สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’

ที่มา :  ข่าวสด


ภาพประกอบจาก ข่าวสด 


สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’ thaihealth


สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’


สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’ – จากผลงานกว่า 132 โครงการของเยาวชนคนรุ่นใหม่ทั้งระดับมัธยมและอาชีวศึกษา ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดอย่างล้นหลามใน “โครงการประกวดผลงานนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ : THAI HEALTH INNO AWARDS ครั้งที่ 2” จนเหลือเพียง 18 ผลงานที่โดดเด่นและผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าสู่รอบ สุดท้าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงจัดกิจกรรม เวิร์กช็อป “การพัฒนาศักยภาพนวัตกรรุ่นใหม่ด้านนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ”


นพ.วีระพันธ์  สุพรรณไชยมาตย์  รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.  กล่าวเปิดงานให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและอธิบาย การทำงานของ สสส. ทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ก่อนเข้าสู่กิจกรรมสนุกสนานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศได้ ทำความรู้จักกัน จุดเด่นของกิจกรรมคือจะแยกกลุ่มระหว่าง นักเรียนและครูที่ปรึกษาออกจากกันเพื่อให้ความรู้ในการสร้างสรรค์และพัฒนาผล งานที่แตกต่าง โดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษาหลังจากได้รับความรู้จากกิจกรรมเรียนรู้แนวคิด กระบวนการเสริมสร้างสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) จากการบรรยายของ ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนงานนวัตกรรม สสส.


สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’ thaihealth


เช่นเดียวกับกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาที่แยก ห้องไปอีกห้องหนึ่ง เนื้อหาหลักของการเรียนรู้คือ การคิดเชิงออกแบบเช่นเดียวกัน แต่มีการเพิ่มอาวุธสำคัญสำหรับที่ปรึกษาคือ วิธีให้คำปรึกษาแบบการให้คำปรึกษาและรับฟังด้วยหัวใจ (Coaching and Deep Listening) ขณะที่ครูที่ปรึกษาก็จะทำหน้าที่เป็น “โค้ช” ที่ดี ช่วยให้เด็กๆ สร้างนวัตกรรมที่ดีที่สุด


กิจกรรมในวันที่สองเข้มข้นขึ้นด้วยการให้ เด็กนำโครงการที่คิดค้นมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดยมีวิทยากรกระบวนการที่เด็กๆ เรียกกันว่า “พี่ฟา” ลงไปคลุกคลีกับเด็กๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ คิด วิเคราะห์ แยกแยะนวัตกรรม พร้อมๆ ไปกับการให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา และเพื่อให้เหล่า “ยุวนวัตกร” ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สสส. จึงจัดผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จำนวนมากมาทำหน้าที่ที่ปรึกษาช่วยให้คำแนะนำ ช่วยวิเคราะห์และเสนอแนวคิดให้แก่ทีมต่างๆ เพิ่มช่วงสุดท้ายกิจกรรมในวันที่สามคือ การนำเสนอโครงการที่ปรับปรุงแล้วแก่กรรมการ การตัดสินโครงการ ซึ่งทำหน้าที่ที่ปรึกษารอบสุดท้ายอีกครั้ง ซึ่งเมื่อกิจกรรมมาถึงตอนท้าย นวัตกรรมที่นักนวัตกรรุ่นใหม่ทั้ง 18 ทีม คิดขึ้นก็แทบจะตอบโจทย์และมีผลลัพธ์ที่ตรงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการทุกทีม


สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’ thaihealth


“น้องกั๊ง” ชลิตา หวานซึ้ง จากทีม Boripat Health Care โรงเรียนบริพัตรศึกษา อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน บอกถึงสิ่งที่ตนและทีมได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ กระบวนการคิดเชิงออกแบบหรือ Design Thinking นั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ “ครูฟาง” สมลักษณ์ พัดค้อ อาจารย์ที่ปรึกษา โครงการเครื่องผลิตน้ำหมักจากฝักคูน โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระบุว่า จากการสังเกต เมื่อนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาใช้ จะทำให้แนวทางการทำงานชัดเจนขึ้นและทำได้เป็นลำดับขั้นตอน มากขึ้น และเมื่อรู้ถึงแนวทางการให้คำปรึกษาและรับฟังด้วยหัวใจ ก็พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีมาก


ในส่วนของที่ปรึกษาและคณะกรรมการ ปาพจน์ ตันสุวรรณ ผู้ชำนาญการ (โครงการพิเศษ) ศูนย์ส่งเสริมองค์กรคุณภาพ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความพอใจการจัดงานครั้งนี้ที่นำทั้งนักเรียนและครูมาให้ความรู้ทางด้าน Design Thinking และแนะนำเทคนิค coaching ให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นการได้ประโยชน์อย่างมากทั้งครูและนักเรียน


ขณะที่ นพ.ปัญญา ไข่มุก ที่ปรึกษาโครงการ ระบุว่า การอบรมครั้งนี้จะทำให้ ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งครูและนักเรียน กลายเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการสร้างนวัตกรรม สร้างสรรค์แนวคิดในการช่วยเหลือสังคม เผยแพร่ไปในวงกว้างต่อไป


สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’ thaihealth


สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’ thaihealth


สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’ thaihealth


 

Shares:
QR Code :
QR Code