‘เกษตรกรยั่งยืน’ มีกลไกลทำให้ วิน-วิน

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจาก สสส.


'เกษตรกรยั่งยืน' มีกลไกลทำให้ วิน-วิน thaihealth


'โมเดลเขียว' ทำได้ดี 'เกษตรกรยั่งยืน' มีกลไกลทำให้ 'วิน-วิน'


"โมเดลนี้เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการและผู้ผลิตที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารทั้งต้น น้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ" เป็นการระบุจาก อรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการสวนสามพราน และผู้ร่วมก่อตั้งแล็บอาหารยั่งยืน ที่ได้อธิบายถึงรูปแบบของ 'การท่องเที่ยววิถีอินทรีย์" ที่นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนแล้ว ยังมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างระบบอาหารสมดุลให้กับประเทศไทยด้วยอีกทางผ่านรูปแบบที่เรียกว่า 'ออร์แกนิก ทัวร์"


ที่ขณะนี้ในบางพื้นที่ได้นำ "โมเดล" ดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบอาหาร และช่วยยกระดับรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย


เกี่ยวกับ "ออร์แกนิก ทัวร์" หรืออีกชื่อคือ "ท่องเที่ยววิถีอินทรีย์" นี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่สวนสามพรานได้นำมาใช้เป็นต้นแบบเพื่อที่จะขับเคลื่อนกระบวนการห้องปฏิบัติการทางสังคม โดยมีกลไกการดึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบอาหารทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และยังมีการนำผู้ประกอบการท่องเที่ยวให้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ระบบอาหารมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างยั่งยืนในด้านอาหารปลอดภัย เป็นวัตถุประสงค์ของ "โมเดล" นี้ ที่มีหลาย ๆ พื้นที่ได้ขับเคลื่อนนำร่องไปแล้ว


'เกษตรกรยั่งยืน' มีกลไกลทำให้ วิน-วิน thaihealth


ทั้งนี้ ผู้บริหารสวนสามพราน ให้ข้อมูลว่า น่าดีใจที่ในหลาย ๆ พื้นที่ซึ่งได้มีการนำโมเดลดังกล่าวนี้ไปใช้นั้น ประสบผลสำเร็จอย่างน่าพอใจ โดยได้กระแสการตอบรับที่ดีทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค โดยอนาคตจะมีการนำโมเดลนี้ไปใช้ขยายผลต่อในอีกหลาย ๆ พื้นที่ เพื่อให้เกิดเครือข่ายท่องเที่ยววิถีอินทรีย์มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับระบบอาหารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แต่การนำโมเดลนี้ไปใช้ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น เกษตรกรกับผู้ประกอบการก็จำเป็นจะต้องลบภาพการค้าการขายระหว่างกันในรูปแบบเก่า ๆ ออกไปให้ได้เสียก่อน ที่สำคัญจะต้องกล้าออกจากแนวคิดเดิม ๆ โมเดลรูปแบบนี้จึงจะเกิดประสิทธิภาพที่สุด


พร้อมกับเสริมว่า การท่องเที่ยววิถีอินทรีย์นับเป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการและผู้ผลิตเข้าหากันที่ดีอีกรูปแบบหนึ่ง โดยความท้าทายของการขับเคลื่อนเรื่องนี้ นั่นก็คือจะทำอย่างไรให้ทุก ๆ คนกล้าที่จะออกจากกรอบเดิม ๆ เพราะผู้ผลิตคือเกษตรกร และผู้ประกอบการเองนั้น ต่างก็เคยชินกับรูปแบบที่เคยทำมานาน โดยหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดการร่วมมือระหว่างเกษตรกรและพ่อค้าได้นั้น ก็จำเป็นที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะรู้จักที่จะสร้างกลไกยืดหยุ่นให้แก่กัน


'ยกตัวอย่าง เกษตรกรก็ต้องรู้จักวางแผนการผลิตให้สอดคล้องความต้องการของผู้ประกอบการ ส่วนผู้ประกอบการก็ต้องเปลี่ยนเทคนิคการสื่อสารกับลูกค้า และต้องคิดว่าผลผลิตอินทรีย์เป็นไปตามฤดูกาล ไม่มีป้อนให้ตลอดเวลาเหมือนการซื้อจากพ่อค้าคน กลางแบบเดิม ๆ" ผู้บริหารคนเดิมระบุถึงหัวใจสำคัญของเรื่องนี้


'เกษตรกรยั่งยืน' มีกลไกลทำให้ วิน-วิน thaihealth


ด้าน ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. ก็ได้กล่าวเสริมถึงเรื่องนี้ว่า การท่องเที่ยววิถีอินทรีย์นอกจากเป็นสะพานที่เชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็นตัวอย่างของการสร้างสังคมสุขภาวะอีกด้วย เพราะการพาผู้บริโภคไปลงพื้นที่ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ นอกจากเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศแล้ว ยังช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ได้ด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคต่อไป ทำให้สังคมไทยได้ทั้งในเรื่องอาหารปลอดภัย ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้ให้เกษตกรกร


ขณะที่ ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้ร่วมก่อตั้งแล็บอาหารยั่งยืน ให้ทัศนะเรื่องนี้ว่า วัตถุประสงค์ของการนำเรื่องท่องเที่ยวมาใช้เป็นเครื่องมือ ผ่านรูปแบบ "ออร์แกนิก ทัวร์" เพื่อเยี่ยมชมฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็น ความสำคัญของระบบห่วงโซ่อาหาร ที่ไม่ใช่แค่การได้บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่เพื่อให้เห็นถึงผลโดยรวมที่มีต่อสุขภาวะของสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ โดยทำให้คนมีจิตใจดีและเอื้ออาทรมากขึ้น


'เกษตรกรยั่งยืน' มีกลไกลทำให้ วิน-วิน thaihealth


'การสร้างระบบอาหารให้ยั่งยืนเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ดังนั้นถ้าจะได้ผลดีก็จำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมและจะต้องมีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง จึงจะประสบความสำเร็จ" ดร.อุดม ระบุ


ฟังจาก "ผู้ประกอบการ" แล้ว ลองฟัง "เกษตรกรตัวจริง"อย่าง ประหยัด ปานเจริญ ประธานกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ บ้านหัวอ่าว ที่ได้นำโมเดลนี้ไปใช้ ซึ่งได้เผยถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่า จากการปรับตัวร่วมทำงานกับทางผู้ประกอบการทำให้เห็นปัญหาว่า ผลผลิตที่เกษตรกรปลูกอยู่นั้นบางอย่างยังไม่ได้คุณภาพ จนนำไปสู่ความตื่นตัวในกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการจะปรับปรุงผลผลิตของตนเอง นอกจากนั้นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการแบบนี้ เกษตรกรก็ได้ประโยชน์จากการที่ได้เรียนรู้วิธีการวางแผน และได้ทราบความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น เกษตรกรรายนี้ระบุถึง "ข้อดี" ของโมเดลนี้ที่นำเอารูปแบบ "การท่องเที่ยววิถีอินทรีย์" ใช้เป็นกลไกขับเคลื่อน "ระบบอาหารยั่งยืน" เพื่อให้ "วิน-วิน" ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ

Shares:
QR Code :
QR Code