เปลี่ยนค่านิยม คุมโฆษณา ลดนักดื่มหน้าใหม่

         /data/content/26836/cms/e_aceghrz14689.jpg

          ปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังคงมีอย่าง ต่อเนื่อง แม้ว่าจำนวนผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศจะมีแนวโน้ม ลดลง แต่ในกลุ่มที่ยังไม่หยุดดื่ม ผู้ดื่มมีแนวโน้มจะเป็นผู้ดื่มประจำสูงขึ้น และเยาวชนกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่ เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในเวลานี้คือ ทำอย่างไร นักดื่ม หน้าใหม่จึงจะไม่มีเพิ่มขึ้น

         /data/content/26836/cms/e_abklrtyz3678.jpg  นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง สาธารณสุข กล่าวไว้เมื่อไม่นานมานี้ ในเวทีประชุมวิชาการสุรา ระดับชาติ ครั้งที่ 8 ทศวรรษแห่งการเรียนรู้และการขับเคลื่อน นโยบายเพื่อลดปัญหาแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ที่จัดโดย ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า เมื่อมีการโฆษณาที่สอดแทรก ผ่านกิจกรรมสื่อต่างๆ ทำให้สังคมอาจเข้าใจผิดว่า การดื่มสุรา เป็นเรื่องธรรมดา โดยมีผลศึกษาจากประเทศที่มีการควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบสิ้นเชิง พบว่า สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ถึงร้อยละ 23 และยิ่งควบคุมมากเท่าไร การดื่มและผลกระทบจะลงลดอย่างเห็นได้ชัด

          ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข กำลังดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงฉลากบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยกำหนดให้ ผู้ผลิตสุรา ต้องพิมพ์ภาพและคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ กล่าวคือไม่สนับสนุนให้มีการทำผิดกฎหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม         

/data/content/26836/cms/e_beghjmopt346.jpg

ด้าน ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า คนไทย มีความเชื่อว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่อยู่กับคนไทย มายาวนาน ความก้าวหน้าด้านธุรกิจการตลาดที่เป็นตัวแปร สำคัญทำให้ค่านิยมของคนไทยเปลี่ยนไป การทำโฆษณาจะมุ่ง กลุ่มเป้าหมายไปที่เยาวชนเป็นหลัก เพราะเยาวชนเป็นกลุ่ม ที่อ่อนไหวต่อสื่อ มีความอยากลอง โดยมีการศึกษาพบว่า เยาวชนที่ไม่เคยดื่มอยากลองดื่มเมื่อได้เห็นโฆษณาโทรทัศน์ ถึงร้อยละ 92.3 จากสื่อโฆษณาอื่นๆ นอกจากนี้ ร้อยละ 40 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจที่มีประสบการณ์ดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยอมรับว่า ได้กระทำความผิดภายใน 5 ชั่วโมงหลังดื่ม ปัจจุบันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่ม เยาวชนอายุ 15-24 ปี มีสูงถึง 2.5 ล้านคน นอกจากนี้ 1 ใน 3 หรือ ร้อยละ 38.7 กลายเป็นนักดื่มประจำ

          “การป้องกันกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเด็กและเยาวชน เป็นหนึ่งงานที่ สสส. ให้ความสำคัญ โดยมาตรการควบคุมการโฆษณา การขึ้นภาษี การไม่ขายเหล้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ถือเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชน หากทุกฝ่ายช่วยสนับสนุนแนวทางนี้ ทั้งเสนอและมีการบังคับใช้ กฎหมายที่เข้มข้น ประชาชนเชื่อและปฏิบัติตาม มั่นใจ ได้ว่าอีกไม่นานจะสามารถลดนักดื่มหน้าใหม่ลงได้ด้วย”ดร.นพ.บัณฑิต กล่าว

/data/content/26836/cms/e_cdefhikloy26.jpg          สำหรับภาพรวมของนักดื่มหน้าใหม่ในปัจจุบัน ดร.นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบาย สร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) ให้ความเห็นถึวสถานการณ์ดังกล่าวว่า การดื่มสุราของเยาวชนไทยยังน่าเป็นห่วง ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นที่นิยมของเยาวชน โดยเฉพาะผลจากการ ทำการตลาดที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมายของอุตสาหกรรมสุรา เช่น การทำ CSR งานกิจกรรมดนตรี กีฬา เครือข่ายสังคมออนไลน์ และสื่อใหม่ๆ ที่เข้าถึงตัวเยาวชนได้ดี จนเกิดเป็นบรรทัดฐานและค่านิยมผิดๆ ในกลุ่มเยาวชน

          “การทำการตลาดมีผลต่อเยาวชนชัดเจน โดยมีงานวิจัยหลายงานยืนยันว่าเด็กไทยที่มีสินค้าตราสัญลักษณ์ของบริษัทแอลกอฮอล์ในครอบครอง หรือพบเห็นบ่อยๆ จะเสี่ยงต่อการดื่มสุรามากกว่าเด็กที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าดังกล่าวมากขึ้น ร้อยละ 60 และเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมที่อุตสาหกรรมสุราสนับสนุน จะมีทัศนคติเชิงบวกทั้งต่อการดื่ม รวมทั้งมีโอกาสดื่มมากกว่าเด็กทั่วไป ร้อยละ 80” ดร.นพ.ทักษพล กล่าวทิ้งท้าย

          จากข้อมูลและแนวคิดของผู้คลุกคลีอยู่กับสถานการณ์ การดื่มสุราของสังคมไทยดังกล่าว ทำให้เห็นได้ชัดว่า การชี้แนะให้ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำได้รับรู้ถึงโทษอันเกิดจากการดื่มสุรา มีผลทำให้นักดื่มเหล่านั้น ลดน้อยลงเพราะความห่วงใยต่อสุขภาพของตนเอง และคนในครอบครัว แต่ในเวลาเดียวกัน นักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัย หัวเลี้ยวหัวต่อที่ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ยังหลงทาง และไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อโทษ ของการดื่มสุราที่มีมากกว่าคุณประโยชน์

           การปรับเปลี่ยน ค่านิยมในตัวของเยาวชนเหล่านี้ที่มีต่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรณรงค์ เพื่อลดปริมาณการดื่มสุราของเยาวชนในชาติให้น้อยลง ที่ภาครัฐควรจับตามองให้เป็นพิเศษ

 

          ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code