‘อาหารขยะ’ …เสบียงเสี่ยงต่อชีวิต

          ตัวเลขงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรคอ้วนสูงถึง 30,000 ล้านบาทต่อปี   โรคดังกล่าวทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร พิการ ส่งผลกระทบไปถึงระบบโครงสร้างการจ้างงาน เป็นภาระครอบครัว สังคม สาเหตุของโรคส่วนใหญ่มาจากการกิน และไม่ออกกำลังกาย


/data/content/24916/cms/e_egjknpuwy289.jpg


          ความอยู่ดีกินดีของคนไทยทำให้มีกำลังซื้ออาหารขยะมากขึ้นขณะเดียวกับการโหมโฆษณาของบริษัทผลิตเครื่องดื่มมีน้ำตาลสูงและบริษัทผลิตขนมขบเคี้ยว แต่เมื่อเกิดภาระโรคต้องใช้ภาษีของคนทั้งประเทศเยียวยา


          ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมแรลลี่ลดพุง "ยุทธการลดหวาน มัน เค็ม" และ "ภารกิจพิชิตพุง" สื่อความหมายด้านการบริโภคเรื่องอาหารให้กับเด็ก ๆ และผู้สนใจ


          นางเบญจมาภรณ์ จันทรพัฒน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่า คนไทยเป็นโรคอ้วนลงพุง และมีน้ำหนักเกินมาตรฐานเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย-แปซิฟิก เนื่องจากคนไทยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม กิจกรรมแรลลี่ลดพุงให้ความชัดเจนต่อเรื่องอาหารที่เด็ก ๆ รับประทานบ่อยว่าเช่นรับประทานข้าวเหนียวหมูปิ้ง 7 ไม้ในมื้อเช้าจะได้พลังงานเกิน เท่ากับต้องใช้แรงเดินขึ้นลงบันได 20 นาทีจึงจะเผาผลาญ ไขมันให้หมดไป เช่นเดียวกับการรับประทานไก่ทอดหนึ่งชิ้น เท่ากับต้องยกของ 40 นาที


          ร่างกายของคนไทยนั้นสามารถรับประทานได้ 6 ช้อนชาต่อคน แต่ปัจจุบันในเครื่องดื่มต่าง ๆ มีน้ำตาลสูงเช่น ชา/data/content/24916/cms/e_afhkloqrsu19.jpgเขียว 1 ขวด (60 กรัม) มีน้ำตาล 12 ช้อนชา น้ำผลไม้  (15 กรัม) มีน้ำตาล 3 ช้อนชา นมช็อกโกแลต (25 กรัม) มีน้ำตาล  5 ช้อนชา น้ำอัดลม 1 กระป๋องมีน้ำตาลราว 6-7 ช้อนชา แล้วแต่ยี่ห้อ เป็นต้น เมื่อบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้  1 อย่างบางชนิดทำให้ร่างกายได้น้ำตาลเกิน เพราะใน 1 วัน เราต้องกินข้าว กินขนมที่เป็นแป้งต่าง ๆ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลตามการทำงานของกลไกร่างกาย


          ดังนั้นกิจกรรมแรลลี่ลดพุง จะช่วยถอดรหัสอาหารชนิดต่าง ๆ  อาทิไก่ทอด 1 ชิ้นมีน้ำมันประกอบแสดงให้เห็นว่าเมื่อบริโภคไก่ทอด 1 ชิ้นได้รับน้ำมันกี่ช้อนชา  รวมทั้งการจำลองให้เห็นว่าเมื่อมีไขมันพอกพุง ร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักไว้มากขนาดเดินวิ่งได้ช้าลง


          น.ส.รุจิรา เจริญยิ่ง ผู้บริหารโครงการนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้สุขภาวะ กล่าวว่า กิจกรรมแรลลี่ลดพุง ทั้ง 2 ช่วง เป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และการมีส่วนร่วมจากการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งสอดคล้องกับนิทรรศการ ลดพุง ลดโรค ที่จะเปิดช่วง ก.ค.-ก.ย.นี้ โดยกิจกรรมในห้องนิทรรศการ ประกอบด้วย "ยุทธการลด หวาน มัน เค็ม" ประกอบด้วย 6 ฐานสุดสนุก คือ 1. ภาพมายา มีการคำนวณปริมาณแคลอรีส่วนเกิน 1  ปี จากอาหารที่ชอบกิน พร้อมชมหนังสั้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ  2. มนตราอาหาร  3. น้ำหวานแปลงกาย 4. ดีไอวาย แปลงร่าง  5. เสบียงเสี่ยงชีวิต 6. ภารกิจพิชิตหวานมันเค็ม ส่วนภารกิจพิชิตพุง เป็นกิจกรรมแรลลี่ 5 ฐาน ประกอบด้วย  1. กำเนิดผู้กล้า  2.  "5 รหัสลับ"  (5 สี  5 ทัพพี 5 หมู่ )  3. ขยับเพลิน ๆ  4. เบิร์นแคลอรี 5. เฮลตี้ เบิร์น ชี้ให้เห็นว่า กวาดบ้านถูบ้าน เดินขึ้นลงบันได และกิจกรรมอื่น ๆ ช่วยเผาผลาญพลังงานที่เราบริโภคเกินได้


          "หลายโรงเรียนเริ่มปรับโภชนาการด้านอาหารค่อนข้างมากแล้ว จากผลสำรวจเด็กไทยกับการบริโภคผักผลไม้ กำหนดให้กิน 5 ส่วน เด็กจะกิน 3 ส่วน แต่ถ้าเป็นไขมัน เกลือ แป้งทุกอย่างจะเพิ่ม ยกตัวอย่างเช่น ต้องการแค่ 2 ส่วน/data/content/24916/cms/e_adehnqrwy125.jpgแต่เด็กจะบริโภคประมาณ 6 ส่วน บริโภคมากกว่าที่ร่างกายต้องการ อีกทั้งกำลังในการซื้ออาหารของเด็ก ๆ สามารถเดินไปซื้อแฮมเบอร์เกอร์ได้ง่ายกว่าถ้าจะให้ไปซื้ออาหารสุขภาพ เด็กได้บริโภคอาหารมีประโยชน์แค่มื้อเดียวคือมื้อกลางวัน มื้อเช้ากับมื้อเย็นขึ้นอยู่กับพ่อแม่" ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ฝากถึงพ่อแม่ให้ความสำคัญเรื่องอาหารของลูก ๆ


          สำหรับกิจกรรม จัดกิจกรรมแรลลี่ลดพุง  "ภารกิจพิชิตพุง" แบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงที่ 1 (19 มิ.ย.-15 ส.ค. 57) นำเสนอประเด็นอาหารภายใต้ชื่อ "ยุทธการลดหวาน มัน เค็ม" และช่วงที่ 2 (19 ส.ค.-18 ต.ค.) นำเสนอประเด็นด้านการออกกำลังกายภายใต้ภารกิจพิชิตพุง


          สำหรับโรงเรียนหรือผู้สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะ ในรูปแบบแรลลี่ สามารถติดต่อจองรอบล่วงหน้าได้ที่เบอร์ 08-3098-1804-7


          เด็กมีความรู้เรื่องบริโภคอาหาร…เท่ากับมีภูมิต้านทานโรคเมื่อเป็นผู้ใหญ่


 


 


          ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 

Shares:
QR Code :
QR Code