เทคนิคการเตือนลูกวัยรุ่น
ที่มา : หนังสือเคล็ดลับเข้าถึงใจวัยรุ่น โดยสำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
แฟ้มภาพ
ก่อนเตือน
สังเกตอารมณ์ของตัวเองและลูก
ขณะเตือน
– สื่อความรู้สึกปัจจุบันของตนต่อพฤติกรรมณ ขณะนั้นของลูก -ให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการให้ลูกเปลี่ยนหลายๆ ทางเลือกโดยอย่าให้เสียประโยชน์ของผู้ถูกเตือนมากนัก
หลังเตือน
– รับฟังและยอมรับทางเลือกของลูก และให้ความมั่นใจแก่การตัดสินใจปฏิบัติของลูก
– ติดตามดูแลอยู่ห่างๆ ว่าลูกปฏิบัติตามข้อตกลงหรือไม่และคอยเตือนเป็นครั้งคราว
– ชมเชยเมื่อลูกปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมหลังการเตือน
ข้อคิดก่อนเตือน
– พึงตระหนักเสมอว่าพ่อแม่ลูกเป็นพวกเดียวกัน ครอบครัวควรมีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกันที่เรียกว่า กฎของครอบครัว เช่น ห้ามทำพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายหรือศีลธรรม เป็นต้น
ข้อคิดขณะเตือน
– อย่าด่วนสรุปว่าการกระทำของลูกนั้นชั่วหรือเลว
– ห้ามตำหนิหรือประจาน ควรเตือนด้วยปิยวาจาที่มีลักษณะดังนี้ เช่น พูดจากใจจริงกล้ายอมรับความจริง ใช้ถ้อยคำอ่อนหวานน่าฟังและเกิดประโยชน์ต่อผู้ฟัง ใช้คำพูดที่ถูกกาลเทศะและความเมตตา
ข้อคิดหลังเตือน
ให้โอกาสลูกตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติเอง
เทคนิคเหล่านี้จะใช้ไม่ได้ผลเมื่อ
1. พ่อแม่ไม่รู้วิธีจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง
2. พ่อแม่มักแสดงอำนาจจนชิน เช่น ข่มขู่ ตำหนิ ใช้เสียงดัง เป็นต้น
3. พ่อแม่ที่ต้องการเอาชนะลูก ทำให้ไม่ยอมรับความผิด
4. พ่อแม่ที่ไม่ยืดหยุ่น
5. พ่อแม่ที่ยอมลูก กลัวลูกไม่รัก
6. พ่อแม่ที่ไม่เคยตั้งกฎเกณฑ์กับลูก ไม่มีระเบียบวินัย ตามใจลูก
เมื่อเกิดการสื่อสารที่ดีได้แล้ว ก็ควรหาโอกาสสอนวิธีรับมือกับอารมณ์ของตัวเองให้ลูกได้เรียนรู้และฝึกพัฒนาตนเอง เพราะจะเป็นการช่วยให้วัยรุ่นมีพัฒนาการทางจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะการจัดการอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ไม่ดีจะมีผลลบต่อการพัฒนาอัตลักษณ์และความรู้สึกดีต่อตนเอง