อัตราโรคกระดูกพรุนชาวเอเชียพุ่งสูง

ใกล้เคียงกับชาวยุโรปแล้ว

อัตราโรคกระดูกพรุนชาวเอเชียพุ่งสูง 

วันโรคกระดูกพรุนสากลคือวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี แม้ว่าองค์กรด้านสุขภาพต่างเรียกร้องให้พวกเราดูแลกระดูกแต่อัตราการเกิดของโรคกระดูกพรุนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากญี่ปุ่นถึงอินเดีย, จากจีนถึงเกาหลี, จำนวนตัวเลขการแตกร้าวของกระดูกเนื่องมาจากโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีที่ผ่านมา คาดกันว่าผู้หญิง 1 ใน 3 และผู้ชาย 1 ใน 5 ที่อายุเกิน 50 ปีจะมีอาการกระดูกร้าวเนื่องจากภาวะกระดูกบาง  ปัจจุบันในยุโรป, ความพิการสาเหตุเกิดจากโรคกระดูกพรุนมีมากกว่าโรคมะเร็งเสียอีก

 

ในสิงคโปร์, อัตราการเกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น 5 เท่านับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2503 ในขณะที่เกาหลีเพิ่ม 4 เท่าภายใน 10 ปี  ปัจจุบันอัตรานี้ในฮ่องกงและสิงคโปร์เริ่มใกล้เคียงกับที่พบในผู้หญิงชาวอเมริกัน แม้แต่ประเทศไทยและมาเลเซียที่มีอัตราโรคกระดูกพรุนต่ำ  ตัวเลขปัจจุบันก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติคาดการณ์ไว้ว่าภายในปีพ.ศ. 2593 มากกว่าครึ่งหนึ่งของภาวะกระดูกสะโพกหักทั่วโลกล้วนสัมพันธ์กับโรคกระดูกพรุน

 

อายุขัยที่เพิ่มขึ้นของเราเองเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระดูกพรุน แต่ในหลายๆกรณีโรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันและชะลอได้  มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (international osteoporosis foundation : iof) ระบุว่า, ความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนบางส่วนของผู้หญิงเอเชียเกิดจากความหนาแน่นของกระดูกต่ำ, การได้รับแคลเซียมน้อย และมีวิถีชีวิตแบบนั่งๆนอนๆ (sedentary lifestyle)  ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชีย (afic) ได้รับมอบหมายให้สื่อสารข้อมูลเพื่อช่วยป้องกันสภาพความเสื่อมนี้ สาระสำคัญง่ายๆคือการออกกำลังกายให้มากพอและเลือกอาหารที่มีแคลเซียมพอเพียงเพื่อรักษากระดูกให้แข็งแรง

 

หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการมีวิถีชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ (sedentary lifestyle)  การออกกำลังกายแบบมีน้ำหนักกดลงต่อกระดูก (เช่น การเดิน, การวิ่งและการเต้น) และการออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ (เช่น การยกน้ำหนักและโยคะ) ช่วยชะลอการสูญเสียมวลกระดูกและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่รองรับโครงกระดูก ในผู้สูงอายุ, กิจกรรมใดๆที่ช่วยปรับปรุงการทรงตัวและการทำงานที่ประสานกันของส่วนต่างๆ ในร่างกายล้วนสามารถช่วยป้องกันการล้มและการแตกร้าวที่สัมพันธ์กับโรคกระดูกพรุน ในเอเชีย, การฝึกไทชิให้ประโยชน์อย่างมาก เป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องมั่นใจว่าในช่วงเจริญเติบโต, เด็กและวัยรุ่นมีการออกกำลังกายมากพอที่จะสร้างความแข็งแรงและความหนาแน่นให้กับกระดูกได้ในระดับสูงสุดเพราะสิ่งนี้ช่วยสร้างธนาคารกระดูก ป้องกันการสูญเสียกระดูกเมื่ออายุมากขึ้น

 

สาระสำคัญของการได้รับแคลเซียมเพียงพอเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนดูเหมือนเป็นที่เข้าใจกันดี แต่ชาวเอเชียส่วนมากยังคงได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ผลการศึกษาแสดงว่าแคลเซียมปรับปรุงความหนาแน่นของกระดูกให้ดีขึ้น เนื้อเยื่อกระดูกถูกดูดซึมอย่างต่อเนื่องและสร้างกลับขึ้นมาใหม่ ดังนั้นแหล่งแคลเซียมที่มั่นคงจึงจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ช่วงวัยรุ่น เด็กต้องการแคลเซียมประมาณ  800 มิลลิกรัมต่อวันและเพิ่มขึ้นเป็น 1,300 มิลลิกรัมต่อวันในช่วงวัยรุ่นซึ่งปริมาณแคลเซียมโดยประมาณเท่ากับนมหรือผลิตภัณฑ์นม 3-4 หน่วยบริโภค (นมหนึ่งแก้วขนาด 200 มิลลิลิตร เทียบเท่ากับ 1 หน่วยบริโภค) สำหรับผู้ใหญ่, แคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวันถือว่าเพียงพอ ยกเว้นในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และหมดประจำเดือน และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 65 ปีต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน

 

แหล่งอื่นๆของแคลเซียมนั้นรวมถึงผักใบเขียว (เช่น บลอคโคลี่, เคล-กะหล่ำปลีชนิดแข็งใบย่น, ผักขม) และปลาที่รับประทานได้ทั้งกระดูก (เช่น แซลมอนหรือซาร์ดีนติดกระดูกบรรจุกระป๋อง หรือ ปลาเล็กปลาน้อย) ถั่วเหลือง, ผลไม้เปลือกแข็งและถั่วก็ยังให้แคลเซียมแต่ถูกดูดซึมได้ดีน้อยกว่าแคลเซียมจากอาหารประเภทนม ตรวจสอบข้อมูลโภชนาการบนผลิตภัณฑ์และมองหาผลิตภัณฑ์อาหารที่เสริมแคลเซียม

 

หากคุณหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนมอาจทำให้ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอและอาจต้องการอาหารเสริม มองหาอาหารเสริมที่มีแคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมและมีวิตามินดีซึ่งจำเป็นสำหรับการดูดซึมแคลเซียม การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้พบว่าคนจำนวนมาก (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) ได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ แหล่งของวิตามินดีที่ดีคือ ปลาที่มีน้ำมันสูง (แซลมอน, ซาร์ดีน, แมคเคอเรล), ไข่แดงและอาหารที่ช่วยเสริมคุณวิตามินดี เช่น อาหารเช้าธัญพืชและมาร์การีน( ตรวจสอบได้จากฉลากโภชนาการ)

 

ที่สุดแล้วควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ และการสูบบุหรี่เนื่องจากเพิ่มปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน

 

เพื่อลดแนวโน้มโรคกระดูกพรุนในประเทศเอเชียเราต้องเริ่มปฏิบัติตั้งแต่วันนี้ ความก้าวหน้าด้านการดูแลสุขภาพและโภชนาการทำให้ประชากรมีชีวิตยืนยาวขึ้น และช่วงอายุขัยที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ควรควบคู่ไปกับความเจ็บปวดและสภาพผลกระทบจากความอ่อนเพลีย เช่น โรคกระดูกพรุน ดังนั้นผูกเชือกรองเท้าให้แน่นเพื่อไปวิ่งและมาดื่มนมสัก 1 (หรือ 3) แก้วกันเถอะเพื่อชีวิตที่ยืนยาวและมีพลัง!

 


















อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมโดยทั่วไป

ประเภทอาหาร : นม

ปริมาณแคลเซียม  (เป็นมิลลิกรัม)

นมสด  (1 ถ้วย /244 กรัม)

280 มิลลิกรัม

นมไร้ไขมันเสริมแคลเซียม (1 ถ้วย /247 กรัม)

500 มิลลิกรัม

โยเกิร์ตพร่องไขมัน (1 ถ้วย /8 ออนซ์)

450 มิลลิกรัม

ไอศครีมวานิลา (1 ถ้วย /72 กรัม)

100 มิลลิกรัม

เนยแข็งชนิดแข็งหรือนุ่ม (1 แผ่น/40 กรัม)

280 มิลลิกรัม

ประเภทอาหาร : ถั่วเหลือง

 

เต้าหู้ไข่ไก่ (100 กรัม)

30 มิลลิกรัม

เต้าหู้เสริมแคลเซียม (1/2 ถ้วย, 126 กรัม)

250 มิลลิกรัม

นมถั่วเหลือง (1 ถ้วย/245 กรัม)

90 มิลลิกรัม

นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม (1 ถ้วย / 245 กรัม)

370 มิลลิกรัม

ประเภทอาหาร : ปลากระป๋อง

 

ซาร์ดีนติดกระดูกบรรจุกระป๋อง (1 กระป๋อง/454 กรัม)

970 มิลลิกรัม

ซาร์ดีนติดกระดูกบรรจุกระป๋อง (1 กระป๋อง/ 370 กรัม)

900 มิลลิกรัม

 

 

 

 

 

 

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชีย (afic)

 

 

 

update:17-10-51

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code