นมแม่คือหยดแรกของสายใยรักแห่งครอบครัว

“เริ่มแรก อย่างมีพลัง” 

          สัปดาห์แรกของเดือน สิงหาคมของทุกปี ประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะร่วมกันรณรงค์ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรียกกันว่า สัปดาห์นมแม่โลกซึ่งปีนี้มีคำขวัญคือ Breastfeeding : The 1at Hour Early initiation and exclusive breastfeeding for six months can save more than ONE million babies!

 

          ให้ลูกได้ดูดนมแม่จากเต้าแม่ ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอย่างเต็มที่ จนลูกอายุ 6 เดือนเต็ม

 

          เริ่มต้นให้เร็วที่สุด ร่วมกับการให้ลูกได้รับนมแม่ต่ออย่างเดียวจะช่วยปกป้องชีวิตเด็ก ได้กว่า 1 ล้านคน ต่อปี

 

          เรื่องนี้มีข้อมูลทางวิชาการ บอกว่า ถ้าเด็กแรกเกิดได้ดูดนมแม่ครั้งแรกช้าเด็กจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าได้ดูดนมแม่ครั้งแรกเร็วโดยดูจากโอกาสพบว่าถ้าให้ได้ดูดภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังเกิดทารกมีโอกาสเสียชีวิตเพียง 0.7 ในขณะที่ถ้าให้ดูดหลังอายุ 3 วัน ทารกมีโอกาสเสียชีวิต ถึง 4.2

 

          คำขวัญ ในแต่ละประเทศสามารถปรับเปลี่ยนคำขวัญได้ตามบริบทของตน สำหรับประเทศไทยในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพระราชทานคำขวัญ ว่า

 

          “นมแม่คือหยดแรกของสายใยรักแห่งครอบครัว” กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กทม. ร่วมกับ ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่างๆ จึงน้อมเกล้านำคำขวัญนี้มารณรงค์โดยเน้นประเด็น “เริ่มแรกอย่างมีพลัง” หมายความว่าอย่างไร

 

          เริ่มแรกอย่างมีพลังหมายถึงว่าในชั่วโมงแรกหลังเกิดขออย่าให้แยกแม่แยกลูกถ้าลูกปกติ ไม่มีปัญหาแทรกซ้อน ควรให้ลูกได้ สัมผัสแรกให้ลูกได้ดูดแรก

 

          สัมผัสแรก…อ้อมกอดแรกของแม่ที่ให้ลูก…ช่วยให้ลูกตัวอุ่นเร็ว ลูกไม่หนาวไออุ่นจากตัวแม่ประมาณ 37 เมื่อนำลูกมาวางบนอกแม่ลูกจะมีอุณหภูมิกายสูงกว่าการห่อผ้าวางแยก 1-1.5

 

          ลูกสงบ การหายใจและการเต้นของหัวใจ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

 

          ลูกได้รับภูมิคุ้มกัน จากแบคทีเรียชนิดดีที่อยู่รอบๆ ตัวแม่ผ่านการสัมผัสผิวของแม่

 

          ดูดแรก (ภายใน 1 ชั่วโมงแรก)… ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม น้ำนมมาเร็วภายใน 3.5-15 ชม. แต่ถ้าไม่ได้ดูดภายใน 1 ชม.แรก น้ำนมจะมาภายใน 12-29 ชม.กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแห่งความรัก (ออกซิโตซิน) ให้แม่รู้สึกผ่อนคลาย ส่งเสริมสัญชาตญาณความเป็นแม่ มดลูกหดตัวดีกระตุ้น การเชื่อมโยง เซลล์ประสาทสมองลูก ต่อเนื่องจากในท้องแม่ จากความอบอุ่นปลอดภัยในท้องแม่ มาสู่ความอบอุ่นปลอดภัยในอ้อมอกแม่ จากการได้รับอาหารผ่านทางรกและสายสะดือ มาสู่การได้อาหารจากเต้านมแม่

 

          โดยสัญชาตญาณทารก ต้องการดูดนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เมื่อนำทารกแรกเกิดคลอดปกติวางบนหน้าท้องแม่เนื้อแนบเนื้อ ตั้งแต่แรกเกิดทารกจะเขยิบคลานไปดูดนมแม่ได้ แต่ถ้าทารกคลอดผิดปกติ ได้รับยาสลบ ผ่าตัดคลอดจะใช้เวลานานกว่ามากจึงควรคลอดลูกโดยธรรมชาติไม่ใช้ยาสลบ หรือการผ่าตัดคลอดโดยไม่จำเป็น

 

          สัมผัสแรก…ดูดแรก จากอกแม่ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังเกิด เป็นการเริ่มต้นที่ดูเหมือนธรรมดา แต่พบว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ลูกเริ่มเรียนรู้วิธีดูดนมแม่ และแม่ก็เริ่มให้นมเป็น และใน ท่ามกลางความรักความอบอุ่นจากแม่และครอบครัว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสายใยรักแห่งครอบครัว

 

          เราช่วยกันได้อย่างไร

 

          ส่งเสริมให้แม่ลูกอยู่ด้วยกันหลังคลอด ตั้งแต่ในชั่วโมงแรก เช่น ช่วยแม่กอดลูกให้ถนัด ให้กำลังใจแม่

 

          การหยอดตา ชั่งน้ำหนัก วัดสัดส่วน อาบน้ำ ต่างๆ ให้รอหลังเด็กได้อยู่กับแม่เนื้อแนบเนื้อได้ดูดนมแม่ ในชั่วโมงแรกให้เสร็จก่อนและแม่ไม่ควรขอผ่าตัดคลอดลูกโดยไม่จำเป็นเพราะจะขัดขวางขบวนการธรรมชาติ ต้องการได้สื่อแผ่นพับหรือ load ข้อมูลติดต่อ www.thaibreastfeeding.com

 

 

 

 

 

 

เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

 

 

Update:24-07-51

Shares:
QR Code :
QR Code