สัญญาประชาคม “การผลักดันนโยบายแห่งชาติ”
เพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เครือข่ายขับเคลื่อนสังคมเพื่อประชาชนมีสุข ร่วมกับภาคเครือข่ายในภาคใต้ จัดเวทีเสนอนโยบายแห่งชาติเพื่อสันติสุขภาวะพื้นที่ภาคใต้จังหวัด ปัตตานี เพื่อให้ภาคประชาชนได้เสนอแนวทางปัญหา โดยมีตัวแทนกลุ่มต่างๆ อาทิ ผู้แทนศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการศึกษา เครือข่ายประมงพื้นบ้าน และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงมาร่วมให้ความเห็นนโยบายต่อไปนี้เป็นแนวทางร่วมที่ทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคการเมือง เห็นพ้องกันว่าจะเป็นนโยบายที่นำสันติสุขภาวะกลับสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๑.การปฎิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่
๑.๑ การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการของ ศอบต. ให้เป็นองค์กรอิสระขึ้นตรงกับ นายกรัฐมนตรีโดยเป็นองค์กรที่มีคุณลักษณะดังนี้
*มีอำนาจในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาและการวางแผนพัฒนา
*มีอำนาจเบ็ดเสร็จในเรื่องงบประมาณ
*มีอำนาจในการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐทุกสังกัด ที่มาปฎิบัติในพื้นที่ พิจารณาการย้ายข้าราชการเข้ามาในพื้นที่และการเสนอย้ายข้าราชการที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกนอกพื้นที่ รวมทั้งการจัดอบรม ปฐมนิเทศ การให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ข้าราการที่มีผลงานดีเด่น
*ใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เช่น สัดส่วนของคณะกรรมการบริหารองค์กรให้มีคนในพื้นที่มากกว่าคนนอกพื้นที่
*คณะกรรมการบริหารองค์กรต้องเป็นที่ยอมรับจากประชาชนในพื้นที่
๑.๒ การใช้วิธีมุสลิมบูรณาการกับการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดให้มีสมัชชาประชาชน หรือ สภาชุมชนที่ใช้กระบวนการซูรอ เป็นกระบวนการในการพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วม
๒. การปฎิรูประบบความยิตุธรรม
๒.๑ การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความยุติธรรมในพื้นที่ ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี
โดยเป็นองค์กรที่มีคุณลักษณะดังนี้
*มีระบบการ้องเรียนื ร้องทุกข์เพื่อความเป็นธรรมเป็นภาษาถิ่น
*มีระบบการ้องเรียนโดยเฉพาะเรื่องการเยียวยา
*บูรณาการและเชื่อมประสานกับระบยุติธรรมของรัฐ
๒.๒ การตั้งผู้พิพากษาศาลซารีอะห์ในระบบยุติธรรมคดีครอบครัวและมรดก
๒.๓ การตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ในชายแดนภาคใต้
๓. การปฎิรูประบบการศึกษา
๓.๑ การคงความหลากหลายของการจัดการศึกษาในพื้นที่
๓.๒ พัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสามัญศึกษา ศาสนศึกษา อิสลามศึกษา และอาชีพ ในโรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ ทั้งด้านหลักสูตร และครูผู้สอนให้มีความเป็นเลิศ
๓.๓ การพัฒนาเป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษาและอาหรับศึกษา
๓.๔ การจัดหลักสูตรในทุกระดับให้มีการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม
๓.๕ การจัดการศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
๓.๖ การจัดตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดกับครูการหยุดเรียนของนักเรียน
๓.๗ เสนอให้วันศุกร์วันเสาร์เป็นวันหยุดเรียนของโรงเรียนทุกประเภทในพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเป็นจุดเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายของการจัดการด้านต่างๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๔.การปฎิรูประบบเศรษฐกิจ
๔.๑ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อขจัดความยากจน เช่น
*การฟื้นฟูนาร้าง
*การยกเลิกเรืออวนรุน อวนลาก เรือปั่นไฟปลากะตะ การมีพรบ.ประมงใหม่
๔.๒ การพัฒนาฝีมือแรงงานไทยในพื้นที่ให้มีความสามารถ มีทัษะ และส่งเสริมให้ไปทำงานในต่างประเทศ รวมถึงการดูแลแรงงานไทยในต่างประเทศ
๔.๓ การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล การเป็นครัวโลก
๔.๔ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และส่งเสริมการค้าไทย-มาเลเซีย
๕.การปฎิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม
๕.๑ การจัดสวัสดิการสังคมภายใต้ ระบบซากาต
๕.๒ การพัฒนาให้เป็นพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ความเป็นพหุวัฒนธรรมและความสมานฉันท์
๕.๓ สนับสนุนการสื่อสารสาธารณะ ให้อยู่บนฐานของความรู้ที่สังเคราะห์จากความเป็นจริงในพื้นที่
เพื่อนโยบายข้างต้น ถูกนำไปสู่การปฎิบัติให้เกิดมรรคผล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน และ พรรคชาติไทย จึงได้ตกลงร่วมกันเป็นสัญญาประชาคมและลงนามร่วมกันว่าจะร่วมกันผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายแห่งชาติ เพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสร้างรูปธรรมการดำเนินงานตามนโยบายอย่างเร่งด่วน
อย่าปล่อยให้โอกาสหลุดลอยไป เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะหมดเขตส่งผลงานแล้ว ร่วมนำเสนอความคิดดีๆ ได้ในโครงการประกวดแนวคิด ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะแห่งชาติตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 24 ธันวาคม 2550 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-298-0500 ต่อ 1011 (คุณสวาท) หรือ 1052 (คุณวิลาวรรณ) หรือ www.thaihealth.or.th
เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต
Update : 27-08-51