หมอประกิตชงแก้ พ.ร.บ.ห้ามธุรกิจบุหรี่ ทำCSR หวั่นสร้างภาพดีองค์กร

หมอประกิตชงแก้ พ.ร.บ.ห้ามธุรกิจบุหรี่ ทำcsr หวั่นสร้างภาพดีองค์กร

เลขาฯมูลนิธิไม่สูบบุหรี่เสนอแก้พ.ร.บ.ยาสูบ ห้ามธุรกิจบุหรี่ใช้กลยุทธ์กิจกรรมซีเอสอาร์สร้างภาพลักษณ์ เกรงบั่นทอนพลังองค์กรรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ชงให้อำนาจสาธารณสุขจังหวัดเขียนใบสั่งปรับผู้กระทำผิดสูงสุดไม่เกิน20,000 บาท

ศ.น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจศ.น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่17 เมษายน 2555 เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 มติ 6 มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบโดยหนึ่งในสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังคือ ห้ามธุรกิจยาสูบทำกิจกรรมภายใต้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (corporate social responsibility; csr)

“การทำ csr เป็นกลยุทธ์สำคัญที่บริษัทยาสูบใช้สร้างรากฐานทางสังคมเพราะผู้ได้รับเงินสนับสนุนหากเป็นชาวบ้านย่อมมีจิตสำนึกในความมีน้ำใจของบริษัทขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทบุหรี่ เพราะชื่อของบริษัทจะปรากฏคู่กับองค์กรหรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนยิ่งถ้ามีชื่อเสียงก็จะยิ่งช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทแต่ตรงกันข้ามเป็นการบั่นทอนพลังขององค์กรที่ร่วมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ทำให้สังคมรู้สึกว่ากลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีน้ำใจเปิดกว้าง ซึ่งกลยุทธ์เช่นนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง” ศ.น.พ.ประกิต กล่าวและว่า

หมอประกิตชงแก้ พ.ร.บ.ห้ามธุรกิจบุหรี่ ทำcsr หวั่นสร้างภาพดีองค์กรดังนั้นมูลนิธิจึงร่วมกับสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเสนอแก้ไขร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบพ.ศ. 2535 โดยมีกรอบดังนี้ 1.ห้ามธุรกิจยาสูบทำกิจกรรม csr 2.ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับจังหวัดมีอำนาจในการเขียนใบสั่งผู้กระทำผิด3.พิจารณาปรับเพิ่มโทษผู้กระทำผิดจากเดิมโทษสูงสุดผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าของสถานที่คือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และผู้เสพปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ศ.น.พ.ประกิต กล่าวอีกว่า ในส่วนของรายละเอียดการแก้ไขพ.ร.บ.คงต้องประชุมหารือกันอีกครั้งหนึ่ง คาดว่าภายใน2-3 เดือนนี้จะพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เสร็จ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อนำเสนอครม.พิจารณาอีกครั้งก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร “ส่วนตัวยังอยากให้บริษัทบุหรี่แจงค่าใช้จ่ายด้านการตลาดให้สาธารณชนรับรู้มากยิ่งขึ้น เพราะที่มีอยู่ตอนนี้เชื่อว่าเป็นตัวเลขที่ไม่แท้จริงโดยตัวเลขอาจซ่อนเร้นหรืออยู่ในรูปของการทำตลาดด้านอื่นซึ่งขึ้นอยู่กับอำนาจของกระทรวงพาณิชย์ในการบังคับใช้”

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

Shares:
QR Code :
QR Code