อบรมครู ศพด. เพื่อพัฒนาเด็กด้วยพลังสื่อ

สสส. ผนึกกำลังเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์  อบรมครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  220 แห่ง หวังสร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาศักยภาพเด็กด้วยพลังสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ พร้อมยกระดับ 21 ศูนย์เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ


 อบรมครู ศพด. เพื่อพัฒนาเด็กด้วยพลังสื่อ thaihealth


เมื่อวันที่ 4 ก.ค. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัด “อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้ชุด โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2558 เพื่อเสริมทักษะและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กเล็ก ให้เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีครบด้าน


ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์  ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่สำคัญในการดูแลและพัฒนาเด็กช่วงวัย 2-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดกว่า 80% ของชีวิตมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ จะสามารถสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ มีข้อมูลการสำรวจประเมินคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.) จากองค์การยูนิเซฟ กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีเพียงร้อยละ 67 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์  สสส. จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเปิดโอกาสให้ครู ศพด. ที่สมัครเข้ามาร่วมโครงการจำนวน 220 ศูนย์ เข้าร่วมแลกอบรมครู ศพด. เพื่อพัฒนาเด็กด้วยพลังสื่อ thaihealthเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร และภาคีเครือข่าย สสส. ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย


“กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ประกอบด้วย สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ซึ่งจะทำให้ครูผู้เข้าอบรมได้เข้าใจกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาสุขภาวะเด็กอย่างรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ ผ่านวิถีอาหารและการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน การเล่น และศิลปะต่างๆ อาทิ ดนตรี งานวาด งานปั้น ฯลฯ” ทพ.กฤษดา กล่าว


ทพ.กฤษดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สสส. มุ่งหวังว่าการจัดอบรมในครั้งนี้จะสร้างแรงดาลใจให้ครูในศูนย์ฯ ได้เห็นคุณค่าของงาน เกิดความสุขในการพัฒนาเด็ก สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคและความรู้ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายครู ศพด. ที่จะเกิดขึ้นผ่านทางโซเซียลมีเดียเพจ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์” ซึ่งจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังใจให้กันและกัน เพื่อร่วมสร้างสรรค์การพัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาวะที่ดีครบทุกด้านต่อไป  


รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม และ สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. โดย กลุ่มแผนงานสื่อสร้างสรรค์ ได้แก่ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนทุนแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งโครงการได้ดำเนินการในปีแรกด้วยการสนับสนุน ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 138 ศูนย์  ได้ใช้กระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน่ายินดี เช่น เด็กๆในศูนย์เกิดความสุขจากการได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์ ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้สุขภาวะและเกิดพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยด้วยกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ชุมชนเห็นคุณค่าของงานที่ครูในศูนย์ฯได้ดำเนินงานและเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์ฯ”


“ ในปีที่ 2 เป็นการขยายผลและต่อยอดจากโครงการในปีแรก โดยสนับสนุนการจัดกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์อบรมครู ศพด. เพื่อพัฒนาเด็กด้วยพลังสื่อ thaihealthในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 220 ศูนย์ เน้นการบูรณาการแนวคิดสุขภาวะด้วยกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความเข้าใจแนวคิดและกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการเด็กปฐมวัย สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูศพด”


นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน  กล่าวว่า โครงการฯ ยังได้ยกระดับศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ร่วมโครงการในปีที่ 1 จำนวน 21 ศูนย์ ให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยจะมีจุดเด่น ทั้งด้านการบริหารจัดการศูนย์ฯ  มีนวัตกรรมในด้านการจัดกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ครูมีความรู้ ศักยภาพ และแรงบันดาลใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก รวมทั้งสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างเครือข่าย ต่อยอด ขยายผลโดยพัฒนาและสร้างสรรค์อย่างหลากหลายจากต้นทุนด้านพื้นที่  บุคคล  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยโครงการฯจะได้ติดตามหนุนเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบอย่างต่อเนื่อง ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 168 ศูนย์ซึ่งได้ร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา ก็จะได้รับการติดตามหนุนเสริมศักยภาพและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูในโครงการฯ โดยได้เปิดช่องทางการสื่อสารเชื่อมต่อเครือข่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook : มหัศจรรย์ ศพด”


 


 


ที่มา: สำนักข่าวสร้างสุข

Shares:
QR Code :
QR Code