เราจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เสียง (ที่เคยเงียบ) จากปากคุณผู้หญิง

ที่มา : แนวหน้า 


ภาพประกอบจาก สสส.


เราจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เสียง (ที่เคยเงียบ) จากปากคุณผู้หญิง thaihealth


เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิหญิงชาย ก้าวไกล พร้อมด้วย ดารา นางแบบชื่อดัง สิรินยา บิชอพ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ "เจ็บแต่ ไม่ยอม" เนื่องในวันยุติความ รุนแรงต่อสตรีสากล พร้อมเสวนาถ่ายทอดประสบการณ์ผู้ที่เคยถูกกระทำ และผู้ที่ ก้าวผ่านจากความรุนแรง และร่วมเดินรณรงค์รวมพลคนเจ็บแต่ไม่ยอม ณ สวนสันติภาพ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม.


คุณสิรินยา บิชอพ ซึ่งเป็นนักแสดง คงเคยเห็นละครไทย ประเภท "ตบจูบ" มีพระเอกทำร้ายนางเอก ข่มขืนนางเอก จนสุดจะเหลือทน แต่สุดท้ายทั้งสองกลับมา แต่งงานเป็นผัวเมียกัน… เธอคงคิดว่า ไม่ยุติธรรมต่อผู้หญิง เลยอยากเข้ามา รณรงค์เรียกร้องให้สังคมไทยเปลี่ยน ค่านิยมเสียใหม่


เราจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เสียง (ที่เคยเงียบ) จากปากคุณผู้หญิง thaihealth


นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชาย ก้าวไกล เล่าให้ฟังว่า มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มผู้หญิงอายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,655 ชุด ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งจาก ผลสำรวจให้ความเห็นว่า ร้อยละ 38.4 เคยเห็นเพื่อน/คนใกล้ชิดประสบปัญหา, ร้อยละ 10.4 เคยเห็นคนใกล้ชิดโดนทำร้ายและเคยเจอกับตัวเอง และ ร้อยละ 7.8 ประสบปัญหาด้วยตัวเอง โดยส่วนใหญ่ เห็นการตอกย้ำที่สะท้อนความรุนแรงทางเพศ ผ่านสื่อละครในฉาก ทำร้ายร่างกาย ตบ จูบ ว่าเป็นเรื่องปกติถึง ร้อยละ 44.7 และคิดว่านางร้ายในละครถูกลงโทษด้วยความรุนแรงเป็นสิ่งที่สมควรแล้ว ร้อยละ 39 ขณะที่อีก ร้อยละ 32.1 มองว่าสื่อส่วนใหญ่นำเสนอภาพผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ ที่แย่ที่สุดคือ ร้อยละ 25.3 มองว่าพระเอกข่มขืนนางเอกเป็นเรื่องปกติยอมรับได้


จากผลสำรวจทำให้เห็นว่า การกระทำ ความรุนแรงกับผู้หญิงนั้นเป็นเรื่องที่เป็นปกติไปเสียแล้ว ดังนั้นหากประชาชนคนไทยยังยึดติดและมีความเชื่อเดิมๆ ที่ให้ผู้ชายเป็นใหญ่ หรือมองว่าเป็นผู้หญิงต้องทำงานบ้านดูแลลูก ดูแลสามี ถูกสามีทำร้ายเป็นเรื่องปกติ จึงไม่กล้าเรียกร้องสิทธิอะไร เป็นเรื่องที่ ควรเลิกได้แล้ว


"การทำงานของ สสส. ร่วมกับมูลนิธิ หญิงชายก้าวไกล และภาคีเครือข่าย จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันและเห็นความสำคัญ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะจับมือก้าวผ่านความรุนแรงที่เกิดกับผู้หญิงไปด้วยกัน โดยในแง่ของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืน หรือโดนเอาเปรียบ เราต้องปลุกให้เขาลุกขึ้นมา ต่อสู้ในสิทธิของตนเอง มีบทบาทมากขึ้น อย่ายอม โดนทำร้าย ต่อให้เจ็บแค่ไหนก็ไม่ควรยอม เพราะ การยอมนั้น ยิ่งส่งผลให้เกิดการกระทำที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ สังคมไทยจะปล่อยให้ผู้หญิง ตกเป็นเหยื่ออารมณ์ของผู้ชายอีกต่อไปไม่ได้" เธอพูดเสียงดังฟังชัด


เราจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เสียง (ที่เคยเงียบ) จากปากคุณผู้หญิง thaihealth


สำหรับ คุณสิรินยา บิชอพ หรือ ซินดี้ ดารานางแบบชื่อดัง บอกว่า ตนอยากเป็น กระบอกเสียงให้กับทุกคนที่กำลังประสบเหตุการณ์เลวร้ายทั้งถูกข่มขืน ทำร้ายร่างกาย โดนบังคับให้ขายบริการทางเพศ ให้กล้าที่จะเรียกร้องในสิทธิที่ควรจะได้รับ อย่านิ่งเฉยกับสิ่งที่ตนเองเจออยู่ อย่ากลัว เพราะเราไม่ควรปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล เราควรช่วยกันเรียกร้องสิทธิให้สังคมเห็นถึงความเท่าเทียมทางเพศ และในอีกมุมสำหรับผู้หญิงที่ไม่เคย ประสบปัญหาเหล่านี้ ก็ควรระวังตนเอง ด้วยเพื่อ ความปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ เช่น ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 หรือ 191 ศูนย์รับแจ้งเหตุ สำหรับผู้พบเห็นเหตุการณ์ก็สามารถเป็นหูเป็นตาช่วยโทรศัพท์ไปแจ้งเหตุได้เป็นการช่วยเหลือ กันในสังคมอะไรด้วย อย่าไปยึดติดกับค่านิยมที่สังคมใส่หัวเอาไว้ว่า เป็นเรื่อง ภายในครอบครัว ที่สามีภรรยาทะเลาะกัน เราไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะมันเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เกิดการทำร้ายผู้หญิงมากขึ้น


เราจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เสียง (ที่เคยเงียบ) จากปากคุณผู้หญิง thaihealth


มีเรื่องจริงของผู้หญิงคนหนึ่ง มาเล่า และขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ว่า เธอเคยผจญกรรมเกี่ยวกับ เรื่องความรุนแรงทางเพศ จากคนในครอบครัว โดยถูกสามีบังคับให้มีพฤติกรรมทางเพศที่แปลกไป ส่วนมาก มักจะตามอย่างมาจากหนังโป๊ มีรสนิยมทางเพศที่แปลกขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายเธอ ถูกสามีบังคับให้ขายบริการทางเพศแก่บุคคลอื่นที่เขาจัดเตรียมหาไว้ให้แล้ว ซึ่งตนไม่อยากทำ และรับไม่ได้ สุดท้ายทนกับพฤติกรรมสามีไม่ไหว จึงหนีกลับบ้านพร้อมลูก แล้วนำเรื่องทั้งหมดมา ขอความช่วยเหลือจาก มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เพื่ออยากให้สามีได้รับโทษและให้เหตุการณ์ของตนเองเป็นกรณีศึกษาสำหรับคนอื่น จนในที่สุดทางมูลนิธิได้รับ เรื่องและช่วยเหลือ ปัจจุบันสามีได้รับโทษจำคุก 7 ปี


ด้วยทัศนคติทางความคิด ที่ถูก ปลูกฝังให้เชื่อว่าผู้ชายเป็นใหญ่ในครอบครัว รวมไปถึงการเสพสื่อที่ไม่เหมาะสมจนเกิดการลอกเลียนแบบที่ผิดๆ เป็นเรื่องเห็นแก่ตัวของเพศชายเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องอาศัยพลังขับเคลื่อนจากหลายๆ ภาคส่วน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ถูกกระทำลุกขึ้นมาต่อสู้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และตอกย้ำให้สังคมรับรู้ว่า "พวกเรา (ผู้หญิง) จะไม่ยอมอีกต่อไป"

Shares:
QR Code :
QR Code