หมอชี้สมองเสื่อมสัมผัสกับอายุแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า รองผอ.ร.พ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น กล่าวในตอนหนึ่งของการรณรงค์โรคสมองเสื่อม ว่ายังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกถูกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหม

ในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า 34 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 24% ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีแต่พบก็ในคนวัย 40 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคนี้เช่นกัน มีปัจจัยเสี่ยงที่น่าสงสัยหลายอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ ไวรัสที่ก่อตัวอย่างช้าๆ หรืออาจเป็นเพราะสารพิษบางอย่าง อาการแบ่งได้เป็นระยะแรกกับระยะหลัง โดยระยะแรกจะมีอาการความจำเสื่อมลง สมาธิในการฟังเสื่อม คิดเลขง่ายๆ ก็ไม่ได้ และอารมณ์แปรปรวนง่าย ส่วนระยะหลังนั้นจะมีอาการคล้ายกับระยะแรกแต่รุนแรงมาก คือ สูญเสียความทรงจำมากขึ้น ขนาดจำคนใกล้ชิดไม่ได้ และอารมณ์ก็จะแปรปรวนมากจนควบคุมไม่ได้ ไม่สามารถช่วยตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้

ด้านพญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม-ประเทศไทย เปิดเผยว่าโรคสมองเสื่อมจึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แนวทางที่จะรับมือกับโรคนี้ได้จึงอยู่ที่การป้องกัน รู้เท่าทัน และการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบครัวต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อผู้สูงอายุมีอาการที่สงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อมให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการในระยะแรกๆ เป็นหัวใจสำคัญอันหนึ่งของการรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมให้ได้ผลดีที่สุด

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด 

 

Shares:
QR Code :
QR Code