"เดอะ เรนโบว์ รัน" รักนี้เพื่อคนพิเศษ

ท่ามกลางสภาวะความวุ่นวายของสังคมที่มีแต่เรื่องความขัดแย้ง หรือปัญหารอบตัวเรา ถือเป็นเรื่องน่าชื่นใจที่คนสมัยนี้เริ่มกลับมาให้ความสนใจเรื่องจิตสาธารณะ ด้วยการสนับสนุนบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือไปช่วยกันคนละไม้ละมือในการทำสิ่งต่างๆ โดยไม่นึกถึงสิ่งตอบแทน เรื่องเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ทำให้เรายิ้มได้ และรู้แล้วว่าสุดท้ายคนไทยก็พร้อมจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่ทิ้งกัน


/data/content/25364/cms/e_dhiknowz6789.jpg


อย่างเช่นกิจกรรมดีๆ ที่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2557 ณ สวน ลุมพินี สำหรับ งาน "เดิน-วิ่งการกุศลเพื่อบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เดอะ เรนโบว์ รัน" ครั้งที่ 3 ประจำปี 2557 ที่เชิญชวนให้สังคมไทยมีความเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อบุคคลที่มีความต้องการพิเศษในสังคม จัดโดยกลุ่มนักวิ่ง Punky Runners มูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย และภาคีเครือข่าย


 


/data/content/25364/cms/e_aegilnty4579.jpg


นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษมีความแตกต่างที่ไม่ใช่หมายถึงการด้อยกว่าคนอื่น แต่เด็กที่มีความต้องการพิเศษอาจมีจุดเด่นบางอย่างที่เขาทำได้ดี และยังมีจุดอื่นที่พ่อแม่จะต้องช่วยเขาพัฒนาต่อไป เด็กเหล่านี้จึงต้องการความช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นด้านพัฒนาการ


นพ.อุดมศิลป์ย้ำว่า การสร้างความเข้าใจในเชิงบวกที่ถูกต้องในเรื่องของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นเรื่องสำคัญที่ทั่วโลก ต้องให้ความใส่ใจ เด็กเหล่านี้ไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่า "ความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และโอกาส"


"การจัดงานเดิน-วิ่งการกุศลครั้งนี้ เป็นการจุดประกายให้ทุกคนได้หันมาร่วมกันรณรงค์ให้ความสำคัญกับเด็ก พิเศษเหล่านี้ให้ได้เติบโตและใช้ชีวิตในสังคมปกติอย่างมีความสุขร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก" ที่ปรึกษา สสส.ระบุ


 /data/content/25364/cms/e_aeghijmnpuy2.jpg


นายณรงค์ เทียมเมฆ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย กล่าวว่า การเดิน-วิ่งครั้งนี้ไม่ได้เป็นการแข่งขัน แต่เป็นการวิ่งด้วยใจ ที่ไม่ได้อยู่ที่ความแตกต่างกันของคน เป็นการหลอมรวมความแตกต่างให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อแสดงให้สังคมรู้ว่าความพิเศษของเด็กเหล่านี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกัน และทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้หากมีความเข้าใจ


เรื่องของการดูแลเด็กที่มีความพิเศษจะต้องมีการผลักดันอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยองค์ความรู้ การสื่อสารรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ทางมูลนิธิได้ขับเคลื่อนมาโดยตลอด ร่วมด้วยกับพลังเชิงนโยบายที่ต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่หน่วยงาน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความตระหนัก มาช่วยดูแลและพัฒนาเด็กกลุ่มพิเศษมากขึ้น


โรสซาลีนา อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ประธานมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวว่า ทางมูลนิธิได้จัดตั้งเป็น "ศูนย์ความเข้าใจในด้านบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษ" ที่ไม่แสวงหากำไร เป็นกลุ่มพ่อแม่ ครอบครัว และเพื่อนของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษด้านพัฒนาการและพฤติกรรม รวมถึงดาวน์ซิน  โดรม, ออทิสซึม, แอสเพอร์เกอร์ส, พีดีดี เอ็นโอเอส, เซเรบรัล พัลซี, เอดีเอชดี และความท้าทายด้านพันธุกรรมอื่นๆ


/data/content/25364/cms/e_clnoswxz1238.jpg


/data/content/25364/cms/e_dlmpstvw1234.jpg


เราส่งเสริมความเข้าใจในด้านบวกผ่านการแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ ให้กำลังใจ และพลังเสริมแบบ "พ่อแม่สู่พ่อแม่" สนับสนุนการช่วยเหลือตนเอง เสริมความมั่นใจและความภาคภูมิใจในความแตกต่างเฉพาะบุคคล วัตถุประสงค์หลักคือ การเป็นแรงบันดาลใจเพื่อโอกาสที่ดีกว่า ผ่านการยอมรับของชุมชน


สำหรับการรณรงค์ในปีนี้เน้นในเรื่องของการเชิญชวนให้สังคมหันมาให้ความสำคัญกับคำพูดที่ให้เกียรติกับเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะคำว่า "ป.ญ.อ." (ปัญญาอ่อน) ซึ่งเป็นคำพูดที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์


โดยได้จัดทำเสื้อยืดประจำปีนี้ใช้คำรณรงค์ว่า คำพูดมีความสำคัญ พูดกันดีๆ (Words matter, Speak Kindly.) เพื่อสนับสนุนให้เลิกใช้คำพูดทำร้ายเด็ก ไม่เพียงแต่เด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้น รวมไปถึงการใช้คำพูดที่ดีกันในสังคม จะทำให้เกิดสังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งดีๆ ที่ทำให้ไม่ว่าจะแตกต่างอย่างไร ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขได้ ทั้งนี้ งานดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากถึง 6,000 คน


หวังว่ากิจกรรมดีๆ เช่นนี้จะดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง รณรงค์ให้คนไทยเข้าใจในฐานะที่พวกเขามีความเท่าเทียมกับพวกเรา


 


 


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Shares:
QR Code :
QR Code