‘เกษตรธรรมชาติ’…ปลูกผักไม่ขม

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


'เกษตรธรรมชาติ'...ปลูกผักไม่ขม thaihealth


รสชาติของผักส่วนใหญ่นั้นขมไม่อร่อย โดยเฉพาะกับเด็กแล้วต่อมรับรสของลิ้นมีความต้านทานความขมได้น้อยว่า ดังนั้นเมื่อมีอาหารจำนวนมากที่มีรสชาติดีกว่าผักจึงไม่สำคัญ แต่ผักคือปราการป้องกันโรคเอ็นซีดี หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งความดัน เบาหวาน มะเร็ง องค์การอนามัยโลกชี้ชัดแล้วว่าเมื่อบริโภคผักวันละ 400 กรัม จะช่วยป้องกันโรคดังกล่าวได้ แนวทางหนึ่งของการปลูกผักเพื่อให้รสขมบางลงได้ ใช้วิธีปลูกผักแบบเกษตรธรรมชาติ


'ผักที่ปลูกแบบธรรมชาตินั้นจะสีเขียวอ่อนกว่าผักที่ใช้เคมี รสชาติอร่อยกว่าหวานกว่า เช่นกะหล่ำปลีที่เราปลูกไปลวกน้ำกินแล้วจะหวาน ผักเคมีนอก จากขมแล้วจะเหม็นเขียวด้วย เด็กได้ลองแล้วไม่อยากกิน บ้านเราบริโภคผักเพราะคิดถึงเรื่องความสวยมาก่อน" ประสิทธิ์ ชำนาญกิจ วิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้เกษตรธรรมชาติ จากมูลนิธิเอ็มโอเอไทย บอกเล่าในกิจกรรมที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดสร้างทัศนคติที่ดี และประสบการณ์ตรงในการบริโภคผัก ผลไม้ปลอดภัยอย่างน้อยวันละ 400 กรัม ให้กับสื่อมวลชน ที่มูลนิธิเอ็มโอเอไทย อ.เมือง จ.ลพบุรี


ประสิทธิ์ บอกเล่า วิธีการปลูกผักแบบเกษตรธรรมชาติแบบฉบับของมูลนิธิว่า เน้นที่ดินก่อนใช้พืชปอเทืองมาบำรุงดิน ปลูกปอเทือง 60 วัน ไถกลบ เพราะรากปอเทืองมีโพรงที่สามารถดึงอาหารให้ กับต้นพืชได้จำนวนมาก หลังไถกลบแล้วยกแปลงปลูก สำหรับดินที่เคยผ่านเคมีมาก่อนต้องใช้เวลาเปลี่ยนสภาพดินถึง 3 ปี จึงจะได้ดินที่ปลูกผักได้งามโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ย หรือฮอร์โมนต่าง ๆ ให้ยุ่งยาก แค่รดน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งนี้ผักที่ปลูกต้องเหมาะกับฤดูกาลด้วยเช่น หน้าหนาวในพื้นที่ จ.ลพบุรี ปลูกกะหล่ำ หน้าร้อนปลูกถั่วฝักยาว หรือบวบ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสภาพดินของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยต่างกัน การปรับปรุงดิน เพื่อเอื้อต่อการปลูกพืชแต่ละชนิดย่อมต่างกัน


'เกษตรธรรมชาติ'...ปลูกผักไม่ขม thaihealth


สำหรับปุ๋ยที่ใช้นั้นเป็นใบไม้หมัก ปุ๋ยคอกที่ต้องใช้เวลาหมักกับน้ำถึง 3 เดือน โดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำอีเอ็มเพราะอากาศประเทศไทยร้อนช่วยการย่อยสลายอยู่แล้ว สิ่งนี้สำคัญปุ๋ยคอกบางครั้ง วัว ควายกินเมล็ดหญ้า หากหมัก ไม่ได้ระยะเวลา ความร้อนที่ไม่พอทำให้เมล็ดหญ้าไม่ ตาย และไม่ควรไปซื้อปุ๋ยคอกจากฟาร์มปิดมาใช้ ยกตัวอย่างฟาร์มหมูใช้โซดาไฟในการล้างคอก


ประสิทธิ์ บอกว่า เกษตรธรรมชาตินั้นไม่มีกำหนดระยะเวลาว่าต้องใส่ปุ๋ย 15 วัน หรือใส่ฮอร์โมนต่าง ๆ ในวันที่เท่าไร แม้มีพื้นที่ เล็ก ๆ ก็สามารถทำได้ มีความยุ่งยากน้อยกว่าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติแบบละเอียด ทางมูลนิธิเปิดอบรมให้สำหรับผู้สนใจ ซึ่งสามารถมาได้เป็นแบบหมู่คณะหรือเดี่ยว มีที่พักและอาหารให้ ค่าใช้จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับการบริจาคของผู้เข้าอบรม ส่วนตลาดนั้นมูลนิธิฯจะเป็นตัวกลางในการหาตลาดภายในชุมชน โรงพยาบาล โรงเรียน ให้ และมีระบบตรวจเยี่ยมแปลงหลังเกษตรกรได้ลงมือทำเพื่อแก้ปัญหา ทั้งเรื่องแมลง ศัตรูพืช และผลผลิต


'ปัจจุบันมีนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และโรงเรียนที่ต้องการผลผลิตพืชผักที่ปลอดภัยสำหรับเป็นวัตถุดิบปรุงอาหารให้คนป่วยและญาติในโรงพยาบาล แต่ผลผลิตยังมีน้อย ขณะนี้เอ็มโอเอฯ มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งผักที่มา จากเกษตรกรของมูลนิธิฯ ส่งไปขายที่เล มอนฟาร์ม บางส่วน โรงพยาบาลรามาฯ เป็นต้น"


'เกษตรธรรมชาติ'...ปลูกผักไม่ขม thaihealth


ดร.นพ.ไพโรจน์  เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. ตั้งเป้าให้คนไทยบริโภคผักและผลไม้ 400 กรัม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.9 เป็นร้อยละ 50 ภายในปี 2564 ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงอาหาร ที่ปลอดภัย รู้แหล่งที่ มาของผักที่จะทาน ง่ายสุดในการที่จะรู้ว่าผักที่บริโภคได้ 400 กรัม หรือไม่ คือดูที่จานอาหารแต่ละมื้อต้องมีผักอย่างน้อยครึ่งจาน หนึ่งในสี่เป็นเนื้อสัตว์ ที่มีไขมันต่ำ ที่เหลือเป็นข้าว


น.ส.จันทร์จิดา งามอุไรรัตน์ หัวหน้าโครงการพัฒนากลุ่มผู้บริโภคผักผลไม้ ปลอด ภัย 400 กรัม เพื่อสุขภาพในสำนักงาน กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับคนไม่ชอบบริโภคจะใช้เวลา 21 วัน ร่างกายจะจำและบริโภคได้เอง นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ที่มากขึ้นแล้ว ยังรวมไปถึงความใส่ใจในการเลือกวัตถุดิบมาทำอาหาร แม้ผักผลไม้มีสารเคมีปนเปื้อน การล้างผักและผลไม้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยได้ แต่ถ้าไม่ทานเลยร่างกายก็จะไม่ได้รับวิตามิน หรือกากใยที่จำเป็นต่อร่างกาย


ผักเมื่อใส่ใจพิถีพิถันตั้งแต่การปลูกนอกจากรสชาติดีแล้วยังส่งผลดีต่อสุขภาพ สอบถามรายละเอียดมูลนิธิเอ็มไอเอไทย 08-5116-5054

Shares:
QR Code :
QR Code