อาหารปลอดภัยไม่ไกลเกินเอื้อมที่ “เชียงราย”

ความปลอดภัยของอาหารสามารถเกิดขึ้นได้ หากเพียง ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งจนสามารถสร้างแรงกระเพื่อมที่ขยายวงกว้างไปสู่ระดับชุมชน จังหวัดและประเทศในที่สุด


อาหารปลอดภัยไม่ไกลเกินเอื้อมที่


เช่นเดียวกับ "โครงการอาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข" ที่ได้รับการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี กิตติ ทิศสกุล นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย เป็นผู้จัดการโครงการ และมีทุกภาคส่วนของเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นราชการ ฝ่ายท้องถิ่น ฝ่ายผู้ผลิต ฝ่ายผู้บริโภค ฝ่ายวิชาการที่ให้ต่างบูรณาการและร่วมกันขับเคลื่อนห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยหวังที่จะสร้างจุดแข็งให้เชียงรายเป็นเมืองที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวในเรื่องเมืองเกษตรสีเขียวและอาหารปลอดภัย


ปัจจุบันโครงการได้ถูกประกาศวาระจังหวัดให้เป็น "เมืองเกษตรสีเขียวและเมืองอาหารปลอดภัย" (Green Agriculture and Food Safety City) ในปี 2558 เพราะต้องการสร้างความยั่งยืน ให้กับเกษตรกรผู้ผลิต แนวคิดการดำเนินโครงการ อาหารปลอดภัยไม่ไกลเกินเอื้อมที่ "บูรณาการอาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข" เป็นกระบวนการสร้างความมั่นคงให้กับห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัยที่เน้นการตลาดเป็นตัวนำ โดยเริ่มจากการสร้างความต้องการบริโภคผักปลอดภัยในกลุ่มผู้บริโภคทั่วจังหวัด มีการจัดตั้งตลาดสีเขียว การดำเนินการ "โครงการครอบครัวน่ารักกินผักปลอดภัย" ที่ให้ผู้ที่สนใจผูกปิ่นโตรับผักปลอดภัยจากเกษตรกรโดยตรงในราคาเพียง 100 บาทต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหารและโรงแรมและเกษตรกรในพื้นที่เพื่อร่วมกันวางแผนรับซื้อผักจากเกษตรกรโดยตรง ตลอดจนสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนสีเขียว รวมถึงการต่อยอดสร้างมาตรฐานร้านอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน TQRS


บังอร ทิศสกุล เจ้าของร้านอาหารเหนือพื้นเมือง "สบันงา" ที่เปิดมากว่าสามสิบหกปี คือหนึ่งในตัวอย่างผู้ประกอบการที่หันมาใช้ผักปลอดสารประมาณสี่ห้าปีที่แล้ว โดยเล่าว่าจากการเริ่มศึกษาอาหารสุขภาพ จึงสนใจ และมองว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถขายผักได้ราคาดีขึ้น จึงรับผักจากเกษตรที่ปลูกแบบปลอดสารมาเป็นวัตถุดิบในร้าน แม้ว่าจะราคาสูงกว่าผักทั่วไปก็ตาม "ที่จริงผักปลอดสารกินแล้วอร่อยกว่าผักที่ใช้สารเคมี อย่างเช่น คะน้า ถ้าไม่ใช่คะน้าปลอดสารจะขม รสชาติไม่อร่อย ถ้าเป็นผักปลอดสารพิษทิ้งไว้กี่ชั่วโมงก็ยังกรอบหวานอยู่"


ซึ่งเธอยังสามารถสร้างจุดขายเรื่องกระแสสุขภาพจากการส่งเสริมผักปลอดสารให้กับร้านอีกช่องทาง เช่นเดียวกับที่โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท เชียงราย ยังผุดแนวคิดสวนผักสวนสมุนไพรแบบไม่ใช่สารเคมีขึ้นภายในพื้นที่เปล่าของโรงแรม ซึ่งนอกจากวัตถุดิบที่ได้จะนำมาใช้ปรุงอาหารให้กับลูกค้า โดยล่าสุด โรงแรมแห่งนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสถานอาหารปลอดภัยไม่ไกลเกินเอื้อมที่ ที่จัดประชุม PATA เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา


ปัจจุบันผักที่ปลูกในโรงแรม ยังไม่เพียงพอ สำหรับการใช้ในแต่ละวัน ขณะนี้โรงแรมจึงอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับผู้ปลูก แต่ยังติดตรงที่โรงแรมไม่สามารถวางแผนความต้องการใช้ผักที่ชัดเจนได้ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็ยังไม่สามารถผลิตผักเพียงพอสำหรับธุรกิจอาหารหรือระดับอุตสาหกรรม


ด้านฝั่งผู้ผลิต รจนา เขื่อนขัน หนึ่งในแกนนำเครือข่ายผู้ผลิตผักปลอดภัยอันดับต้นๆ ที่กำลังป้อนขายคนในจังหวัดเชียงราย ที่กล้าทิ้งเงินเดือนประจำและงานที่มั่นคงผันตัวเองมาสู่วิถีเกษตรกรอินทรีย์ในชุมชนบ้านภูตาด ที่นอกจากวันนี้จะมีแบรนด์ผักที่ได้รับมาตรฐาน GAP จากจังหวัดเชียงรายแล้ว เธอยังเป็นต้นแบบของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรปลอดภัยภายใต้โครงการ "อาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข" "ที่มาเกิดจากที่บ้าน เราต้องกินผักทุกวัน ไปซื้อตลาดรู้สึกว่าเสี่ยงต่อเคมี" เธอเล่าต่อว่าเนื่องจากครอบครัวเคยทำเกษตรมาก่อนจึงรู้ว่าผักแต่ละแปลงพ่นยาและใช้เคมีมากแค่ไหน จึงเริ่มเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ


รจนาเอ่ยว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ ก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานนับปีกว่าจะลืมตาอ้าปากได้ เริ่มตั้งแต่คนรอบตัวไม่มีใครสนใจ ไม่ยอมรับ แต่นอกจากขายไม่ได้ ยังโดนคนดูถูกเพราะไม่เข้าใจ เธอบอกเล่าเริ่มปลูกใหม่ๆ เก็บผักไปขายแม่ค้าในตลาด อธิบายให้ฟังว่า "ผักของหนูเป็นผักปลอดสารพิษนะ" แต่กลับโดนแม่ค้าย้อนมาว่าจะปลอดสารหรือไม่ปลอดสารก็กินได้เหมือนกัน


อาหารปลอดภัยไม่ไกลเกินเอื้อมที่


"ตอนนั้นได้ฟังแล้วรู้สึกเสียใจมาก คิดในใจเราปลูกอย่างดี ทำไมเขาเอาสินค้าของเราไปเทียบกับสินค้าที่มีเคมีไม่ปลอดภัย ท้อใจมาก ขนผักกลับมาบ้าน แต่ได้พ่อแม่ให้กำลังใจ บอกให้อดทน ผักเหลือก็เอามาทำปุ๋ยทำน้ำหมักได้" รจนากล่าวอย่างสะเทือนใจ "เชื่อไหมช่วงใหม่ๆปลูกกะหล่ำปลีแค่สี่แปลง แต่เดือนหนึ่งยังขายไม่หมด"


รจนาเห็นด้วยว่าการประกาศวาระของจังหวัดมีส่วนทำให้ตลาดผักปลอดสารพิษประสบความสำเร็จมากขึ้น พอเริ่มเข้าโครงการ เธอพัฒนาคุณภาพจนทำให้ได้รับรอง GAP ตั้งแต่มีนาคมปีที่แล้ว มีหน่วยงานแนะนำ ให้ไปออกงานตลาดสีเขียวจนขายดีขึ้น เพราะมีเครื่องหมายผักปลอดภัยของโครงการฯ คอยรับประกันคุณภาพ  "เดิมพ่อกับแม่ทำเกษตรวิถีหลักจะใช้เงินค่าปุ๋ยและยาตกปีละ 5-6 หมื่นบาท พอมาทำเกษตรอินทรีย์ปีที่แล้วจ่ายเงินค่าปุ๋ยอินทรีย์ไปแค่หมื่นกว่าบาทเท่านั้น"  ขณะที่รายรับที่ได้จากการขายผักในแต่ละอาทิตย์ตกอยู่ที่ 10,000-15,000 บาท จนปัจจุบันผักไม่พอขาย รจนาจึงชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมอีก 10 เครือข่ายมาร่วมเครือข่ายผักปลอดภัยของเธอ พร้อมตั้งเป้าไว้ว่าอีกสองปีน่าจะเข้าสู่ออร์แกนิคเต็มรูปแบบ


ด้านอีกหนึ่งเครือข่ายผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์แบบครัวเรือน ที่ชุมชนบ้านป่าสักทอง ต.แม่กรณ์เชียงราย ชุมชนต้นแบบด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดสารพิษ


ณัฐกฤตา มากทอง หนึ่งในแกนนำเล่าให้ฟังว่าแนวคิดการทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชน เกิดจากการที่เห็นกระแสตื่นตัวเรื่องสุขภาพ จึงเห็นว่าถ้าหากเริ่มก่อนก็มีโอกาสก่อน อีกทั้งจากที่คนในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพพบว่าสมาชิกในชุมชนล้วนมีสารเคมีตกค้างสะสมในร่างกาย ทำให้รู้สึกตกใจมาก สมาชิกเพียง 9 คนในเวลานั้น จึงลงขันเงินกันร่วมกันจัดตั้งกลุ่มขึ้น  "เริ่มจากลองผิดลองถูก มีปัญหาก็จะมาปรับทุกข์ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร วางแผนอย่างไร กว่าจะได้อย่างที่เห็นเราต้องเริ่มต้นแล้ว เริ่มต้นอีก" กฤษณา ใจมูล สมาชิกอีกรายช่วยเล่าเรื่อง


"ตอนแรกก็ท้อ แต่เมื่อเรามาจุดนี้ก็ต้องสู้ต่อ" เธอว่า "แต่ก่อนดินก็แข็งทื่อปลูกอะไรก็ไม่ค่อยสวย เดี๋ยวนี้ดินกลับมาดีขึ้นเพราะเราหันมาใช้ปุ๋ยหมัก พอดินดีผักก็ดีไปเอง ทำให้น่าซื้อ ลูกค้าเริ่มยอมรับ ราคาก็ดีขึ้น" ณัฐกฤตาช่วยเสริมระหว่างที่มือเธอกำลังสาละวนจัดการแบ่งเบบี้แครอทที่เพิ่งถอนจากแปลงสดๆ หลังร้านใส่ถุงตามออร์เดอร์ที่ลูกค้ากลุ่มนักท่องอาหารปลอดภัยไม่ไกลเกินเอื้อมที่ เที่ยวที่สั่งไว้


"ส่วนด้านตลาดอาศัยออกงานจากนักวิชาการเกษตรที่แนะนำ ต่อมามีคนเริ่มรู้จัก เริ่มชวนให้เราไปขายที่ตรงนู้นตรงนี้ เราจะช่วยกันวางแผนปลูกไม่ให้ซ้ำกัน เพราะเวลาไปขายตลาดสินค้าจะได้หลากหลาย"


ณัฐกฤตา ยอมรับว่าสินค้าของเธอราคาอาจสูงกว่าผักทั่วไป แต่หากคิดแล้วไม่ถึงกับแพงมากเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะซื้อได้ เพราะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางเลยอยู่ได้


ปัจจุบันสมาชิกแต่ละรายมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1,00-1,500 บาทต่อครั้งที่ไปออกงานขาย โดยหนึ่งสัปดาห์จะมีไปออกงานเฉลี่ย 3-4 ครั้ง ตอนนี้กลุ่มยังไม่สามารถผลิตส่งให้ทางโรงแรมหรือร้านอาหารได้เพราะแค่ขายปลีกก็ยังไม่พอขายแล้ว ในอนาคตจึงมองการสร้างเครือข่ายผู้ปลูกเพิ่ม อย่างไรก็ตาม พวกเธอย้ำว่าต้องเลือกแต่ผู้ผลิตที่ได้คุณภาพเดียวกันเท่านั้น เพราะอยากรักษามาตรฐานความเชื่อถือของกลุ่มไว้ให้ยั่งยืน


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก


ภาพประกอบจากแฟนเพจ Chiangrai Green Network

Shares:
QR Code :
QR Code