สสส. หนุนชุมชนบ้านทุ่งสืบสาน ‘ปัญจะสีลัต’

ชุมชนบ้านทุ่ง อ.ละงู จ.สตูล หยิบยก "ปัญจะสีลัต" ภูมิปัญญาศิลปะชุมชนเก่าแก่ มาขับเคลื่อนชุมชนให้น่าอยู่ เสริมความเข้มแข็ง เพื่อมุ่งสู่งานวิจัยที่เผยแพร่ให้ความรู้กับผู้ที่สนใจในอนาคต


สสส. หนุนชุมชนบ้านทุ่งสืบสาน 'ปัญจะสีลัต'  thaihealth


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมืองไทยนอกจาก  "วิชามวยไทย"  ที่เป็นศิลปการต่อสู้ประจำชาติแล้ว ยังมีศิลปการต่อสู้อีกแขนงหนึ่ง ที่คนไทยโดยเฉพาะพี่น้องประชาชนทางภาคใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมฝึกกันคือ "วิชาปัญจสีลัต" โดยล่าสุด ชุมชนบ้านทุ่ง หมู่ 5 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ดินแดนถิ่นภาษายาวี จึงรื้อฟื้นปัญจสีลัตศิลปะเก่ามาประยุกต์ เป็นท่าออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้คนในชุมชน พร้อมศึกษาประวัติความเป็นมา ท่าทางการแสดงและเพลงประกอบก้าวเข้าสู่งานวิจัย "ก่อเดียะ ฉังหลี" ผู้รับผิดชอบโครงการร่องรอยศิลปะของชุมชน ขับเคลื่อนชุมชนให้น่าอยู่ บ้านมั่นคงบ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 5 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนชุมชนบ้านทุ่ง เป็นชุมชนที่น่าอยู่ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง ทำให้คนในชุมชนต่างคนต่างอยู่ จึงค้นหาวิธี ทำอย่างไรให้คนในชุมชน กลับมาอยู่ร่วมกันแบบเดิม จึงหยิบยกภูมิปัญญาปัญจักสีลัต หรือ ศีละ (Silat) ซึ่งเป็นศิลปะเก่า มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้คนต่างวัยมาอยู่ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน พัฒนายกระดับศิลปะพื้นบ้านของปัญจสิลัต และอนุรักษ์ปัญจักสีลัตให้อยู่คู่ชุมชนต่อไปแบบยังยืน


สสส. หนุนชุมชนบ้านทุ่งสืบสาน 'ปัญจะสีลัต'  thaihealth"ก่อเดียะ" อธิบายต่อว่า ได้รวบรวมผู้ที่มีความรู้เรื่องปัญจักสีลัต เป็นครูสอนเยาวชนในชุมชน พร้อมประยุกต์เป็นท่าออกกำลังให้คนในชุมชนได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยมีการตั้ง “ชมรมรักสุขภาพบ้านทุ่ง” รวมกลุ่มสตรีและวัยกลางคน ซึ่งปัญจักสีลัตสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนได้มาก มีจิตอาสา มีการพูดคุยกันมากขึ้น ในการทำกิจกรรมต่างๆ จะมีการพูดคุยกันมากขึ้น และหวังต่อยอดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้ความรู้กับผู้สนใจศิลปะปัญจักสีลัต


ทั้งนี้โครงการร่องรอยศิลปะของชุมชน ขับเคลื่อนชุมชนให้น่าอยู่ ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนัก 6 เพื่อให้ชุมชนได้ร่วมรักษาความรู้จากภูมิปัญญาดั้งเดิม ในงานวิจัยเป็นการรื้อฟื้นปัญจักสีลัตตั้งแต่อดีตประวัติความเป็นมีเก็บข้อมูลขึ้นมา แล้วจัดทำเป็นหลักสูตรการออกกำลังกายแบบประยุกต์ งานวิจัยทำให้คณะทำงานมีความละเอียดขึ้น เกิดการซักถามข้อมูลอย่างมีระบบ โดยมีแนวคิดว่าไม่ควรทำแค่งานวิจัย ควรจะต่อยอดให้มีศูนย์เรียนรู้ปัญจักสีลัต เพื่อเป็นสถานที่เผยแพร่ให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ และจะทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจ.สตูล ทั้งนี้ปัญจักสิลัตถือเป็นศิลปะชั้นสูงเดิมในอดีตจะใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง หากงานวิจัยสำเร็จก็จะทำให้คนรู้จักศิลปะชั้นสูงนี้อีกครั้ง


 


 


 


ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์ 


ภาพประกอบจากเว็บไซต์เดลินิวส์


 

Shares:
QR Code :
QR Code