อีสานเดินหน้าพัฒนา`ท้องถิ่น`

อีสานเดินหน้าพัฒนา'ท้องถิ่น' thaihealth


แฟ้มภาพ


การเสวนา "เวทีชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" ช่วงระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญน่าสนใจ โดยเฉพาะวันเปิดงานวันที่ 17 ตุลาคม ที่มีปาฐกถาในหัวข้อ "ทิศทางการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น" โดย สมพร ใช้บางยาง ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2 สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)


ท่ามกลางผู้คนที่เต็มศูนย์ประชุมอเนกประสงค์ "สมพร" ได้ขึ้นกล่าวโดยเริ่มต้นจากความสำคัญของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่


"ความมุ่งมั่นของทีมงานเครือข่ายที่เริ่มต้นขับเคลื่อนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จาก ต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการใช้กระบวนการจากนวัตกรรมดีๆ ของชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่มีศักยภาพ มีความพร้อมซึ่งเกิดจากพลังชุมชน นำมาเป็นตัวอย่าง เป็นแม่ข่ายในการเรียนรู้ของลูกข่าย จากนั้นได้พัฒนาเป็นศูนย์กิจการเครือข่าย


"จนถึงปัจจุบัน จากปากพูนเราได้เกิดแม่ข่ายหรือศูนย์กิจการเครือข่ายในปัจจุบันเกือบ 100 แห่ง ขณะที่ลูกข่ายของพวกเราทั่วประเทศกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคถึง 2 พันกว่าแห่ง ผู้ที่ร่วมในกระบวนการของเรารวมหลายล้านคน


"เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ถือเป็นเครือข่ายผูกโยงจิตใจ ผูกโยงความรับผิดชอบที่มีต่อตนเองต่อครอบครัว


"โดยเฉพาะต่อชุมชนและประเทศของเราอย่างมั่นคงแข็งแรง เป็นเครือข่ายที่กล่าวได้ว่ามีความผูกพันอย่างมั่นคงแข็งแรง มีเป้าหมายในการก้าวเดินไปสู่การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นเราอย่างชัดเจนเพื่อพร้อมที่จะเป็นฐานรองรับความเข้มแข็งของบ้านเมืองเรา เป็นฐานที่จะค้ำจุนความอยู่รอดของประเทศไทย"


สมพรเล่าต่อว่า เราได้ร่วมขับเคลื่อนกันมาจากปฏิญญา 7 ประการ มาสู่ปฏิญญา 7+1 และมาสู่การผูกโยงเพื่อสุขภาพและงานเชิงประเด็นอีก 7-8 ประเด็นด้วยกันในวันนี้ ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับการพัฒนาศักยภาพของพวกเราทั้งในแง่ของบุคคล ในแง่ขององค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน


"เราพยายามให้ความสำคัญกับการยกระดับพี่น้องเราจากการเป็นราษฎรมาสู่ความเป็นพลเมือง เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพไปพร้อมกัน ทั้งด้านของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ซึ่ง 5 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการพัฒนาการที่มีความชัดเจน มีการจัดเวทีทบทวนแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อให้มีโอกาสพบกัน และนำสิ่งดีๆ ที่ร่วมกันสร้างในแต่ละชุมชนมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับความเป็นบริบทของแต่ละชุมชน"


เขายังได้เน้นย้ำถึงความพยายามของ สสส. โดยเฉพาะสำนักงาน 3 ที่มีหน้าที่สนับสนุนและกระตุ้นส่งเสริมจุดประกายอีสานเดินหน้าพัฒนา'ท้องถิ่น' thaihealthสร้างขบวนการ วิธีคิดใหม่ๆ ให้กับสังคม เพื่อให้หลุดจากกรอบเดิมๆ คิดนอกกรอบเพื่อที่จะได้พ้นจากกับดักของการปฏิบัติแบบเก่าๆ จนเคยชิน จะได้ก้าวไปได้ทันต่อสังคมโลก


สมพรยังระบุอีกว่า นี่เป็นวัตถุประสงค์แรกที่จัดเวทีนี้ขึ้นมา เพื่อจะได้ขอบคุณกับทั้ง 5 ศูนย์บัญชาการ ที่ถือว่าเป็นแม่ข่ายต้นๆ ทำให้เกิดลูกข่ายมากมายเติบโตขึ้นอย่างเข้มแข็ง ณ วันนี้ เราหมดพันธะสัญญาตามข้อตกลงตามลายลักษณ์อักษร แต่พันธความผูกพันทางใจ พันธะความผูกพันในพันธกิจที่จะต้องร่วมรับผิดชอบต่อ "ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่" ในอนาคตยังคงมีอยู่"ทั้งเทศบาลเขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี, อบต.โพนทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ, อบต. บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์, อบต.ประโคนชัย อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ และ อบต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ขอขอบคุณในการทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย เป็นศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบ และทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด"


เสียงปรบมือดังไปทั่วทั้งห้องประชุม แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เป็นอย่างดี


อีกประเด็นหนึ่งที่มีการพูดถึงคือเรื่อง "ประชารัฐ"


"งานประชารัฐเป็นอีกงานหนึ่งที่จะมาหนุนเสริมขับเคลื่อนต่อจากเครือข่ายของพวกเรา เป็นเครือข่ายหลักที่จะรับผิดชอบการขับเคลื่อนประชารัฐในระดับพื้นที่ ฐานราก โดยเราคาดหวังว่าเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็นเครือข่ายสำคัญผลักดันให้การขับเคลื่อนประชารัฐที่เป็นนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน" สมพรกล่าว"โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก ถือว่าเป็นฐานใหญ่ของบ้านเมืองให้เข้มแข็ง เวทีวันนี้จึงเป็นอีกวัตถุประสงค์ของการจัดขึ้นเพื่อสานต่อของพลังเครือข่ายเราสู่ความเป็นนโยบายประชารัฐของรัฐบาล"


สมพรกล่าวอธิบายอีกว่า เรื่องของประชารัฐความจริงไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นแนวคิดการดำเนินงานของเครือข่ายของพวกเรามาโดยตลอดคือ ภาคประชาชน ภาคราชการ ภาคท้องถิ่น และภาคเอกชน เพียงแต่ว่าในส่วนที่ยังไม่ชัดเจนมากนัก ในภาพรวมของเครือข่ายเราก็คือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน


สมพรยังกล่าวสรุปตอนท้ายอีกว่า วันนี้เรามีความชัดเจน เรื่องสำคัญที่สุดก็คือการปรับเปลี่ยนความคิด จะนำให้เราปรับเปลี่ยนในเรื่องอื่นๆ อีก หมายถึงปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากการพึ่งพาคนอื่นมาสู่การพึ่งพาตัวเองเป็นหลักก่อน และกลับมาสู่การให้ความสำคัญกับทุน ศักยภาพของพวกเรา เพื่อที่จะได้เห็นศักยภาพว่ามีความสามารถพร้อมจัดการตัวของเราเอง


"อย่างที่เรียนไปว่า สสส.ไม่ได้มาสนับสนุนการ กระตุ้นส่งเสริมจุดประกายได้ตลอด เพราะเราไม่ใช่ส่วนราชการที่มีหน้าที่ประจำเช่นนั้น ฉะนั้นสิ่งที่จะนำไปสู่การจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มั่นคง คือการที่เราปรับเอางานต่างๆ ที่เราได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาเข้าไปสู่งานประจำในส่วนของแผนพัฒนาชุมชน แผนพัฒนาตำบล แผนท้องถิ่น นำไปสู่การจัดงบประมาณ หนุนเสริมภารกิจ เสริมในกระบวนการจัดการทั้งหลายที่ทำมา" สิ่งต่างๆ เหล่านั้น จะสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ด้วยพลังของท่านเองอย่างแท้จริงนั่นก็คือการจัดการตนเองได้ในที่สุด


"พลังประชาชน พลังของท้องที่ พลังของภาคราชการ และพลังหลักคือพลังท้องถิ่น เป็น 4 พลังหลักที่จะยืนยันความเข้มแข็งของชุมชนจัดการตนเอง พร้อมจะเป็นฐานของประเทศที่เข้มแข็งและมั่นคงได้อย่างแท้จริง" สมพรกล่าวทิ้งท้ายเป็นคำทิ้งท้ายที่เปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นที่มีต่อประชาชน


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน  โดย มะลิวรรณ ปรีดาพันธุ์

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ