ส่งจานร่อน สู่ รร. หนุนคนพิการออกกำลังกาย

จากข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำ ตัวคนพิการ ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ย. 2537 ถึงวันที่ 31 ก.ค. 2556 พบว่า มีคนพิการทั้งสิ้น 1,379,103 คนโดยเกือบครึ่งเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว หรือทางร่างกาย และยังมีคนพิการอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน  ในจำนวนนี้คนพิการกว่าครึ่งไม่มีอาชีพเมื่อเจ็บป่วยจะมีปัญหามากกว่าปกติ ยิ่งไปอีก คนพิการหากไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองอย่างดีโรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนได้ง่าย การออกกำลังกายจะช่วยให้คนพิการมีสุขภาพ ดีขึ้น

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ ผู้อำนวยการสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าว ว่า การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อสุขภาพของคนทุกคน โดยเฉพาะคนพิการที่มีความหลากหลายของความพิการจำเป็นต้องออกกำลังกายและเล่น กีฬาเพื่อส่งเสริมให้มีสมรรถภาพทางกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์ สสส.ได้ริเริ่มโครงการกีฬาสร้างเสริมสุขภาพสำหรับคนพิการ เพื่อนำร่องการออกกำลังกายโดยใช้จานร่อนเป็นเครื่องมือในการออกกำลังกายและ มีกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลเป็นกีฬานำร่องควบคู่กัน โดยจะเริ่มฝึกสอนให้กับครูในโรงเรียนสอนผู้พิการ และโรงเรียนที่มีเด็กพิการเรียนร่วมเพื่อไปถ่ายทอดวิธีการเล่น ให้เด็ก ๆ หลังจากนั้นจะจัดการแข่งขัน โดยสสส.สนับสนุนจานร่อนให้ฟรีซึ่งแตกต่างจากจานร่อนทั่วไปที่มีการพิมพ์ อักษรเบรลล์ไว้ด้วย

ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล  ประธานแขนงวิชาการจัดการนันทนาการท่องเที่ยว คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าว ว่า คนพิการเล่นกีฬาได้เกือบทุกประเภทแต่ควรปรับอุปกรณ์บางอย่างเพื่อช่วยการออก กำลังกาย อย่างอื่นเช่น กรีฑาคนตาบอดก็ออกมาเล่นมากเพราะจะมีบัดดี้ ชนิดกีฬาที่คนพิการไทยเก่งมากคือกีฬาประเภทล้อ เพราะฝึกฝนอย่างจริงจังแม้จะมีข้อจำกัดเรื่องความไม่พร้อม แต่ความมานะอดทนของคนพิการไทยมีสูง

สำหรับจานร่อนคือ การออกกำลังกายแบบพื้นฐานเพราะจานร่อนไม่ได้ใช้ทักษะใดมากมาย ใช้การออกกำลังกายส่วนบนเป็นส่วนใหญ่ สามารถช่วยระบบไหลเวียนเรื่องการหายใจยังไม่ได้ถึงกับการเสริมสร้างกล้าม เนื้อ ซึ่งการส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายสำหรับคนพิการนั้นสมาคมคนพิการกำลัง ศึกษาหากิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนไหว

“ความจริงคำว่าเหนื่อยไม่เพียงแต่หนักอย่างเดียว การออกกำลังกายด้วยการยกขวดน้ำก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายได้”

ผู้อำนวยการสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวอีกว่า สสส.จะเร่งส่งเสริมให้มีพื้นที่สาธารณะสำหรับคนพิการมากขึ้นโดยที่คนทั่วไป ก็มาใช้ได้ด้วยเพื่อออกมาสู่สังคม พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดความสะดวกเพื่อให้คนพิการเดินทางมาออกกำลังกายได้ มากขึ้น เช่น รถเมล์ ทางเท้าที่ไม่มีร้านค้าเกะกะทางเดิน

“เมื่อคนปกติอยากออกกำลังกายคือ ไปวิ่งเข้าฟิตเนส แต่คนพิการมีช่องว่างแม้จะมีใจที่อยากออกกำลังกายแต่เดินทางไปไม่สะดวก ถือว่าเป็นช่องว่างที่ใหญ่มากระหว่างตัวเขาเองกับสถานที่ที่จะไปออกกำลังกาย ดังนั้น แผนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะนอกจาก โปรโมตกระตุ้นให้คนหันมาออกกำลังกายมากขึ้น ขณะเดียวกันจะเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อความง่ายในการที่เขาจะไปใช้บริการต้องทำ คู่กัน

ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 20-29 พ.ย.นี้ สสส.ร่วมกับสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมจัดการแข่งขัน “ศึกวีลแชร์บาสเกตบอลชิงแชมป์ เอเชีย-โอเชียเนีย 2013 ภายใต้แนวคิด กีฬาเปลี่ยนชีวิตทุกคนได้ ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 และ 2 ศูนย์กีฬาเยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง กทม.

พัทยา ประถิ่น ผู้ช่วยโค้ชวีลแชร์บาสเกตบอลทีมชาติไทย บอกว่า การเล่นกีฬาด้วยวีลแชร์ นักกีฬาไทยยังขาดแคลนรถวีลแชร์สำหรับการฝึกซ้อม ซึ่งในประเทศมีเพียง 15-20 คัน  เพราะราคารถวีลแชร์เพื่อการแข่งขันนั้นมีคุณสมบัติดีกว่ารถวีลแชร์ทั่วไปที่ โครงสร้างทำจากอะลูมิเนียมอย่างดีไม่ เหนียว และเบา ต้องนำเข้าราคาคันละ 100,000 บาทเป็นอย่างต่ำ ขณะที่ของคนไทยประดิษฐ์เองเฉลี่ยคันละ 50,000-60,000 บาท ลำพังงบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอ คิดว่าถ้าศูนย์กีฬาคนพิการทั่วประเทศถ้ามีรถวีลแชร์เพื่อการแข่งขันอยู่จะ ช่วยส่งเสริมให้คนพิการมาเล่นกีฬามากขึ้น

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

Shares:
QR Code :
QR Code