สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจาก สสส.


สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล thaihealth


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เจแปนฟาวน์เด ชั่น กรุงเทพฯ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย สมาคมญี่ปุ่นแห่งประเทศ ไทย และ SASAKAWA PEACE FOUNDATION จัดงานเสวนาสาธารณะ หัวข้อ"สังคมสูงวัยไทย-ญี่ปุ่น : สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล (Digital and Active Ageing in Japan and Thailand)"


นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลแนวทางเชิงนโยบาย ปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ต่อมาตรการในการเตรียมพร้อมรับมือ ตลอดจนบทบาทสื่อ คนรุ่นใหม่ และศิลปินผู้สูงวัยที่มีพลังในการสร้างสรรค์ ศิลปะวัฒนธรรม ต่อการสร้างพลังบวก


ทั้งนี้สถานการณ์สูงอายุไทย ปี 2560 มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 11.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.1 ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ในปี 2564 โดยประชากร สูงอายุจะมีถึง 1 ใน 5 และในปี 2574 จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ญี่ปุ่นและเกาหลีก็เป็นประเด็นน่าสนใจ มีการออกแบบนวัตกรรมที่ใช้ในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่น ธนาคารเวลา ศูนย์สวัสดิการสังคม


สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล thaihealth


ดร.คิอิชิโร่ โออิซูมิ ผู้อำนวยการของสมาคมเอเชียศึกษา และสมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึง "ความเหมือนและความต่างของนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการ เตรียมพร้อมสำหรับสังคมสูงวัยในญี่ปุ่นและไทย" ว่า คนญี่ปุ่นอายุขัยเฉลี่ยราว 80 ปี คนไทยราว 70 ปี อย่างไรก็ตาม ประชากรหนุ่มสาวคนไทยยังมีเวลาเตรียมตัว หากมีการกำหนดให้ผู้สูงอายุมีอายุ 65 ปีขึ้นไปเหมือนญี่ปุ่น แต่ไทยนิยามให้ผู้สูงอายุต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทำให้มีสัดส่วนผู้สูงอายุเร็วขึ้น ดังนั้น อยากให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดเป็นสูงวัยที่มีความกระปรี้กระเปร่า (Active Ageing)


สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล thaihealth


ดร.คิม ซุง-วอน อาจารย์ในมหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าวในหัวข้อ "สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของสังคมสูงวัยในเกาหลีใต้" ว่า สังคมเกาหลีใต้และไทยมีเวลา 18 ปี ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย ขณะที่ญี่ปุ่นใช้เวลา 25 ปี เกาหลีใต้จึงนำเอาระบบประกันแบบบำนาญที่ดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวของญี่ปุ่นมาเป็นแบบอย่างซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี แต่ไม่สามารถใช้ในเกาหลีใต้ได้ รัฐบาลญี่ปุ่นให้งบประมาณในการอุดหนุนมากกว่าทำให้ได้รับบริการที่ครอบคลุมเพียงพอในการดำเนินชีวิต เพราะหมายถึงการใช้งบประมาณจำนวนมากและการเป็นหนี้สาธารณะของประเทศ


สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล thaihealth


ผู้สูงอายุของเกาหลีใต้จึงเป็นผู้สูงอายุที่ยากจนที่สุดในโลก ต้องทำงานพึ่งพิงลูกหลาน และได้รับเงินสวัสดิการจำนวนน้อยนิด ดังนั้นเกาหลีใต้จึงริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งจะประสบความสำเร็จได้มากกว่า ในปี 2549 จึงตั้งศูนย์สวัสดิการสังคมในชุมชนขึ้น 4 แห่ง เพื่อทำงานขับเคลื่อนสังคมเป็นตัวกลางระหว่างผู้สูงอายุและชุมชน ศูนย์สวัสดิการสังคมในชุมชนจึงเป็นทั้งโรงอาหาร ส่งอาหาร ตรวจสุขภาพ ฯลฯ และยังมีเจ้าหน้าที่ที่คอยประสานกับเอกชนให้บริจาคเป็นบริการ ต่าง ๆ เช่น ตัดผม รับประทานอาหารในร้าน คาราโอเกะ โดยการใช้คูปอง ในปี 2558 จึงมีศูนย์สวัสดิการสังคมในชุมชน 454 แห่ง ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นผลสำเร็จ


สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล thaihealth


ด้าน "ครูเล็ก" ภัทราวดี มีชูธน ผู้ก่อตั้ง โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน มาร่วมบอกเล่าวิธีการสร้างพลังบวกว่า เริ่มสตาร์ทอัพเมื่อตอนอายุ 60 ตอนที่ไปสร้างโรงเรียนที่หัวหิน บนที่ดินของคุณแม่ เพราะอยากถ่ายทอดความรู้ประสบ การณ์ที่เราเคยได้จากพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาที่ดี เพื่อนฝูงที่ดี อยากจะแชร์ตรงนี้ให้กับคนรุ่นใหม่ เช่นสอนให้เด็กผู้ชายเป็นสุภาพบุรุษ เอาเรื่องเก่า ๆ มาสร้างสรรค์วิชาใหม่ ๆ โดยทำตัวเองให้เป็นครูที่สอนสนุก


"ไม่เคยคิดว่าตัวเองแก่ เวลาใครถามว่าอายุเท่าไร อายุ 71 ปี ยังเล่นสเกตบอร์ด ปีนรั้วสอนเด็ก ๆ ทำงานกับเด็กข้างถนน และการเป็นครูก็เหมือนเป็นการแสดงอย่างหนึ่ง มันคือศิลปะ" ครูเล็ก ดารานักแสดงสาวไฮโซผู้มีชื่อเสียงในสังคมไทย นิยามถึงตัวเองในวัยที่พ้นเกษียณมา 10 ปีแล้ว

Shares:
QR Code :
QR Code