สสส.-โกมลคีมทอง จัดอาสาสมัครเยาวชนรับมือภัยพิบัติซ้ำ

ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เมื่อแนวทางการทำเพื่อสังคมมันมีหลายแบบมากขึ้น ทำให้กิจกรรมค่ายอาสาที่เน้นเนื้อหาการเรียนรู้สังคมเริ่มน้อยลง คนทำกิจกรรมค่ายอาสาก็ควรทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทันเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริง มิเช่นนั้นก็เหมือนการก้าวไม่พ้นกรอบทางความคิด ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างมาก ต่อนักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังทางสังคมต่อไป

สสส.-โกมลคีมทอง จัดอาสาสมัครเยาวชนรับมือภัยพิบัติซ้ำ

โครงการค่ายอาสาพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพ (ค่ายสร้างสุข) โดยมูลนิธิโกมลคีมทอง ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดงาน “มหกรรมค่ายสร้างสุขสัญจร ตอน บทเรียนนอกรั้วมหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นการร่วมตัวกันของนักกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษจิกายน 2554 ณ ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน บ้านโนนดอกจาน ตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

น.ส.วีรินทร์วดี สุนทรหงส์น.ส.วีรินทร์วดี สุนทรหงส์ ผู้จัดการโครงการค่ายอาสาพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า นอกจากร่วมสร้างกิจกรรมค่ายอาสาฯ ที่เน้นการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน พร้อมฝึกกระบวนการคิดอย่างมีสุขภาวะผ่านการทำงานค่ายสร้างสุข และค่ายต่อเนื่องแล้ว ในการประชุมสมาชิกเครือข่ายค่ายอาสาฯระหว่าง “มหกรรมค่ายสร้างสุขสัญจร ตอน บทเรียนนอกรั้วมหาวิทยาลัย” ที่ จ.กาฬสินธุ์ เมื่อ17-20 พ.ย.ที่ผ่านมา ยังเห็นร่วมกันว่า ช่วงสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ โครงการจะช่วยเหลือสังคมด้วยการตั้งศูนย์ช่วยเหลือและเตรียมการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยในรูปแบบต่างๆ ผ่านการทำกิจกรรมค่ายฟื้นฟูและศูนย์เยาวชนช่วยเหลือผู้ประสบภัย

“โดยซึ่งกิจกรรมที่เพิ่มเติมมานี้เมื่อผนวกกับการทำค่ายอาสาฯ ที่มีอยู่เดิมแล้วทำให้โครงการเกิดการสร้างระบบอาสาสมัครของเยาวชนที่มีจิตอาสา โดยการสร้างฐานข้อมูลอาสาสมัครเยาวชนทั่วประเทศ การเชื่อมโยงองค์ความรู้กับหน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานร่วมกันหากเกิดภัยพิบัติและรับมือสถานการณ์ที่ไม่ปกติอื่นๆ ในอนาคต” น.ส.วีรินทร์วดี กล่าว 

สสส.-โกมลคีมทอง จัดอาสาสมัครเยาวชนรับมือภัยพิบัติซ้ำ

มหกรรมค่าย สัญจรครั้งนี้ เริ่มด้วยกิจกรรมการถอดบทเรียนการทำงานค่ายสร้างสุข ในส่วนของโครงการค่ายต่อเนื่องและโครงการฟื้นฟูสุขภาวะหลังอุทกภัยปี 2 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานและข้อเรียนรู้ที่ได้จากการทำงานร่วมกับชุมชน พร้อมกับการร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานค่ายอาสาฯ พูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันในอนาคต สร้างเครือข่ายทำงานร่วมกัน และสุดท้ายคือกิจกรรมระดมทุนและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ร่วมกับศูนย์คนรุ่นใหม่ใจอาสาเพื่อผู้ประสบภัย (gen-v)

นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ด้าน นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ รองประธานกรรมการบริหารแผนเปิดรับทั่วไป สสส. กล่าวว่า การขยายขอบข่ายประเด็นในกิจกรรมค่ายอาสาฯ นี้ เกิดจากการสะสมต้นทุนตั้งแต่เริ่มทำกิจกรรมมา ทั้งต้นทุนด้านบุคลากร องค์ความรู้ สายสัมพันธ์กับองค์กรในชุมชน ที่ต้องใช้เวลาในการสร้างเครือข่าย ซึ่งเห็นได้ว่าทั้งหมดเป็นความสำเร็จของกิจกรรม เพราะเมื่อเกิดความจำเป็นเร่งด่วนก็สามารถผนึกองค์ประกอบต่างๆ เพื่อช่วยสังคมส่วนรวมได้ทันที โดยมีค่ายอาสาฯ เป็นจุดเริ่มต้น

“ขณะเดียวกันหลังจากนี้ไป สสส.จะร่วมทำการขับเคลื่อนสรุปบทเรียนการรับมือภัยพิบัติในชุมชนต่างๆ เพื่อผลิตองค์ความรู้ใช้รองรับสถานการณ์ ในประเด็นที่มีความจำเป็น อาทิ แนวทางการขนส่งในชุมชน ระบบสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม อาหาร ฯลฯนายวีรพงษ์ กล่าวอีกว่า สสส.ยังเริ่มโปรเจคใหม่ภายใต้ประเด็น คนรุ่นใหม่ ใจอาสากับการรับมือภัยพิบัติ โดยจะสนับสนุนกิจกรรมที่ขับเคลื่อนงานในส่วนนี้เพิ่มเติมจากกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป” นายวีรพงษ์ กล่าว

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Shares:
QR Code :
QR Code