เปิดเวทีสมัชชาแรงงานนอกระบบ
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต-เศรษฐกิจ-สังคม
พญ.มาลินี สุขเวชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการแถลงข่าว เรื่อง “เวทีสมัชชาแรงงานนอกระบบ” โดยมี ดร.
พญ.มาลินี กล่าวถึงสถานการณ์แรงงานนอกระบบในกทม.ว่า แรงงานนอกระบบถือเป็นกลุ่มคนขนาดใหญ่ของสังคมไทยที่มีส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2551 พบว่าแรงงานนอกระบบ มีจำนวนถึง 24.1 ล้านคน ขณะที่แรงงานในระบบ มีจำนวน 13.7 ล้านคน จากผลการสำรวจแรงงานนอกระบบในกทม. ปี 2552 ที่มีจำนวน 1,300,000 คน ประกอบอาชีพรับงานไปทำที่บ้าน รับจ้าง แม่ค้าหาบแร่แผงลอย ขับรถรับจ้าง และแท็กซี่ ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 14,000 บาท และในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลให้รายได้ลดลงถึง 84% หรือประมาณเดือนละ 3,000 – 5,000 บาท โดยมีสาเหตุจากยอดขายสินค้าลดลง 60% จำนวนงานที่เคยทำลดลง 31% และต้องเปลี่ยนอาชีพใหม่ 3%
ทั้งนี้ ปัญหาที่แรงงานนอกระบบประสบอยู่มากที่สุดคือ รายได้ไม่แน่นอน ไม่มีงานทำอย่างต่อเนื่อง ตามด้วยปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสิทธิสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ กทม.ได้เตรียมดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานนอกระบบอย่างเร่งด่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบให้ได้มาตรฐาน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ
และเนื่องจากวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงานแห่งชาติ กทม.จึงร่วมกับ สสส. จัดงานมหกรรมสมัชชาแรงงานนอกระบบขึ้นในวันที่ 30 เม.ย.52 เวลา 09.30 – 18.00 น. ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม.โดยมีนาย
ดร.สุปรีดา กล่าวว่า จากการศึกษาปัญหาสุขภาพเชิงลึกในกลุ่มแรงงานนอกระบบ พบปัญหา 10 อันดับแรกที่แรงงานนอกระบบต้องเผชิญ ประกอบด้วย 1. ค่าตอบแทนน้อย 2. ความเมื่อยจากอิริยาบถในการทำงาน 3. ได้รับสารเคมีเป็นพิษ 4. งานไม่ต่อเนื่อง 5. งานหนัก 6. ฝุ่น ควัน กลิ่น 7. แสงสว่างไม่เพียงพอ 8. เครื่องจักร เครื่องมือที่เป็นอันตราย 9. ที่ทำงานไม่สะอาด และ 10. ได้รับอันตรายต่อระบบหู/ตา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสัมผัสสารเคมีอันตรายโดยขาดเครื่องป้องกัน และปัญหาสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมทั้งการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานของตนเอง
สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายจากการศึกษากลุ่มแรงงานนอกระบบในกทม. ประกอบด้วย 1. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานและรายได้ที่มั่นคงแก่แรงงานในชุมชน เช่น ผลิตเสื้อผ้านักเรียน ชุดพนักงาน ซึ่งเป็นการผลิตที่มีความต้องการต่อเนื่อง 2. ส่งเสริมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานผ่านศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน 3. สนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการในรูปแบบกองทุนอาชีพ 4. จัดบริการอาชีวอนามัยทั้งเชิงรุกและเชิงรับในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่ 5. มีองค์กรรับผิดชอบที่ชัดเจน
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาสุขภาพเชิงลึกของกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบที่สำคัญ เช่น กลุ่มเกษตรกร ช่างเสริมสวย ผู้ผลิตตุ๊กตา พบโรคสำคัญอันดับ 1 คือ ความดันโลหิตสูง ขณะที่ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ โรคอันดับ 1 ที่ต้องเผชิญ คือ ปวดเกร็งกล้ามเนื้อจากการทำงาน และความเครียด ซึ่งวิธีการรักษาพยาบาลของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ 64% หรือ 2.3 ล้านคน ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุเล็กน้อยและไม่ได้รับการรักษา และอีก 26% หรือ 9.6 แสนคน ซื้อยาจากร้านขายยาและไปรักษาต่อเองที่บ้าน
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
update 28-04-52