ออกมาเล่น “กรีฑาสาหรับเด็ก” แข่งขันเพื่อสุขภาพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ออกมาเล่น


การเพิ่มกิจกรรมทางกาย ด้วยการสนับสนุนให้เด็กออกมาเล่น (Active Play) เป็นนโยบายที่ สสส.ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อลดภาวะโรคอ้วนในเด็ก ลดภาวะเนือยนิ่ง และลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)


เมื่อไม่นาน มานี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานแถลงข่าว "กรีฑาสำหรับเด็ก" (kids' Athletics) ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์/ราชประชานุเคราะห์ นอกจากนี้ ภายในงานมีการสาธิตกรีฑาสำหรับเด็ก โดยน้องๆ จากโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพฯ อีกด้วย


คู่มือกรีฑาสำหรับเด็ก หรือ Kids' Athletics จัดทำขึ้นโดย สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (International Association of Athletics Federations (IAAF)) ที่เห็นความสำคัญและส่งเสริมการออกกำลังกายตั้งแต่วัยเด็ก จึงนำรูปแบบการออกกำลังกายมาจากประเทศเยอรมนีที่เน้นการมีวินัย น้ำใจนักกีฬา การเล่นเป็นทีม โดยแบ่งการเล่นออกเป็น 7 ฐาน คือ 1.ขว้างข้ามคาน (Precision Throw) 2. วิ่งและกระโดดข้ามรั้ว (Sprint/Hurdles Shuttle Relay) 3. การวิ่ง (Formula one) 4. กระโดดตาราง (Cross Hop) 5. คุกเข่าโยน (Knee Throw) 6. กระโดดไกลต่อเนื่อง (Forward Squart Jump) 7. วิ่งทน 8 นาที (8 Min Endurance)


ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวถึงสถานการณ์ด้านสุขภาพของคนไทย พบว่าคนไทยมีกิจกรรมทางกายร้อยละ 70 และที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี มีกิจกรรมทางกาย ลดลงจากร้อยละ 67 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 64 ในปี 2558


"เราต้องช่วยกันออกแบบกิจกรรม ชวนให้เด็กหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือใน 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง เด็กใช้เวลาอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์มือถือกว่า 3 ชั่วโมง สสส.จึงเกิดคำถามว่า ควรทำอย่างไรให้เด็กละจากหน้าจอโทรศัพท์ ประกอบกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่บอกว่า เด็กควรออก กำลังกายวันละ 60 นาที โดยแบ่งเป็น ช่วงเช้า 10 นาที กลางวัน 20 นาที และช่วงเย็น 30 นาที ถ้าทำได้จะเกิดผลดีหลายด้าน โดยเฉพาะสุขภาพกาย ที่แข็งแรง นอกจากนี้ เป็นการเพิ่มทักษะชีวิต โดยมีการศึกษาที่บอกว่า ถ้าเด็กเล่นมากขึ้น จะส่งออกมาเล่น ผลถึงการเรียนที่ดีขึ้นด้วย"  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ กล่าว


ด้าน พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ นายกสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงความสำคัญของการออกกำลังกายว่า สมาคมฯ ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายมาโดยตลอด การปลูกฝังกีฬาตั้งแต่วัยเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะนอกจากเด็กจะห่างไกลโรคอ้วนแล้ว กีฬายังปลูกฝังวินัย รู้จักแพ้รู้ชนะ และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนักกีฬาทีมชาติไทย ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ


"สสส.ได้เห็นความสำคัญและเข้ามาร่วมสนับสนุนการจัดแข่งขันกรีฑาสำหรับเด็ก ทางสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์รู้สึกยินดีอย่างยิ่ง เพราะการออก กำลังกายนอกจากเด็กจะมีสุขภาพที่ดีแล้ว การส่งเสริมเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านกีฬาจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เด็กเป็นยุวชนทีมชาติ มาสู่เยาวชนทีมชาติ และนักกีฬาทีมชาติต่อไป"  พล.ต.อ.สันต์ กล่าว


ออกมาเล่น


สอดคล้องกับที่ พล.ต.ต.สุรพงษ์ อาริยะมงคล อุปนายกและเลขาธิการสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวเสริมเรื่อง คู่มือกรีฑาสำหรับเด็ก (Kids' Athletics) ว่า สมาคมฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสหพันธ์นานาชาติ โดยคาดหวังด้านการเสริมสร้างสุขภาพให้เด็กประถมวัย 8-12 ปี


"การออกกำลังกายมีผลสำคัญต่อชีวิตของเราทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กปฐมวัย การที่ สสส.ให้การสนับสนุนโครงการฯ นี้ และโรงเรียนทั้งหมด 51 โรงเรียนได้เข้าร่วมแข่งขัน Kids' Athletics นั้นถือว่า มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กประถมวัย เพื่อให้ออกกำลังกายตามเกณฑ์อายุ เพราะการออกกำลังกายของเด็กต้องสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย ถึงจะเติบโตแบบมีคุณภาพ และเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของแผ่นดิน" พล.ต.ต.สุรพงษ์ กล่าว


สำหรับ ด.ญ.ศริสเตียนา เฟบิรี หรือน้องคิดตี้ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 เล่าให้ฟังด้วยความร่าเริงว่า กิจกรรมการแข่งขันกีฬาเป็นสิ่งที่เธอโปรดปราน เพราะทำให้เธอแข็งแรงและไม่เคยป่วยเลย นอกจากนี้ ออกมาเล่น อยากเชิญชวนเพื่อนๆ หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงด้วย


การจัดการแข่งขัน Kids' Athletics จะจัดขึ้นในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 13 แห่ง และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 38 แห่ง รวม 51 แห่งทั่วประเทศ โดยรอบคัดเลือกจะจัดขึ้นในวันที่ 3 ตุลาคม 2559 ที่ จ.สุพรรณบุรี และจ.อุดรธานี วันที่ 6 ตุลาคม 2559 ที่ จ.ตรัง และจ.เชียงใหม่ และมีการแข่งขันชิงชนะเลิศในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 ที่ จ.สุพรรณบุรี


การเล่นกีฬานอกจากจะทำให้สุขภาพกายแข็งแรงแล้วนั้น ยังเสริมสร้างพัฒนาการ และทักษะชีวิตให้เด็กอีกด้วย การจัดการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการปลูกฝังให้เด็กรักสุขภาพ ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และพร้อมจะขยายผลไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ

Shares:
QR Code :
QR Code