สิ่งที่คุณควรเก็บสำรองไว้ที่บ้าน

สิ่งที่คุณควรเก็บสำรองไว้ที่บ้าน

สิ่งของประเภทใดที่คุณควรหาเก็บไว้ให้พอใช้ได้ 6 สัปดาห์

 

การระบาดทั่วโลกมักจะอยู่นานประมาณ 6 8 สัปดาห์ในแต่ละพื้นที่

 

น้ำ

 

การสำรองสิ่งของเครื่องใช้ในยามฉุกเฉินนั้นเป็นเรื่องที่ดี เช่น น้ำขวด หรือน้ำในภาชนะพลาสติก เป็นต้น ควรจะวางแผนในการสำรองน้ำไว้ประมาณ 4 ลิตรต่อคนต่อวัน (2 ลิตรสำหรับดื่ม และอีก 2 ลิตรสำหรับใช้ภายในบ้าน) ปริมาณของน้ำขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ เป็นต้น ในช่วงฤดูร้อน ความต้องการน้ำอาจมีมากขึ้นเป็นสองเท่า และสำหรับเด็ก มารดาที่กำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือผู้ป่วยที่อาจต้องการน้ำเพิ่มขึ้นอีก คุณควรสำรองน้ำให้มากพอ สำหรับระยะเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ ถ้าเป็นไปได้ นอกจากนั้นควรจะหาซื้อเครื่องกลั่นหรือกรองน้ำไว้หากการสำรองน้ำปริมาณมากๆ เป็นเรื่องที่ยากลำบาก

 

อาหาร

 

– เก็บสำรองอาหารที่ไม่เน่าเสีย สำหรับระยะเวลา 6 สัปดาห์

 

– เลือกอาหารบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น เผื่อในกรณีไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ชั่วคราว ในขณะที่น้ำสะอาดอาจจะมีอย่างจำกัด คุณเลือกอาหารที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำในการปรุงรับประทาน อาหารที่คุณควรจะพิจารณา ได้แก่

 

            – เนื้อสัตว์ ซุป ผลไม้ หรือผักที่บรรจุในกระป๋องปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน

 

            – อาหารแห้ง เช่น บะหมี่ (จำไว้เสมอว่าคุณจะต้องใช้น้ำจำนวนหนึ่งเพื่อปรุงอาหารเหล่านี้) ซีเรียล อาหารเช้าธัญพืชสำเร็จ ผลไม้แห้ง และขนมปังกรอบ

 

            – น้ำผลไม้กระป๋อง

 

            – เนยถั่วและถั่ว

 

            – อาหารให้พลังงานสูง เช่น โปรตีน หรือผลไม้แท่ง

 

            – เครื่องปรุงรส (เกลือ น้ำตาล พริกไทย เครื่องเทศ เป็นต้น)

 

            – อาหารสำหรับทารกที่บรรจุกระป๋อง หรือที่อยู่ในขวดปรุงสำเร็จ และนมผงสำหรับทารก

 

            – อาหารสัตว์

 

ควรจะเก็บรักษาอาหารอย่างไร

 

– เก็บอาหารไว้ในที่ที่แห้งและเย็นที่สุดของบ้าน ในบริเวณที่มืดๆ หากเป็นไปได้

 

– เก็บอาหารในภาชนะที่มีฝาปิดตลอดเวลา

 

– เปิดกล่องอาหารหรือกระป๋องอย่างระมัดระวังเพื่อที่คุณจะสามารถปิดกลับได้สนิทหลังจากที่ใช้แล้ว

 

– ห่อคุกกี้หรือขนมปังกรอบในถุงพลาสติก พยายามเก็บเอาไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันการเน่าเสียและยืดอายุของอาหารให้ยาวขึ้น

 

– เปิดหีบห่อน้ำตาล ผลไม้แห้ง และถั่ว แล้วบรรจุลงในขวดโหลที่มีฝาปิดแน่นหรือกระป๋องที่อากาศเข้าไม่ได้เพื่อป้องกันมดแมลง

 

– คอยตรวจดูภาชนะบรรจุอาหารว่ามีร่องรอยของการเน่าเสียหรือไม่ก่อนจะใช้ทุกครั้ง

 

– ถ้ากระแสไฟฟ้าถูกตัด พยายามลดการเน่าเสียโดยใช้อาหารในตู้เย็นก่อน แล้วตามด้วยอาหารในช่องแช่แข็ง แล้วคอยเป็นอาหารที่ไม่เน่าเสีย

 

 

แหล่งพลังงาน

 

– หาซื้อเทียนไข โคมไฟพาราฟิน แบตเตอรี่ ฯลฯ เผื่อยามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้

 

– พยายามคิดหาทางออกหากคุณต้องทำอาหารโดยไม่มีไฟฟ้าหรือแก๊ส

 

– จัดซื้อวิทยุสื่อสารและไฟฉายมาไว้ใช้

 

– หาซื้อโทรศัพท์ที่สามารถต่อสายโทรศัพท์ได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้า

 

 

สิ่งที่คุณควรเก็บสำรองไว้ที่บ้าน

สิ่งของเครื่องใช้ทางการแพทย์ประเภทใดที่ควรเก็บสำรองไว้

 

บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินอาจมีอย่างจำกัดในช่วงเวลาที่วิกฤติ ดังนั้นคุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องปฐมพยาบาลที่บ้านของคุณยังอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ตรวจดูวันหมดอายุของสิ่งของทุกชิ้น และทำการเปลี่ยนใหม่หากพบว่าหมดอายุ หรือใกล้หมดอายุแล้ว

 

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เครื่องวัดอุณหภูมิสำหรับทุกคนในครอบครัว ซึ่งควรจะหาซื้อไว้ล่วงหน้า ควรเก็บสำรองยาตามใบสั่งแพทย์ตามที่คุณอาจต้องใช้ ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าสมาชิกในครอบครัวของคุณเป็นเบาหวาน คุณก็ควรเตรียมยาให้พอสำหรับ  6 สัปดาห์ หรือหากบางคนมีปัญหาโรคหัวใจ คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอให้สั่งจ่ายยาเพิ่มขึ้นเพื่อคุณจะสามารถหาซื้อยาได้อย่างเพียงพอในยามฉุกเฉิน

 

สิ่งที่คุณควรจะพิจารณาเก็บสำรองไว้ คือ

 

– สบู่

– ถุงมือแพทย์

– ยาฆ่าเชื้อ

– ยาขี้ผึ้งสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

– ถุงเย็นพยาบาล

– กรรไกร (ขนาดเล็กสำหรับใช้ส่วนตัว)

– เครื่องช่วยหายใจ

– หน้ากากอนามัย อาจเป็นหน้ากากธรรมดา 3 ชั้น

– ยาลดไข้บรรเทาปวด สำหรับเด็กและผู้ใหญ่

– ยาแก้ท้องเสีย

– ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

– ไวตามิน

– สารน้ำผสมเกลือแร่ (ผงน้ำตาลเกลือแร่ ORS)

 

สิ่งที่คุณควรเก็บสำรองไว้ที่บ้าน

สิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ ได้แก่

 

– อุปกรณ์เครื่องนอนสำรอง เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าพลาสติกคลุมที่นอน เป็นต้น

– น้ำยาล้างมือผสมแอลกอฮอล์

– ถุงขยะ และอุปกรณ์ทำความสะอาด (ไวรัสถูกกำจัดได้ง่ายด้วยน้ำยาที่มีส่วนผสมของฟอร์มาลิน และไอโอดีน) สำหรับการอาบน้ำ ใช้สบู่และน้ำก็เพียงพอแล้ว

– คอนแทคเลนส์สำรอง

– ฟันปลอมและของใช้ส่วนตัวอื่นๆ เช่น กระดาษทิชชู ผ้าอ้อมสำเร็จ

– แบตเตอรี่สำหรับเครื่องช่วยฟัง

– เครื่องดับเพลิง (ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณรู้วิธีใช้)

– นาฬิกาที่ใช้แบตเตอรี่ (รวมไปถึงแบตเตอรี่สำรองด้วย)

– ไฟฉาย

– ถ่านไฟฉายสำรอง

– วิทยุสื่อสารเคลื่อนที่

– ที่เปิดกระป๋อง

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือไวรัสหวัด 2009 (H1 N1)

 

 

Update:27-07-52

อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่

 

 

 

 

 

ดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมด คลิกที่นี่

 

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code