เผยโพล เด็กกรุงฯชอบการอ่าน

         ผลสำรวจ สสส.ชี้  “เด็กกรุงฯ เกือบ 3 ใน 4 ชอบอ่านหนังสือ และมีพ่อแม่ เป็นแรงบันดาลใจในการอ่าน”  สสส. ชวนพ่อแม่ปลูกฝังลูกประถมฯ รักการอ่านต่อเนื่อง ถวายเข้าฟ้านักอ่าน เนื่องในวันหนังสือเด็กแห่งชาติเพราะผลสำรวจชี้ชัดลูกยังมีพ่อแม่เป็นต้นแบบ

/data/content/23666/cms/dhjnpqv15679.jpg

         เนื่องใน วันหนังสือเด็กนานาชาติ ซึ่งตรงกับวันที่  2 เมษายน ของทุกปี และสำหรับประเทศไทย ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงส่งเสริมการอ่าน รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติและวันรักการอ่าน  ในปี 2557 นี้ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ร่วมกับ  เครือข่ายเสียงประชาชน (WE VOICE) ได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กชาวกรุงเทพและปริมณฑลที่มีอายุระหว่าง 6-13 ปี  ในเขตกรุงเทพฯ และป ริมณฑล  ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2557  จำนวนทั้งสิ้น 1,124 คน พบว่า

        เด็กในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ชอบอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนถึงร้อยละ 72.8  ในจำนวนนี้ระบุเหตุผลที่ชอบอ่านหนังสือเพราะมีหนังสือที่ชอบมากที่สุด (ร้อยละ 57.1)  รองลงมา ระบุว่า ชอบอ่านหนังสือเอง (ร้อยละ18.8)  และชอบอ่านหนังสือเพราะมีบุคคลต้นแบบ (ร้อยละ 16.1) ตามลำดับ

       นอกจากนี้ยังสอบถามเด็กที่ระบุว่าชอบอ่านหนังสือเพราะมีหนังสือที่ชอบ  โดยเด็กกว่าครึ่งได้ระบุว่าชอบอ่านหนังสือการ์ตูนมากที่สุด  (ร้อยละ 53.4)  รองลงมาคือ หนังสือนิทาน (ร้อยละ 21.5) และหนังสือนิยาย/ซีรีย์ ดารา/บันเทิง ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 10.2 และร้อยละ 10.0)

       สำหรับบุคคลต้นแบบที่เด็กระบุว่าเป็นต้นแบบ  ทำให้ตนเองชอบอ่านหนังสือนั้น คือ พ่อแม่  (ร้อยละ 44.0)  รองลงมา คือ เพื่อน (ร้อยละ 23.2)  และครู (ร้อยละ 15.2)

       ส่วนเหตุผลที่ระบุว่าชอบอ่านหนังสือเพราะมีสถานที่อำนวยความสะดวก  พบว่า ร้อยละ 31.7 เท่ากัน เป็นเพราะมีห้องสมุดในโรงเรียน/ใกล้ชุมชน  และที่มีบ้านมีหนังสือเยอะ

       ขณะที่มีเด็กร้อยละ 27.2  ที่ระบุว่าไม่ชอบอ่านหนังสือ  โดยให้เหตุผลที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ เพราะมีอย่างอื่นที่น่าสนใจกว่าให้ทำ (ร้อยละ 31.8)   รองลงมาคือ ไม่มีหนังสือที่น่าสนใจ  (ร้อยละ 28.4) และอ่านหนังสือไม่ออก (ร้อยละ 16.9)

        ในกรณีที่พูดถึงการอ่านทั้งหมด ทั้งที่เป็นหนังสือทั่วไปและหนังสือเรียนด้วย

         แหล่งของการอ่านคืออ่านหนังสือจากไหน พบว่า  เด็กส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.1 ระบุว่าอ่านหนังสือการ์ตูนมากที่สุด  รองลงมาคือ อ่านหนังสือจากสื่อคอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต  (ร้อยละ 17.1) และอ่านหนังสือจากนิตยสารหรือพ็อกเก็ตบุค  (ร้อยละ 12.1)

        สำหรับสถานที่ในการอ่านหนังสือของเด็ก ส่วนใหญ่ร้อยละ 56 ระบุว่า จะอ่านหนังสือที่บ้าน (ร้อยละ 56.0)  รองลงมา คือ ห้องสมุดของโรงเรียน (ร้อยละ 29.0)  และห้องสมุดชุมชน (ร้อยละ 11.2)

        เมื่อสอบถามถึงระยะเวลาในการอ่าน พบว่า  เด็กอ่านหนังสือน้อยกว่า 1 ชั่วโมงมากที่สุด (ร้อยละละ 44.6)  รองลงมา คือ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 40.7)  และ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 12.3)

       ทั้งนี้นาง สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้กล่าวเชิญชวนพ่อแม่ร่วมเทิดพระเกียรติ “เจ้าฟ้านักอ่าน” ร่วมกันว่า “เด็กช่วงวัยประถมศึกษา 6-12 ปี เป็นวัยเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา วัยนี้จะมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา พร้อมจะออกไปสู่สังคมที่ออกไปปกป้องเขาน้อยลง เด็กต้องช่วยตัวเองมากขึ้น การอ่านจึงเป็นเครื่องมือส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ ผลสำรวจที่พบในครั้งนี้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการที่ คุณพ่อคุณแม่ยังคงมีบทบาทสูงในการเป็นต้นแบบและชี้แนะให้กับลูกได้”

 

 

        ที่่มา : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ