สารพฤกษเคมีในผักและผลไม้ คืออะไร

ในผักและผลไม้ยังมีสารพฤกษเคมีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย พบมากในเม็ดสีของพืช ซึ่งส่วนใหญ่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง…

สารคลอโรฟิลล์ พบมากในพืชใบเขียว เช่น กวางตุ้ง บัวบก ชะพลู

สารคาโรทีนอยด์ พบมากในพืชที่มีสีส้มเหลือง และสีแดงส้ม เช่น แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง ส้ม มะละกอ

สารลูทีน พบมากในพืชที่มีสีเหลือง เช่น ข้าวโพด

สารไลโคปีน พบมากในพืชที่มีสีแดง เช่น มะเขือเทศ แตงโม สตรอเบอรี่

สารแอนโทไซยานิดิน พบมากในพืชที่มีสีน้ำเงิน ม่วงแดง เช่น กะหล่ำม่วง หัวบีท องุ่นม่วงแดง เชอร์รี่

สารอัลลิซิน พบมากในพืช ที่มีสีออกขาว เช่น กระเทียม

สารอินดอล ไอโซไทโอไซยาเนท พบมากในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น ดอกกะหล่ำ บรอคโคลี ผักกาดขาว กะหล่ำปลี

ทั้งนี้ แนะนำให้รับประทานผัก ผลไม้ที่หลากหลาย และมีสีสันต่างๆ หมุนเวียนไป เพื่อให้ร่างกายได้รับสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างสมดุลด้วย

 

 

ที่มา: หนังสือผักและผลไม้กินเท่าไรในแต่ละวันให้ได้ใยอาหารต่อสุขภาพ สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

Shares:
QR Code :
QR Code