อันตรายยาคุมฉุกเฉิน โจ๋ 16-24 ปี ซื้อใช้สูงสุด!

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวในการจัดเสวนาเรื่อง “เปิดมุมมองพฤติกรรมการใช้ยาคุมฉุกเฉิน อันตรายเสี่ยงติดเอดส์ท้องไม่พร้อม” ซึ่งจัดโดย กพย. ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ว่า วัยรุ่นมีพฤติกรรมการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากกว่ายาคุมปกติ ปี 2552 มีการผลิตและนำเข้ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินกว่า 8 ล้านกล่องต่อปี หรือวันละ 2 หมื่นกล่องคิดเป็นมูลค่า 4-6 ร้อยล้านบาทต่อปีขณะที่อัตราการจำหน่ายยาคุมฉุกเฉินของร้านขายยาเฉลี่ยวันละ 6.5 กล่องบางแห่งสูงถึง 25 กล่องต่อวัน

ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวว่า กพย.ได้ทำการสำรวจการจำหน่ายยาคุมฉุกเฉินในเครือข่ายร้านขายยา 45 แห่งทั่วประเทศในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 พบว่า ผู้ซื้อยาคุมฉุกเฉินส่วนใหญ่ร้อยละประเทศในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 พบว่า ผู้ซื้อยาคุมฉุกเฉินส่วนใหญ่ร้อยละ47.73 มีอายุระหว่าง 16-20 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 21-25 ปี ร้อยละ 36.36 กลุ่มอายุ 26-30 ปีร้อยละ 13.64 และอายุมากกว่า 30 ปีร้อยละ 2.27 และส่วนใหญ่ผู้ซื้อร้อยละ 70.45 เป็นผู้หญิงนอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับยาคุมฉุก เฉินในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 428 คน ใน 10 สถาบันการศึกษาชื่อดัง ยังย้ำชัดเจนว่าผู้ที่ใช้ยาคุมฉุกเฉินมากที่สุด คือ กลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 16-24 ปี

ผศ.ภญ.นิยดากล่าวว่า ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีประสิทธิภาพลดการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 89  ไม่สามารถป้องกันโรคเอดส์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไวรัสตับอักเสบบี ฯลฯ เป็นยาคุมที่มีผลข้างเคียงมากทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดประจำเดือนมาไม่ปกติ กะปริดกะปรอยบางรายพบปัญหาตั้งครรภ์นอกมดลูกยาชนิดนี้ไม่ได้ช่วยทำแท้ง ซ้ำร้ายอาจส่งผลให้เด็กทารกผิดปกติได้

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ