เครือข่ายสร้างปัญญา พาหนังสือออกจากห้องสมุด

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ เครือข่ายสร้างปัญญา สร้างประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ด้านสุขภาวะแบบองค์รวมทั้ง 4 มิติ (กาย ใจ ปัญญา และสังคม)


เครือข่ายสร้างปัญญา พาหนังสือออกจากห้องสมุด thaihealth


แฟ้มภาพ


ที่ผ่านมา สสส.ได้ผลิตสื่อองค์ความรู้สุขภาวะหลากรูปแบบ อาทิ หนังสือ นิตยสาร วีซีดี มุ่งให้นำความรู้จากสื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสุขภาวะ ศูนย์เรียนรู้ฯ เล็งเห็นว่าการเผยแพร่สื่อองค์ความรู้ผ่านเครือข่ายห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการขยายองค์ความรู้ให้กว้างขึ้น จึงจัดกิจกรรม "เครือข่ายสร้างปัญญา" ในรูปแบบกระเป๋า Healthy Book อ่านเพื่อสุขภาพดี


สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. เล่าถึงการสร้างเครือข่ายสร้างปัญญาว่า ได้ผลิตสื่อบรรจุหนังสือดีในกระเป๋าเดินทาง ทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ ที่เรียกว่า Healthy Book มอบให้กับห้องเครือข่ายห้องสมุด จำนวน 30 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดสถานศึกษา โรงพยาบาล และแหล่งเรียนรู้สุขภาวะ


"6-7 ปีที่แล้วชุมชนเราติด 1 ใน 5 พื้นที่มีปัญหายาเสพติดในกรุงเทพฯ โดยส่วนตัวเราชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เล็ก ชอบเล่านิทานให้ลูกฟัง เราก็อยากดึงเด็กให้ออกมาจากวังวนยาเสพติด เริ่มต้นทำวิทยุชุมชน แต่ติดที่เด็กอ่านหนังสือไม่ออก ทำสคริปต์ไม่ได้ นั่นจึงเป็นที่มาของห้องสมุดมีชีวิต ใช้รถเข็นขนหนังสือไปให้เด็ก เด็กอยู่ที่ไหนรถไปถึงที่ทำมา 6-7 ปีเครือข่ายสร้างปัญญา พาหนังสือออกจากห้องสมุด thaihealthแล้ว "แม่อุ้ม" ปราณี รัตนาไกรศรี ประธานเครือข่ายเด็กและเยาวชนครอบครัวร่มเกล้า เล่าประสบการณ์การทำห้องสมุดเคลื่อนที่ปัจจุบันห้องสมุดเคลื่อนที่ในชุมชน เป็นที่รู้จัก ในนามห้องสมุดสีเหลือง คนในชุมชนมองว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย พ่อแม่พาลูกมาอยู่กับหนังสือแล้วไปทำงานได้อย่างสบายใจ ตอนนี้เด็ก ๆ จะตั้งตารอคอยรถสีเหลือง


แม้อุ้มเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายที่เข้ามารับ Healthy Book เช่นเดียวกับห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ใช้ไอเดียรูปแบบการจัดการห้องสมุดแบบใหม่ที่เรียกว่าเชิงรุกมากขึ้น


สุมิตรา สรรพกิจ บรรณารักษ์ ห้องสมุด เล่าว่าแรกเริ่มห้องสมุดของศูนย์เน้นการทำงานเพื่อนักวิจัยเป็นหลัก ขณะเดียวกันพื้นที่ตั้งอยู่ติดขอบกรุงเทพฯ คือตลิ่งชัน และติดกับถนนใหญ่ จึงนำหนังสือที่ไม่เน้นวิชาการมากนัก ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม นิยาย สุขภาพ การ์ตูนสำหรับเด็ก มาจัดเป็นห้องสมุดย่อยติดถนนเพื่อจูงใจให้คนย่านนั้นและคนสัญจรมาใช้ห้องสมุด เปิดรับสมาชิกห้องสมุดที่เป็นคนภายนอก


นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่ายที่อย่าง ม.มหิดล ม.รังสิต มศว มาทำโครงการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างห้องสมุด เพื่อให้มีหนังสือใหม่ ๆ สลับสับเปลี่ยนภายในห้องสมุดแต่ละแห่ง


"ต่อไปเราอยากแปลงงานวิจัยของศูนย์ มานุษยวิทยาเป็นการ์ตูน เพราะเราคำนึงถึงวัฒน ธรรมร่วมสมัย" บรรณารักษ์บอกถึงแนวคิดคนไทยอ่านหนังสือน้อยลง หน้าที่ของบรรณารักษ์ในปัจจุบันจึงไม่เพียงแต่ประจำในห้องสมุดเท่านั้น แต่ต้องทำตัวเป็นนักการตลาดดึงดูดให้คนมาอ่านหนังสือด้วย


พรวิเชียร แสนแก้ว บรรณารักษ์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ บอกว่าเมื่อมีหนังสือใหม่จะประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยด้วยการประชาสัมพันธ์ บนหน้าจอทีวีของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังอาศัยภาควิชาศิลปศาสตร์ ที่เรียนด้านเทคโนโลยีช่วยทำสื่อให้ นศ.มหาวิทยาลัยเข้ามาใช้บริการห้องสมุด


นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้อำนวยการศูนย์ เรียนรู้สุขภาวะ สสส . กล่าวว่าความต้องการของห้องสมุด นอกจากเครือข่ายสร้างปัญญา พาหนังสือออกจากห้องสมุด thaihealthหนังสือแล้วยังอยากได้องค์ความรู้ ศูนย์เรียนรู้ อยากเห็นสื่อดี ๆ เผยแพร่ไปในวงกว้าง จึงพยายามรวบรวมสื่อจากทุกสำนักเผยแพร่ออกไป แปลงออกมาเป็นนิทรรศการ โปสเตอร์ ขณะเดียวมีหนังสือที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ทำ หรือภาคีเครือข่ายทำอยู่แล้ว บางเล่มนำมาปรับปรุงใหม่ให้มีความสวยงาม เป็นการ์ตูน ซึ่งในกระเป๋าจะมีหนังสือที่เกี่ยวกับสุขภาพยืนพื้น และเปลี่ยนตามโอกาส


หนังสือช่วยสร้างคน คนช่วยสร้างชาติ มีงานวิจัยทั่วโลกชี้ชัดมาแล้วว่าหนังสือช่วยเสริมพัฒนาการสมองโดยเฉพาะ สมองวัย 1-5 ขวบต้องฝึกสมองให้รู้จักคิด หนังสือทำให้เด็กมีจินตนาการ…และจินตนาการที่ว่าคือทำให้สมองได้คิด มีผลเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ

Shares:
QR Code :
QR Code