หนังสือภาพกับบริบทของสังคมไทย

การสำรวจเด็กและเยาวชน พ.ศ.๒๕๕๑ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ทั่วประเทศมีเด็กเล็ก ๐-๕ ปี จำนวน ๕.๕ ล้านคน (ชาย ๒.๘ ล้านคน หญิง ๒.๗ ล้านคน)

ร้อยละของสมาชิกในครัวเรือนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับเด็กอายุ ๐-๕ ปี (๒๕๕๑)

การสำรวจจำนวนหนังสือสำหรับเด็กที่มีอยู่ในบ้าน

ร้อยละของเด็กเล็ก ๐-๕ ปี ที่มีหนังสือสำหรับเด็กในบ้าน จำแนกตามรายภาค (๒๕๕๑)

ผลสำรวจเรื่อง “การอ่านหนังสือของคนไทย” ในปี ๒๕๕๑  พบว่า เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า ๖ ปี ทั่วประเทศมีประมาณ ๕.๙ ล้านคน (ชาย ๓.๐ ล้านคน หญิง ๒.๙ ล้านคน) มีผู้ที่อ่านหนังสือเองหรือผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟัง (นอกเวลาเรียน) ประมาณ ๒.๑  ล้านคน หรือร้อยละ ๓๖.๐ ของจำนวนเด็กเล็กทั้งหมด

ในกลุ่มเด็กเล็กที่อ่านหนังสือหรือมีผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง  นี้ อ่านสัปดาห์ละ ๒- ๓ วัน มากที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๖) และใช้เวลาในการอ่านเฉลี่ย ๒๗ นาทีต่อวัน

ร้อยละ ๗๐.๗ ของเด็กเล็กที่อ่านหนังสือ มีผู้ใหญ่ซื้อหนังสือให้อ่านเพิ่มเติมจากตำราเรียนตามหลักสูตร และส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือให้เด็กเฉลี่ยไม่เกิน ๒๐๐ บาทต่อเดือน (ร้อยละ ๖๖.๑)

จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ อาจสรุปได้ว่า ในสังคมไทย การใช้หนังสือเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยยังค่อนข้างน้อย ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟังมีเพียงร้อยละ ๓๖.๐ ของครอบครัวที่มีเด็กเล็ก และจำนวนหนังสือสำหรับเด็กที่มีในบ้านตามเกณฑ์ที่กำหนด (๓ เล่ม) ก็มีเพียงร้อยละ ๔๐.๗

 

หมายเหตุ

* ๑ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๑ จากครัวเรือนตัวอย่าง ๕๙,๐๐๐ ครัวเรือน เป็นการสำรวจกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุตั้งแต่ ๐-๒๔ ปี โดยแยกรายละเอียดเป็น ๔ กลุ่มอายุ คือ ๐-๕ ปี, ๖-๑๑ ปี , และ ๑๘-๒๔ ปี และให้นิยามว่า ๑๗ ปี ส่วน “เยาวชน” คือผู้ที่อายุ ๑๘-๒๔ ปี

* ๒ การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ.๒๕๕๑ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจในช่วงเดือนพฤาภาคม-มิถุนายน ๒๕๕๑ จากครัวเรือนตัวอย่าง ๕๓,๐๔๐ ครัวเรือน มีการสำรวจเป็น ๒ กลุ่ม คือ การอ่านหนังสือของเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า ๖ ปี และการอ่านหนังสือของผู้ที่มีอายุ ๖ ปีขึ้นไป

* ๓ เด็กเล็กที่อ่านหนังสือเกือบทั้งหมด (ร้อยละ ๙๘.๙) มีผู้อ่านหนังสือให้ฟัง และมีร้อยละ ๑.๑ ที่เด็กอ่านด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีผู้ปกครองอ่่านหนังสือให้ฟัง

 

แหล่งที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

Shares:
QR Code :
QR Code