“เกื้อกูล-เป็นสุข” ปัจจัยสู่ “มหาวิทยาลัยเสริมสุขภาพ จุฬาฯ

บ้านนี้มีสุข2 มหาวิทยาลัยเสริมสุขภาพ จุฬาฯ

ปัจจุบันคนไทยต้องเผชิญมลภาวะต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมากมาย ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันกระตุ้นให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพเพราะเมื่อทุกคนมีสุขภาพกายที่ดี มีร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วย ก็จะส่งผลให้การดำรงชีวิต และทำกิจกรรมต่างๆ มีความสุขมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัวและประเทศชาติด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จะมุ่งส่งเสริมสุขภาพของคนไทยให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ ผ่านทั้งทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน หรือสถาบันการศึกษา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่เข้าถึงประชาชนในหลายระดับ

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ พยายามจะเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพที่สมบูรณ์แบบให้ได้ภายใน 2 ปีนี้ โดยได้จัดทำยุทธศาสตร์ “เกื้อกูล” และ “เป็นสุข” มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาวะ เกิดการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัย และการมีสุขภาพที่ดี การสร้างความเข้มแข็งสุขภาพชุมชนโดยรอบ การสร้างจิตสำนึกและศักยภาพนิสิต การสร้างเสริมสุขภาพในการเรียนการสอนการฝึกอบรม และบุคลากร การดำเนินงานของจุฬาฯ จะเน้นการร่วมมือของหน่วยงาน ชุมชน และกลุ่มบุคคล ซึ่งในส่วนของการสร้างความเข้มแข็งสุขภาพชุมชนโดยรอบนั้น จุฬาฯ ได้กำหนด “โครงการชุมชนสุขภาพของการสร้างความเข้มแข็งสุขภาพชุมชนโดยรอบนั้น จุฬาฯ ได้กำหนด “โครงการชุมชนสุขภาพ5 ส” ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย สวนลุม สีลม สี่พระยาสามย่าน และสยามสแควร์ ซึ่งจะมีการลงพื้นที่จัดกิจกรรมในด้านต่างๆ อาทิ การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ, การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก, การจัดการสิ่งแวดล้อม และการดูแลอาหารให้สะอาด เป็นต้น

“ขณะเดียวกันในพื้นที่ต่างจังหวัด ก็ได้มีการจัดกิจกรรม อาทิ การจัดการโปรแกรมด้านการยุทธศาสตร์สำหรับโรคกล้ามเนื้อ และกระดูกที่เกิดจากการทำงานในอุตสาหกรรม 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ที่อ.แก่งคอย จ.สระบุรี, การเติมความสุขให้ชุมชนเกาะสีชังด้วยการคืนความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างยั่งยืน และการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกายชี่กง 18 ท่า เป็นต้น “จุฬาฯ จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างยั่งยืนเพื่อตอกย้ำให้ทุกมหาวิทยาลัยได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพกับมหาวิทยาลัยที่มีโครงการสร้างเสริมสุขภาพโดยการจะเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพได้นั้นต้องทำงานให้เป็นระบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มทำอย่างต่อเนื่อง และต้องบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนด้วย ซึ่งขณะนี้จุฬาฯ กำลังจะเดินไปถึงเส้นชัยแล้ว โดยมีจุดเด่นที่จะก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ อาทิ การผลักดันให้จุฬาฯ ใช้สุขภาพเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบ ศึกษาวิจัยเพื่อสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับใช้ในการกำหนดนโยบายและการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมบูรณาการกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นรูปธรรมเข้ากับการสร้างองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยผ่านกระบวนการวิจัย เป็นต้น” อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน นางเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว  สสส. กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน สสส.ให้การสนับสนุนเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะผ่านทางสถาบันอุดมศึกษาไปแล้ว 53 แห่ง แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ 8 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน12 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง และมหาวิทยาลัยราชภัฏ 24 แห่ง โดยก่อนที่จะมีการดำเนินการนั้น ทุกแห่งจะต้องวิเคราะห์ปัญหาในมหาวิทยาลัย และชุมชนโดยรอบส่งมายัง สสส. เพื่อให้การสนับสนุนงบประมาณฯ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ภาพรวม พบว่า ประเด็นสำคัญที่พบมากที่สุดได้แก่ อุบัติเหตุ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด รองลงมาเป็นเรื่องสุราและบุหรี่ เรื่องโภชนาการ และสุดท้ายคือเรื่องสภาพแวดล้อม

“การสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ จะประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากนโยบายของมหาวิทยาลัยสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากนโยบายของมหาวิทยาลัยในการที่จะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนานิสิต และชุมชนเหมือนกับที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ โดยไม่ได้โยนให้คณะใดคณะหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ แต่เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน และการทำกิจกรรมต่างๆ ต้องทำด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่เป็นการบังคับ ซึ่งหากทำได้เช่นนี้ก็จะเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพที่สมบูรณ์แบบ” นางเพ็ญพรรณ กล่าว

เชื่อว่าน่าจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยยกระดับสุขภาวะของชาวอุดมศึกษา และสังคมรอบรั้วมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้นด้วย

       

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

Shares:
QR Code :
QR Code