เยาวชนเสี่ยงปัญหาความรุนแรง-ครอบครัวแตกแยก

ที่มา : MGR Online


ภาพประกอบจาก MGR Online และแฟ้มภาพ


เยาวชนเสี่ยงปัญหาความรุนแรง-ครอบครัวแตกแยก thaihealth


โพลวันเยาวชนปี 59 เผยเยาวชนเผชิญสารพัดปัญหา ทั้งปัจจัยเสี่ยง ความรุนแรง ครอบครัวแตกแยก ขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่มีพื้นที่ปลอดภัย


วันที่ 20 ก.ย.59 ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ร่วมกับ 30 องค์กร อาทิองค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทย มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2559 ในงานมีเวทีเสวนาหัวข้อ“เสียงเด็กและเยาวชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย”ทั้งนี้มีตัวแทนเยาวชนจาก4 ภาคทั่วประเทศ ร่วมสะท้อนปัญหาและผลกระทบต่อเด็กเยาวชนรวมถึงการนำแอปพลิเคชันยูรีพอร์ต (U-Report) มาใช้เป็นเป็นช่องทางผลักดันสู่การออกนโยบาย


นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เปิดเผยผลสำรวจของมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายฯ ลงพื้นที่สำรวจ “ปัญหาเด็กและเยาวชน กับการมีส่วนร่วมทางสังคม” ในกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา 1,661 ราย จาก 4 ภาค ทั่วประเทศ พบว่า เกินครึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง เมื่อถามถึงการมีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจ พบว่า 42.26% แค่ร่วมคิดแต่ไม่เคยได้ร่วมตัดสินใจ และ 18.42% ไม่มีโอกาสทั้งร่วมคิดและร่วมตัดสินใจ ปัญหาที่เยาวชนต้องเผชิญ ได้แก่ ความรุนแรงในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน 18.45% เหล้า บุหรี่ พนัน 18.20% แหล่งมั่วสุม16.19% สื่อไม่สร้างสรรค์ 13.67% พื้นที่ไม่ปลอดภัย 11.80% การถูกกีดกันทางสังคม 7.59%


ทั้งนี้ที่มาของปัญหาเกิดจากกฎหมายการบังคับใช้อ่อนแอความความไม่เท่าเทียมขาดทักษะชีวิตมีทัศนคติเชิงลบ ครอบครัวอ่อนแอ และนโยบายรัฐบาลไม่เอื้ออำนวยทำให้ส่งผลตามมาได้แก่ครอบครัวแตกแยก สุขภาพจิตคุณภาพชีวิตแย่ ไม่มีความปลอดภัยในชีวิต ขาดโอกาสทางการศึกษา


“สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่เยาวชนอยากให้เกิดขึ้นจริงคือส่งเสริมพื้นที่ปลอดภัยสร้างสรรค์ 23.03% ครอบครัวชุมชนโรงเรียนใส่ใจแก้ไขปัญหา 18.83% เยาวชนมีส่วนร่วม 16.87% ที่สำคัญ 10.19% ต้องการให้รัฐบาลมีนโยบายปกป้องเด็กและเยาวชนที่เป็นจริง ทั้งนี้สิ่งที่เยาวชนต้องการมีส่วนร่วมแก้ปัญหามากที่สุดคือ การศึกษา 28.34% รองลงมาเยาวชนเสี่ยงปัญหาความรุนแรง-ครอบครัวแตกแยก thaihealthสุขภาพ12.19% ความรุนแรง 11.09% เพศ 11.56% และการเมือง 2.88% อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนชัดเจนว่า เยาวชนต้องการให้ผู้ใหญ่รับฟังเสียงของเขาบ้าง ขอให้เขาได้มีโอกาสร่วมแก้ไขปัญหา มีพื้นที่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมลงมือทำ” นายธีรภัทร์ กล่าว


นายคงเดช กี่สุขพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารนิเทศ(ดิจิทัล)องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่าเสียงของเยาวชนมีความสำคัญตามหลักขั้นพื้นฐานของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในกว่า190 ประเทศที่ร่วมลงนามเป็นภาคี และในยุคดิจิทัลนี้ยูนิเซฟได้เล็งเห็นถึงศักยภาพในการเข้าถึงเด็กและเยาวชนของเทคโนโลยีการสื่อสารจึงได้ริเริ่มให้มีระบบยูรีพอร์ตซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมสิทธิในการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชนให้ร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านระบบโพลในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมใช้งานระบบยูรีพอร์ตและมีสมาชิกที่เรียกว่ายูรีพอร์ตเตอร์ (U-Reporter) มากกว่า 2 ล้านคนโดยหลักการของยูรีพอร์ตคือจะมีคณะกรรมการยูรีพอร์ตในการคิดประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเพื่อสอบถามยูรีพอร์ตเตอร์ในแต่ละเดือน ซึ่งสมาชิกเหล่านี้จะสามารถตอบกลับความคิดเห็นได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน U-Report จากนั้นคำตอบจะถูกรวบรวมและแสดงผลบนเว็บไซต์


"ซึ่งผู้ที่กำลังติดตามประเด็นดังกล่าวอยู่ สามารถนำไปใช้ได้ทันที เช่น การนำเสนอข่าว นำไปเป็นข้อมูลให้กับภาครัฐเอกชน เอ็นจีโอ นักวิชาการ โดยการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ทำได้ง่ายด้วยการดาวน์โหลดแอป U-Report หรือดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://thailand.ureport.in หรือเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/UReportThailand" นายคงเดช กล่าว


เชื่อว่าระบบนี้จะช่วยให้เปลี่ยนเสียงทุกเสียงของเด็กและเยาวชนให้กลายเป็นแรงผลักดันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมทั้งในระดับปฏิบัติการระดับกิจกรรมไปจนถึงเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายโดยยูรีพอร์ตนี้จะเป็นเครื่องมือในการรวบรวมความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมากๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยผ่านทางแอปพลิเคชันและไม่มีเปิดเผยตัวตนผู้ที่ตอบแบบสอบถาม”นายคงเดชกล่าว


ด้านนางเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน สสย. กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับเยาวชนน้อยมากทั้งที่เขาควรจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดคุณภาพในทุกระดับ ซึ่งต้องเน้นที่การส่งเสริมสร้างกระบวนการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีกระบวนการพื้นที่สื่อสร้างสรรค์รวมถึงจัดกระบวนการสภาพแวดล้อมรอบตัวให้มีความปลอดภัย มีสื่อดีๆ ที่ช่วยสร้างการเรียนรู้และเกิดภูมิคุ้มกันที่ดีซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เขาจะซึมซับจนเกิดเป็นความรับผิดชอบมีมิติเชิงบวกดังนั้นกระบวนการทำงานคือต้องให้เด็กเยาวชนได้ลงมือทำแก้ปัญหาจนเกิดเป็นการเรียนรู้ และเกิดการยอมรับจากผู้ใหญ่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในที่สุด

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ