เตรียมรับมือ เมื่อร่างกายเกิดความเสื่อมจากวัย

ที่มา : SOOK Magazine No.72


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


เตรียมรับมือ เมื่อร่างกายเกิดความเสื่อมจากวัย thaihealth


เป็นเรื่องปกติที่เซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมีการเสื่อมไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในปัจจุบันพบว่า ผู้คนวัยหนุ่มสาวจำนวนมากกลับมีการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมากกว่าคนในวัยเดียวกัน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลากหลาย ทั้งการกินอาหารไม่มีประโยชน์ การพักผ่อน ไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม มีภาวะความเครียด อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ ขาดสมดุลในการใช้ชีวิต ฯลฯ


เตรียมรับมือ เมื่อร่างกายเกิดความเสื่อมจากวัย


1. ดวงตา กลางคืนมองเห็นไม่ชัดเจน ตาแห้ง มีปัญหาสายตายาว สายตาเอียง


วิธีรับมือ พกน้ำตาเทียม อ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ในที่มีแสงสว่างเพียงพอ พบจักษุแพทย์สม่ำเสมอเพื่อดูแลการใช้งานของสายตา ลดการใช้สายตาหรือพักการใช้งานดวงตาทุก ๆ 15 นาที หากทำงานกับจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรศัพท์ มือถือ กะพริบตาบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา และลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเสื่อมเร็วขึ้น สวมแว่นกันแดดเสมอเมื่อต้องอยู่กลางแดด ไม่ขยี้ดวงตาบ่อย ๆ หากสวมคอนแทคเลนส์ควรดูแลเรื่อง ความสะอาดอย่างเคร่งครัด


2. ผิวหนัง มีปัญหาเรื่องความแห้งกร้าน ไม่มีความ ยืดหยุ่น เพราะการทำงานของอิลาสตินเสื่อม เกิดผื่นแพ้ได้ง่าย ไขมันใต้ผิวหนังลดลง การทำงานของต่อมเหงื่อลดลง ทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิได้ไม่ดีเพียงพอ จึงหนาวง่าย ร้อนง่าย เกิดรอยช้ำได้ง่าย


วิธีรับมือ ทามอยส์เจอไรเซอร์เติมความชุ่มชื้น ให้ผิวสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น ทาครีมกันแดดเป็นประจำ ระวังในการสัมผัสน้ำร้อนหรือภาชนะที่มีอุณหภูมิสูง


3. หู มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ทนอยู่ในที่มีเสียงดังมากไม่ได้


วิธีรับมือ ไม่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนจำนวนมาก ให้แพทย์ช่วยเอาขี้หูออกบ้าง ตรวจการใช้งานของหูและการได้ยินสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี งดสั่งน้ำมูกแรง ๆ หรือกลั้นจาม เพราะอาจทำให้เยื่อแก้วหูมีปัญหา งดแคะหูเอง เพราะขี้หูเป็นขี้ผึ้งรักษา ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ การแคะหูทำให้เกิดการอักเสบ และเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้


4. หัวใจและ หลอดเลือด มีไขมันเกาะ หัวใจทำงานหนักขึ้น


วิธีรับมือ ควรมีอุปกรณ์สำหรับวัดความดันไว้คอยตรวจเช็ค พักผ่อนให้เพียงพอ เลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เน้นผักผลไม้และวิตามินให้มากขึ้น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม


5. ระบบการเผาผลาญ อ้วนง่ายขึ้น การทำงานของไทรอยด์ผิดปกติ


วิธีรับมือ ตรวจการทำงานของไทรอยด์สม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมถูกวิธี


6. ระบบการขับถ่าย ปวดปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่อยู่ ท้องผูก ต่อมลูกหมากโต


วิธีรับมือ หากต้องเดินทางไกล ควรเตรียมตัวและวางแผนเรื่องการเข้าห้องน้ำให้ดี ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะทำให้ขับปัสสาวะบ่อย ฝึกขมิบเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหูรูดและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม


7. การหายใจ การขยายตัวของปอดลดลง ทำให้ออกซิเจนเข้าไปสู่ร่างกายได้น้อยลง ปอดติดเชื้อได้ง่าย เป็นหวัดง่าย สำลักได้ง่าย


วิธีรับมือ ออกกำลังกายที่ช่วยขยายปอด เช่น โยคะ เคี้ยวช้า ๆ เวลากินอาหาร


8. กระดูกและข้อต่อ ความสูงลดลง กระดูกพรุน ข้ออักเสบ กระดูกติดยากหากเกิดอุบัติเหตุ


วิธีรับมือ เคลื่อนไหวร่างกายให้ช้าลง ดูแลเรื่องสถานที่ห้องน้ำ และการขึ้นลงบันไดให้เหมาะสม ระวังเรื่องการลื่นหกล้มเป็นพิเศษ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่เน้นการลงน้ำหนักหรือทำให้เกิดการกระแทกบริเวณข้อต่อ


9. สมอง และระบบประสาท ความจำลดลง เพราะระดับออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงสมองน้อยลง ระยะเวลาของการนอนเปลี่ยนแปลงไป


วิธีรับมือ ฝึกความจำ เช่น คิดเลข คิดคำศัพท์ ลดการนอนกลางวัน เพื่อให้หลับได้ยาวนานขึ้นในเวลา กลางคืน ลดปริมาณคาเฟอีน

Shares:
QR Code :
QR Code