‘เพื่อสิทธิ เพื่อชีวิต คนไร้บ้าน’ แค่ความสงสารไม่พอ
ที่มา : มติชน
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
ความรู้สึกของผู้คนเมื่อได้พบเห็นหรือพูดถึงประเด็นคนไร้บ้าน อาจเป็นความสงสาร และเห็นใจ ทว่า นั่นคือสิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดหรือไม่? www.facebook.com/ScoopMati เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้และเสื้อเห็น ปรากฏในนิทรรศการ "เรื่องเล่าริมทาง"อนาคตจริงหรือ?
กิจกรรมและเวทีสาธารณะ "Human of Street" ตอน "Greeting For The Homeless" เพื่อสร้าง "ความเข้าใจ" ต่อกลุ่มคนเหล่านี้ จึงถูกจัดขึ้นที่พิพิธบางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย และเครือข่ายคนไร้บ้านภาพถ่ายวิถีชีวิตคนไร้บ้านที่หลายคนไม่เคยสังเกตยืดสกรีนลายเรียบง่ายแต่กระทบใจ "คนไทยไร้สิทธิ"
ท่วงทำนองของดนตรีเพื่อคนไร้บ้านที่แต่งโดย สร้างสรรค์โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ศิลปากร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จรูญวิทย์ พัวพันวัฒนะ หรือ "บิว เดอะวอยซ์" กระตุ้นเตือน "เพื่อสิทธิ เพื่อเข้มข้นไปกว่านั้นคือเสวนาหัวข้อสังคมให้ฉุกคิดโดยเจ้าตัวระบุว่า คนเมืองหลายกลุ่มจัดคนไร้บ้านอยู่ขอบโลก ทั้งที่พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มีหัวใจ ชีวิต คนไร้บ้าน" ซึ่งขนวิทยากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้มาออกความเห็นหลากมุมมอง
ไม่ใช่แค่ออกรส แต่สะท้อนปัญหาและความพยายามในการหาทางแก้ไขซึ่งยังต้องขบคิดต่อ เป็นคนไทย ทำไมไร้สิทธิ? ชวดบัตรคนจน ต้องทนกินแต่'พารา'
เปิดประเด็นที่ สุชิน เอี่ยมอิน หรือ "ลุงดำ" นายกสมาคมคนไร้บ้าน ซึ่งขึ้นเวทีมาบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองว่าอยู่ในสถานะคนไร้บ้านตั้งแต่ปี 2544 กินอยู่หลับนอนย่านสนามหลวง สมัยก่อนไม่มีเรื่องสิทธิ จึงเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล ปัจจุบันผ่านไปแล้ว 16 ปี ก็ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะคนไร้บ้านที่ไม่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลัก เนื่องจากเหตุผลต่างๆ เช่น ไม่ได้มีการแจ้งเกิดตามกฎหมาย จึงไม่สามารถใช้สิทธิต่างๆ จากภาครัฐได้
"คนไร้บ้านที่ไม่มีเลข 13 หลัก พ่อแม่ไม่ได้แจ้งเกิด จะเอาหมอตำแยเป็นพยาน ก็ตายแล้ว โครงการต่างๆ ของรัฐ อย่างบัตรประชารัฐ ก็ไม่ได้รับ ได้แต่รำพึงในใจ ปลงสังเวชตัวเองว่าเป็นกรรมหรือไม่ รถไฟ รถเมล์ฟรีไม่มีแล้วยิ่งหนัก คนไร้บ้านเข้าไม่ถึงปัจจัย 4 ช่วงหน้าฝนเข้าสู่หน้าหนาวเป็นช่วงที่ลำบากที่สุดในการใช้ชีวิตข้างนอก ร่างกายแย่ หลายคนนอนตาย เวลาไม่สบายอย่างมากก็ได้ยาพาราฯ 6-8 เม็ด ทุกโรคกินพาราฯ หมด ผมมีโรคประจำตัว คือโรคคนแก่ ข้อเข่าเสื่อม ต้องใช้ไม้เท้า นอกจากนี้สิทธิการอยู่ในเมือง เราก็ไม่เคยได้รับ มีแต่ไล่ออกจากเมือง ทั้งที่เป็นคนไทย ทำไมไม่มีสิทธิ คนสร้างตึกสูงๆ ในกรุงเทพฯ ก็เป็นคนจนทั้งนั้น พอเมืองสวยแล้ว กลับไล่ออกจากเมือง อยากให้มีการจัดที่ดินให้คนไร้บ้านบ้าง"ลุงดำเปิดใจ
นันทชาติ หนูศรีแก้ว มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เสริมว่า ตนทำงานกับคนไร้บ้านเชียงใหม่ ในขณะหลายคนอยากใส่เสื้อกันหนาวเที่ยวเชียงใหม่ แต่คนอีกกลุ่มกำลังนอนหนาว คนไร้บ้านจำนวนมากป่วยจากสภาพอากาศ เช่น ความหนาวเย็นและการต้องตากฝน หากคุยเรื่องสิทธิ คนทั่วไปเมื่อไม่สบายสามารถไปพบแพทย์โดยใช้บัตรทอง หรือประกันสังคม ส่วนข้าราชการก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ แต่คนไร้บ้านที่ไม่ได้รับสิทธิเหล่านี้ อย่างกลุ่มที่ไม่มีบัตรประชาชน เพราะเร่ร่อนตั้งแต่เด็ก ก็ไม่ได้รับสิทธิ
"ชีวิตคนไร้บ้านซับซ้อน บางคนติดเหล้า เจ็บป่วยเรื้อรัง บางคนกำพร้า รัฐพาไปสถานสงเคราะห์ แต่หนีออกมาเร่ร่อนก่อนอายุ 15 ก็ไม่มีบัตรประชนชนเลยสืบยาก ใช้ชีวิตอยู่สนามหลวง ไม่รู้รากเหง้า น่าจะมีกลไกบางอย่างที่ทำให้คนเหล่านี้เข้าถึงสิทธิได้ ผมเคยพาคนไร้บ้านไปโรงพยาบาลพบว่าทางโรงพยาบาลไม่มีปัญหา ไม่ปฏิเสธคนไข้ แต่ถ้าเขาไม่มีสิทธิการรักษา ก็ใช้สิทธิอะไรไม่ได้ กลายเป็นไม่กล้าไปพบแพทย์ เมื่อบัตรทองไม่มี จ่ายเองก็ไม่มีตังค์ ประกันสังคมไม่ต้องพูดถึง เพราะไม่ได้ทำงานประจำ"
'คนไร้บ้านชั่วคราว'ปัญหาอนาคตอันใกล้หวังระบบใหม่ ไม่ยึดติดเอกสาร
ถึงคิว นายแพทย์รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งมาเปิดประเด็นชวนขบคิดว่า ในอนาคตคนไร้บ้านจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เพราะคนสูงอายุที่เดินหลงออกจากบ้าน ถือว่าเป็น "คนไร้บ้านชั่วคราว" ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองคือใคร จะใช้สิทธิอะไรในการรักษาพยาบาล อุปสรรคใหญ่คือการลงทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพ ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก คุณหมอจึงมองว่าน่าจะมีระบบใหม่ที่ทำให้หลุดจากความเชื่อเก่าที่ยึดติดกับเอกสาร เช่น การตรวจดีเอ็นเอ ลายนิ้วมือ หรือสแกนม่านตา
"อนาคตต้องเจอแน่คือคนสูงอายุที่เดินหลงจากบ้าน เช่น พ่อเพื่อนผมคนหนึ่ง เป็นอดีตข้าราชการผู้ใหญ่ หายตัวจากบ้าน สุดท้ายเจอในสภาพชายไม่ทราบชื่อ เป็นคนไร้บ้านชั่วคราว วันนี้ถ้าเรามีอาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิต เราจะมีสภาพเดียวกัน ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองคือใคร ไม่รู้จะแสดงตัวตนว่าจะใช้สิทธิอะไร ตรงนี้รัฐก็พยายามดูแล แต่อาจไม่เพียงพอ สปสช.เองอาจเป็นน้องใหม่สำหรับวงการ เราทำเรื่องระบบหลักประกัน ซึ่งในมาตรา 5 บอกว่าบุคคลจะใช้สิทธิ ต้องมีการลงทะเบียนซึ่งต้องมีเลขสิบสามหลัก นี่คืออุปสรรคใหญ่
ยุคหนึ่งพยายามบอกว่า คนทุกคนในแผ่นดินใด ต้องได้รับการคุ้มครองสุขภาพเท่าเทียม ทั้งหมดครอบคลุมไปแล้วเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ยังมีที่เหลือคือกลุ่มที่ถูกทอดทิ้งในซอกหลืบ กระบวนการเก็บข้อมูลตั้งแต่แต่เกิดเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตามน่าจะมีระบบใหม่ที่จะทำให้หลุดจากความเชื่อเก่าที่ยึดเฉพาะเอกสาร เช่น ตรวจดีเอ็นเอ อาจใช้ลายนิ้วมือ และสแกนม่านตา ตัวอย่างในประเทศจีนคือใช้โปรแกรมการจดจำใบหน้า ทำให้สามารถระบุตัวตนได้" นายแพทย์รัฐพลกล่าว พร้อมปิดท้ายว่า ปัญหาเหล่านี้ต้องตั้งต้นด้วยความเชื่อของสังคมว่าคนเหล่านี้มีคุณค่า และคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้
สกปรก ขี้เกียจ ไม่ทำงาน ภาพจำ'คนไร้บ้าน'ที่ความสงสารยังไม่พอ
มาถึงประเด็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพติดตาและฝังลึกในความรู้สึกของผู้คนเมื่อนึกถึงคนไร้บ้าน คือคนเร่ร่อน เนื้อตัวมอมแมม ไม่ทำงาน ทว่าแท้จริงแล้ว ไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป เพราะส่วนใหญ่คนเหล่านี้มีงานทำ แต่รายได้ไม่แน่นอน และไม่มากพอ การอาบน้ำตามที่สาธารณะก็ผิดกฎหมาย หากใช้ห้องสุขาสาธารณะ ก็ต้องเสียเงิน นี่คือที่มาของรอยเปื้อนที่มักไม่ถูกชะล้าง นอกจากนี้บางส่วนเมื่อจะ "กลับบ้าน" ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
สิทธิพล ชูประจง มูลนิธิกระจกเงา เล่าว่า เคยมีกรณีที่นำคนไร้บ้านซึ่งมีปัญหาติดเหล้าส่งกลับบ้าน ปรากฏว่าแม้แต่บ้านตัวเองยังบอกว่า "ผีบ้ามาอีกแล้ว" ครอบครัวไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร
"อยากผลักดันให้สาธารณะเข้าใจในประเด็นอื่นๆ ในความเป็นคนไร้บ้าน ว่าทำไมเหมือนคนขี้เกียจ สกปรก เหมือนคนยอมพ่ายแพ้ เราพยายามโยนประเด็นพวกนี้ขึ้นไป แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ควรมีการเติมเต็มเรื่องคุณภาพชีวิต อย่ารู้จักคนไร้บ้านแค่ความน่าสงสาร ปัญหาหนึ่งที่พบคือระบบรัฐหลายส่วนมีการเปลี่ยนนโยบายไปมา คนไร้บ้านหลายรายไม่ไปโรงพยาบาล แปลว่ามองไม่เห็นความหวังในระบบที่จะแก้ปัญหาของเขา บางคนสุดท้ายก็เสียชีวิต ผมมองเห็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ตนเห็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มันเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างติดขัดในเชิงหลักการที่ไม่สามารถทำงานได้เลย" สิทธิพลกล่าว และบอกอีกว่ายังไม่เห็นท่าที หรือโครงสร้างที่จะทำให้ชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเข้มแข็ง เติบโต เอื้ออำนวย
'บอลลูนโมเดล'โดย สสส.ส่ง'คนไร้บ้าน'คืนสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี
ปิดท้ายด้วยไอเดียจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กล่าวว่า สสส.มียุทธศาสตร์ "บอลลูนโมเดล" ซึ่ง สสส.จะอยู่ตรงกลางเพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานที่รับผิดชอบ มุ่งเน้นในสิ่งที่เป็นพื้นฐานและความจำเป็นเร่งด่วนก่อน จากนั้นจึงดูแลคนไร้บ้านในการกลับเข้าสู่สังคมอย่างมีศักดิ์ศรี
"เราออกยุทธศาสตร์บอลลูนโมเดลซึ่งมีทั้งลมที่เข้าสู่บอลลูนและลมฝั่งขาออก โดย สสส.อยู่ตรงกลางบอลลูน สำหรับฝั่งขาเข้า ตอนนี้กำลังทำเรื่องสุขภาวะคนจนเมือง จึงพบว่าก่อนที่คนเหล่านี้จะเป็นคนไร้บ้าน ได้เกิดเหตุการณ์บางอย่างในชีวิตกระแทกเข้ามา หากไม่มีภูมิคุ้มกันมากพอ 1-2 ครั้งก็ล้ม เช่น บางคนเป็นแรงงาน ประสบอุบัติเหตุ ทำงานไม่ได้ เงินเก็บไม่มี หรือมีก็ใช้ได้แค่ช่วงหนึ่งของการรักษาตัวเท่านั้น ซึ่ง สปสช.ช่วยได้มากในระดับหนึ่ง แต่เวลาพูดถึงความเจ็บป่วย มันนอกเหนือจากทางการแพทย์ พออยู่บ้านต้องมีคนดูแล
ในขณะเดียวกัน มีอีกภาคส่วนหนึ่งทำขาออก ถ้าไม่ทำ บอลลูนจะแตก เพราะไม่มีทางที่จะรับได้แบบไม่จำกัด โดยเชื่อมต่อทำงานกับหน่วยงานด้านที่อยู่อาศัย คนไร้บ้านที่มีความพร้อมก็จะหลุดจากบอลลูนไปอยู่อีกสถานะหนึ่ง เขาอาจจะยังไม่ได้กลับสู่ครอบครัว 100 เปอร์เซ็นต์ หรืออยู่อย่างอิสระได้ด้วยตัวเอง แต่จะเข้าสู่อีกระดับหนึ่งของชุมชน อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นชุมชนพึ่งพาตัวเองในกลุ่มของคนที่เมื่อก่อนเป็นคนไร้บ้าน
เราทำงานคนเดียวไม่ไหว ต้องเชื่อมหน่วยงานที่รับผิดชอบ และโฟกัสที่นโยบายสุขภาพ สุขภาวะพื้นฐาน หมายความว่าตรงกลาง อะไรที่เป็นพื้นฐานต้องเข้าถึงก่อน สสส.อยากช่วยเหลือในส่วนที่เป็นภาวะเร่งด่วน หลังจากนั้นจึงเขยิบไปดูแลเพื่อส่งกลับสู่สังคมอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ใช่ระบบสงเคราะห์" ดร.ประกาศิตกล่าวนี่คือความพยายามของหน่วยงานต่างๆ ที่จะสร้างความเข้าใจอันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และคืนความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียม