เครือข่ายเมืองจันทบุรีสุดเจ๋ง โชว์โมเดลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


เครือข่ายเมืองจันทบุรีสุดเจ๋ง โชว์โมเดลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ thaihealth


แฟ้มภาพ


วิถีชีวิตในยุคปัจจุบันทำให้คุณแม่ยุคใหม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น และไม่เอื้อต่อการให้นมลูกด้วยตนเอง ประกอบกับการตลาดของนมผสมสมัยใหม่ ทำให้เข้าใจว่าสามารถทดแทนนมแม่ได้ จึงทำให้แม่ไทยให้นมแก่ลูกน้อยลง สอดคล้องกับผลสำรวจระหว่างปี พ.ศ.2558-2559 โดยองค์การยูนิ เซฟพบว่า แม่ไทยเลี้ยงลูกด้วนนมแม่ตลอด 6 เดือน เพียงร้อยละ 23.1 ถือว่าต่ำที่สุดในอาเซียน


เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประ เทศไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กร Alive & Thrive จึงลงพื้นที่เยี่ยมชมเครือข่ายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน จ.จันทบุรี ในโครงการ "นมแม่สัญจร" เพื่อติดตามการทำงานของเครือข่าย พร้อมและกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญของการให้นมแม่


เครือข่ายเมืองจันทบุรีสุดเจ๋ง โชว์โมเดลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ thaihealth


ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร เลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า พื้นที่ จ.จันทบุรีถือว่าสามารถแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ประสบความสำเร็จ โดยเริ่มต้นจากโรงพยาบาลประจำจังหวัด เทศบาล และชุมชน เป็นผู้ขับเคลื่อน โดยยึดหลักการสำคัญคือต้องให้นมแม่ล้วนๆ อย่างน้อย 6 เดือน และให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนถึง 2 ปี


สำหรับกำแพงหรืออุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Barrier) มีอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องเริ่มต้นตั้งแต่ตอนฝากครรภ์กับโรงพยาบาล คุณแม่จะต้องกินอาหารที่มีประโยชน์กับลูก ประกอบไปด้วย สารอาหารประเภทโฟเลต ไอโอดีน ธาตุเหล็ก จากนั้นเมื่อลูกคลอดออกมาเป็นทารก คุณหมอและพยาบาลจะต้องนำลูกมาวางบนอกแม่ตั้งแต่ในห้องคลอด โดยไม่ควรแยกแม่แยกลูกหลังคลอด จากนั้นเมื่อมีน้ำนมก็ควรให้ลูกดื่มไปจนถึง 6 เดือน จึงให้อาหารตามวัยผสมกับการให้นมลูก


"การลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้เราเห็นถึงความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ที่สามารถทำลายอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จ" เลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ กล่าว


เครือข่ายเมืองจันทบุรีสุดเจ๋ง โชว์โมเดลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ thaihealth


นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และอดีตประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สสส.เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา โดยการรวมตัวของแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ เพื่อทำเรื่องนมแม่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เนื่องจากการส่งเสริมให้ลูกกินนมแม่เป็นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพตรงที่สุด เพราะเป็นรากฐานของชีวิตและป้องกันโรคทำให้เด็กเติบโตมีคุณภาพ


ทั้งนี้ กว่า 30 ปีที่ผ่านมา เราผลักดันเรื่อง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (International Code of Marketing of Breast milk substitutes) ที่มีสาระสำคัญ "เน้นส่งเสริมให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองมากที่สุด และปกป้องไม่ให้แม่หรือครอบครัวถูกโน้มน้าวจากการโฆษณาส่งเสริมการตลาดจากนมผสม" ที่เข้ามาแย่งอัตราการเลี้ยงลูกในประเทศไทยให้ต่ำลง และต่ำที่สุดในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 และกำลังจะมีผลบังคับเป็นกฎหมาย


"ที่ผ่านมา สสส.และองค์กรที่เกี่ยวข้องมีบทบาททั้งทางตรงและทางอ้อมที่ช่วยผลักดันมาตลอด หลังจากนี้การทำงานในระดับพื้นที่จะง่ายขึ้น เนื่องจากมีกฎหมายออกมารองรับ ทำให้ทั้งโรงพยาบาล ชุมชน ฯลฯ สามารถส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนสำเร็จ" อดีตประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าว


เครือข่ายเมืองจันทบุรีสุดเจ๋ง โชว์โมเดลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ thaihealth


นายประยุทธ วาสนาวิน นายกเทศ มนตรีเทศบาลตำบลเกาะขวาง จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า นมแม่เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเกาะขวาง เมื่อเด็กโตขึ้นด้วยนมแม่แล้ว เราก็ส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ส่งเสริมสนามฟุตบอลและกีฬา สร้างกลุ่มอาชีพ สร้างโรงเรียนสูงอายุ และสนับสนุนการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยทำให้เป็นชุมชนงดเหล้าและบุหรี่ ส่งเสริมการออกกำลังกาย ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเข้มข้น ด้วยการสกัดกั้นเรื่องนมผงไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และได้ประกาศในเทศบัญญัติ ทำให้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของตำบลมีความเข้มแข็ง พร้อมทั้งจัดมหกรรมนมแม่ทุกปี และสนับสนุนการสร้างทีมแม่อาสาจนเข้มแข็ง โดยการฝึกอบรมและได้รับความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี ที่มีทีมพยาบาลแม่อาสาคอยช่วยเหลือตลอดเวลา โดยสอนตั้งแต่การใส่ใจแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์ ไปจนถึงคลอดและกลับบ้าน แม่อาสาตำบลเกาะขวางจะมีทักษะในการดูแลและติดตามช่วยเหลือแม่จนสามารถให้นมลูกได้สำเร็จ ทำให้มีแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน สำเร็จถึง 64%


เครือข่ายเมืองจันทบุรีสุดเจ๋ง โชว์โมเดลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ thaihealth


นางวาสนา งามการ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยสูตินรีเวช โรงพยาบาลพระปกเกล้า เล่าถึงกลยุทธ์ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แบบครบวงจรว่า โรงพยาบาลพระปกเกล้าได้นำบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จมาใช้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประกอบด้วย  ข้อ 1 ประกาศนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรที่สื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคน ข้อ 2 ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนให้มีทักษะนำไปช่วยเหลือแม่ได้ ข้อ 3 ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ทุกคนถึงประโยชน์และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อ 4 ช่วยแม่เริ่มให้ลูกดูดนมภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ข้อ 5 สอนให้แม่รู้วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และวิธีทำให้น้ำนมคงมีปริมาณพอเพียงแม้ว่าแม่ลูกต้องแยกจากกัน ข้อ 6 อย่าให้นมผสมน้ำหรืออาหารอื่นแก่เด็กแรกคลอดนอกจากนมแม่ เว้นแต่จะมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ข้อ 7 ให้แม่และลูกอยู่ในห้องเดียวกันตลอด 24 ชั่วโมง ข้อ 8 สนับสนุนให้ลูกได้ดื่มนมแม่ตามต้องการ ข้อ 9 ไม่ให้หัวนมหลอกและหัวนมปลอมแก่ทารก และข้อ 10 ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และส่งต่อแม่ให้รู้จักกลุ่มดังกล่าวเมื่อออกจากโรงพยาบาล


เครือข่ายเมืองจันทบุรีสุดเจ๋ง โชว์โมเดลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ thaihealth


"นอกจากบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าได้ประเมินตัวชี้วัดทุกตัว และยึดหลักอย่างหนักแน่นแล้ว เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมนมแม่ หรือแม่อาสาให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหานมแม่ ปัจจุบันใน จ.จันทบุรีมีชมรมนมแม่ทั้งหมด 15 ชมรม ที่ส่งเสริมและสนับสนุนพร้อมทั้งช่วยเหลือให้ลูกได้กินนมแม่ โดยปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้กลุ่มแม่อาสาเข้มแข็งคือ ข้อ 1 ให้ความรู้ชัดว่าทำไมวันนี้ต้องนมแม่ ข้อ 2 ฝึกทักษะแก้ไขปัญหาในชุมชนโดยการสอนให้เป็นทำให้ดู ข้อ 3 เสริมพลังและพัฒนาขีดความสามารถ ข้อ 4 เข้าถึงผู้นำท้องถิ่น เทศบาลทุกพื้นที่ แม้พยาบาลแกนนำไม่อยู่ ทีมแม่อาสาตำบลก็สามารถทำได้ ข้อ 5 โรงพยาบาลให้ความรู้และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ชมรมทุกปี และข้อ 6 สร้างขวัญกำลังใจแก่แม่อาสาทุกๆ คน" นางวาสนากล่าว


การร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาล กลุ่มแม่อาสา ชุมชน และคุณแม่ ที่ตั้งมั่นในการให้นมลูก โดยมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กเป็นเครื่องมือสำคัญ ก็เชื่อว่าเด็กและเยาวชนจะเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ เป็นแรงผลักสำคัญที่จะพัฒนาชาติไปสู่ประเทศไทยในยุค 4.0

Shares:
QR Code :
QR Code