เมื่อเด็กสูญเสียพ่อแม่หนทางช่วยเหลือ-เยียวยา
การสูญเสียพ่อแม่เป็นความเครียดรุนแรงสูงสุดในชีวิตเด็กและวัยรุ่นและถ้าเป็นการสูญเสียอย่างเฉียบพลันหรือตายผิดธรรมชาติ จะส่งผลกระทบที่รุนแรงเพิ่มขึ้น
การสูญเสียที่พักอาศัย รายได้ ที่ทำกินอาจส่งผลกระทบต่อเด็กไม่มากเท่ากับการขาดความรักความเอาใจใส่จากคนรอบข้าง
ครอบครัวที่สูญเสียพ่อหรือแม่ไปคนหนึ่งทำให้สูญเสียรายได้ มีการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของทุกคนในครอบครัว เด็กที่อายุมากที่สุดในบ้านจะรับผิดชอบเพิ่มขึ้นมาก สัมพันธภาพในบ้านเปลี่ยนไปอย่างมากเนื่องจากพ่อแม่ที่เหลือจะต้องทำงานหารายได้เพิ่มขึ้น มีเวลาให้ลดลง
ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทยร่วมกับราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยให้ความรู้และคำแนะนำสำหรับครอบครัวที่ประสบเหตุการณ์นี้ รวมถึงชุมชนและสังคมที่จะมี
ส่วนช่วยเยียวยาให้กับเด็ก
เด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อหรือแม่จะมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาทางจิตใจในเวลาต่อมาได้ โดยเฉพาะในกรณีต่อไปนี้
1.เสียพ่อแม่ในช่วงอายุต่ำกว่า 5 ปี
2.เสียแม่ในเด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 11 ปี หรือเสียพ่อในวัยรุ่นชาย
3.มีปัญหาทางจิตใจมาก่อน หรือเคยมีปัญหากับพ่อแม่ที่ตายมาก่อน
4.มีปัญหาสัมพันธภาพกับพ่อแม่ที่เหลืออยู่ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่เหลือนั้นแต่งงานใหม่ และเด็กปรับตัวให้เข้ากับครอบครัวใหม่ไม่ได้
5.พ่อแม่ที่เหลือหรือผู้ดูแลเด็ก มีปัญหาทางจิตใจ ปรับตัวไม่ได้ เครียด กังวล ซึมเศร้า ก้าวร้าว เป็นต้น
6.พ่อแม่ที่เหลือหรือผู้ดูแลเด็กไม่ให้เวลาความรัก ความใกล้ชิดเอาใจใส่ และญาติมิตรชุมชนไม่สามารถช่วยเหลือเด็กได้
การให้ความช่วยเหลือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่
1. ช่วยเหลือพ่อแม่และญาติ คือ ช่วยให้พ่อแม่ถึงจุดที่ยอมรับความตายได้ โดยการ
– ให้โอกาสพ่อแม่ระบายความรู้สึกสูญเสีย
– ใช้คำอธิบายธรรมดา เข้าใจง่าย ค่อยเป็นค่อยไป
– ใช้ความนุ่มนวลและจริงใจ
– ช่วยคิดทางออกในการแก้ปัญหาครอบครัวระยะสั้นและระยะยาว
– ช่วยติดต่อประสานงานในการรับความช่วยเหลือ
– ช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมงานศพ
– จัดให้มีเวลาอยู่คนเดียวเพื่อคิดทบทวน และยอมรับความจริงเกี่ยวกับการสูญเสีย
2. ช่วยเด็ก แบ่งวิธีช่วยเหลือไปตามวัยต่ำกว่า 5 ปี : หาคนมาช่วยดูแล จัดกิจกรรมและปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในการเจริญเติบโตต่อไป
5- 12 ปี : มีเวลาพูดคุย เปิดโอกาสให้เล่าปัญหา พูดถึงความกลัว ให้เด็กระบายความรู้สึกทั้งความเสียใจ ความกังวล ความกลัว ความเจ็บแค้น ความไม่พอใจ
ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ เพื่อทำให้เด็กเข้าใจสถานภาพสิ่งที่เกิดขึ้นโดยให้ข้อมูลที่เหมาะสมกับวัย ไม่ใส่อารมณ์หรือความรู้สึกเคียดแค้นของผู้ใหญ่ให้เด็กรับรู้
ถ้าเด็กคิดว่าตัวเองอาจเป็นสาเหตุของความตาย ก็แก้ไขความเข้าใจ ให้เด็กเข้าใจและยอมรับความจริงของชีวิตที่ว่า ทุกคนสุดท้ายก็ต้องตายเหมือนกัน
12 -18 ปี : คล้ายกับวัยเรียนและผู้ใหญ่ เปิดโอกาสให้ทำสิ่งดีให้กับผู้ที่จากไป เช่น ให้มีส่วนร่วมในการจัดงานศพ ให้มีโอกาสขออโหสิกรรมในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดต่อกัน
2.การจัดการในระยะยาวการเฝ้าติดตามเป็นระยะ เป็นการคงสภาพความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์ผู้รักษาและพ่อแม่, เด็ก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาที่ได้ผลการที่พ่อแม่อาจหลีกเลี่ยงการยอมรับสภาพของโรคหรืออาจเปลี่ยนหมอรักษาไปเรื่อยๆ จะเกิดผลเสียต่อเด็ก ควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยกลับมาดูการที่แพทย์อดทนต่อภาวะปฏิเสธจะทำให้ญาติค่อยๆ เกิดความเชื่อมั่นในตัวแพทย์ที่รักษา
คำแนะนำสำหรับการป้องกันประเมินค่าพ่อแม่ ในการดูแลเด็ก ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโรค ขอบเขตที่วางไว้ให้เด็กการเลี้ยงดู ระวังลักษณะการเลี้ยงดูที่ปกป้องเกินไป ตามใจมากเกินไป ห้ามเด็กมากเกินไปหรือละทิ้งเด็ก
ประเมินค่าเด็กโดยผ่านการพูดคุย หรือดูวิธีที่เด็กเล่น ซึ่งมักจะเห็นความโกรธหรือก้าวร้าวได้สูงการเล่นเข้ากลุ่มจะเป็นทางให้เด็กได้พบความ
สำเร็จ, สมหวังบ้าง ได้เพื่อนได้เห็นว่าอีกหลายๆ คนที่ด้อยโอกาสกว่าก็ยังมีอีก การกระตุ้นให้เด็กพูดได้ตามอิสระจะทำให้เด็กมั่นใจที่จะแสดงความคิดเห็นความรู้สึก, ชี้ชวนให้เด็กรับผิดชอบต่อตัวเองในการกินยา และการควบคุมอาหาร เสริมให้เด็กมั่นใจในตัวเอง
จะเห็นว่าทั้งเด็กและพ่อแม่ต่างก็ต้องการระบายความรู้สึกที่เป็นความคับแค้นไม่พอใจไม่สมหวัง, ความกลัวและความรู้สึกผิด ทีมผู้รักษาประคับประคองให้พ่อแม่และเด็กก้าวข้ามสิ่งต่างๆ ได้โดยให้โอกาสด้วยท่าทีที่นุ่มนวลและเข้าใจ ส่งผลทำให้เกิดความร่วมมือในการรักษาและทำให้ผลการรักษาออกมาดี
ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
Update:13-09-53
อัพเดทเนื้อหา : คีตฌาณ์ ลอยเลิศ